ไทยพลัสนิวส์ เอาแล้ว ไหหลำเริ่มเก็บเกี่ยว “ทุเรียน” ชุดแรกที่ ปลูกในจีน ลูกสวยไม่ต่างจากไทย
ไทยพลัสนิวส์ ไหหลำเริ่มเก็บเกี่ยว “ทุเรียน” ปลูกในจีน ชุดแรก ผู็เชี่ยวชาญวิเคราะห์ ตลาดทุเรียนไทยจะโดนตีแตกไหม?
ไห่โข่ว, 24 ก.ค. (ซินหัว) — พาชมผลผลิตทุเรียนที่ปลูกในจีนชุดแรก ซึ่งอยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน
ทุเรียนในตลาดจีนส่วนใหญ่ถูกนำเข้าจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมักถูกเก็บเกี่ยวที่ความสุกร้อยละ 70-80 ซึ่งจะส่งผลดีต่อรสชาติ
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. เว็บไซต์ Xinhuathai รายงานว่า กระแสข่าวทุเรียนที่ปลูกในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เตรียมออกวางตลาดในประเทศช่วงปลายเดือนมิถุนายน ได้ก่อให้เกิดความสนใจในหมู่ผู้บริโภค
บรรดาคนวงในมองว่าการผลิตทุเรียนภายในประเทศของจีนไม่ได้มีแนวโน้มแปรเปลี่ยนทิศทางการบริโภคทุเรียนของจีนที่พึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก และ’ทุเรียนไทย’ ยังเป็นที่ต้องการของตลาดจีน
เนื่องจากการผลิตทุเรียนในจีนยังอยู่ระยะแรกเริ่มเหมือนเด็กทารกหัดตั้งไข่ ไม่ได้มีพื้นที่เพาะปลูกมากมาย รวมถึงมีไม่กี่มณฑลที่สามารถปลูกได้ ทั้งจีนยังเป็นประเทศผู้บริโภคทุเรียนรายใหญ่ด้วย
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่แปลงปลูกทุเรียนของบริษัท ไห่หนาน โยวฉี อะกรีคัลเจอร์ จำกัด ในเมืองซานย่า ซึ่งถือเป็นฐานปลูกทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบันด้วยขนาด 1.2 หมื่นหมู่ (ราว 5,000 ไร่)
ปัจจุบันทุเรียนที่ฐานปลูกแห่งนี้เริ่มสุกและคาดว่าจะทยอยถูกเก็บเกี่ยวเพื่อส่งขายช่วงปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าทุเรียนเหล่านี้จะช่วยลดราคาหรือกระทบความต้องการทุเรียนนำเข้าหรือไม่
ตู้ไป่จงจากฐานปลูกทุเรียนแห่งนี้เผยว่าตอนนี้ไห่หนานมีการปลูกทุเรียนรวมกว่า 3 หมื่นหมู่ (ราว 12,500 ไร่) แต่มีทุเรียนสุกพร้อมส่งขายในปีนี้เพียง 1 พันหมู่ (ราว 416 ไร่) หรือคิดเป็นปริมาณราว 50 ตัน
แม้ไห่หนานจะเป็นแหล่งผลิตทุเรียนแห่งหลักของจีน แต่ยังคงมีพื้นที่ที่เอื้อต่อการปลูกทุเรียนอยู่อย่างจำกัดมาก โดยต่อให้มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 10 เท่า ก็ยังถือเป็นแหล่งผลิต “ขนาดเล็ก” อยู่ดี
“การปลูกทุเรียนภายในประเทศอาจได้ลดต้นทุนในการขนส่ง แต่ผลผลิตยังเป็นส่วนน้อยมากสำหรับส่วนแบ่งของตลาด” ตู้กล่าว พร้อมเสริมว่าผู้ประกอบการไม่ได้คิดเร่งเพิ่มการลงทุนและพื้นที่ปลูกอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าด้วย
ผู้บริโภคชาวจีนนั้นชื่นชอบ “ราชาแห่งผลไม้” อย่างทุเรียนกันมากจนทำให้จีนกลายเป็นตลาดผู้บริโภคทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยทุเรียนเกือบทั้งหมดในจีนมาจากการนำเข้า ซึ่งข้อมูลสถิติพบว่าจีนนำเข้าทุเรียนในปี 2022 สูงถึง 8.25 แสนตัน และส่วนใหญ่มาจากไทย
ทุเรียนบนต้น "ทุเรียน" ปลูกในจีน
เฉินเหล่ย เลขานุการสมาคมการตลาดผลไม้แห่งประเทศจีน กล่าวว่าการผลิตทุเรียนในประเทศยังอยู่ในขั้นทดลองปลูกขนาดเล็ก ยังไม่มีการปลูกเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ดังนั้นยังไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อราคาทุเรียนในระยะสั้นนี้
“ราคาทุเรียนจะทรงตัวอยู่ระดับสูงในระยะยาวเมื่อเทียบกับผลไม้อื่นๆ โดยทุเรียนถือเป็น ‘ผลไม้หรู’ ชนิดหนึ่งในจีน แม้จะมีทุเรียนที่ปลูกในประเทศออกวางตลาด แต่ด้วยการปลูกขนาดเล็ก ทำให้ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าทุเรียนปริมาณมากในระยะยาว” เฉินกล่าว
ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรชี้ว่าต่อให้สภาพอากาศจะเอื้ออำนวย แต่จีนจะยังคงเผชิญปัญหาความยากลำบากทางเทคนิคในการเพาะปลูกทุเรียนขนาดใหญ่
โจวจ้าวสี่ ผู้ช่วยนักวิจัยประจำสถาบันทรัพยากรพันธุกรรมพืชเขตร้อน สังกัดสถาบันการเกษตรเขตร้อนแห่งชาติจีน ระบุว่าทุเรียนเป็นพืชต่างถิ่น การปลูกต้นกล้าในประเทศจึงเป็นเรื่องยากในระดับหนึ่ง มีเงื่อนไขทั้งเรื่องอากาศ ความชื้น แสงแดด อุณหภูมิ ปุ๋ย และน้ำ
“แม้ช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราค้นพบแนวทางการจัดการอย่างระบบน้ำหยดและบ่มเพาะต้นกล้าเตี้ยๆ ที่ทนลมในไห่หนานได้ แต่การปลูกขนาดใหญ่ในท้องถิ่นทั้งหมดยังคงอยู่ขั้นทดลอง” โจวกล่าว
ปัจจุบันทุเรียนที่ปลูกในไห่หนานส่วนใหญ่เป็นต้นอ่อนไร้ผล และการปลูกยังคงเจอสารพัดปัญหาที่ต้องเอาชนะ ทั้งการเพาะและปลูกต้นกล้าคุณภาพสูง เทคนิคจัดการการปลูก และการควบคุมศัตรูพืช
คนวงในอุตสาหกรรมเชื่อว่าไทยยังคงเป็นแหล่งทุเรียนนำเข้าแห่งหลักของจีนในระยะยาว เพราะทุเรียนไทยมีรสชาติอร่อยโดดเด่นเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบที่ทำให้ทุเรียนไทยจะยังครองตลาดการบริโภคทุเรียนของจีนในอนาคต
ด้านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน ถือเป็นช่องทางหลักของการนำเข้าทุเรียนไทย
สถิติจากศุลกากรนครหนานหนิงของกว่างซี ระบุว่าปริมาณการนำเข้าทุเรียนไทยผ่านด่านพรมแดนกว่างซี ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม สูงแตะ 1.5 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 381.1 เมื่อเทียบปีต่อปี คิดเป็นมูลค่า 5.51 พันล้านหยวน (ราว 2.69 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 403.9 เมื่อเทียบปีต่อปี
นครหนานหนิงของกว่างซีมี “ตลาดไห่จี๋ซิง” เป็นตลาดค้าส่งผลไม้ขนาดใหญ่ที่สุดของเมือง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ค้าส่งทุเรียนอยู่ 32 ราย และปริมาณการค้าส่งทุเรียนในปีก่อนสูงราว 2.4 หมื่นตัน
ส่วนยอดจำหน่ายทุเรียนของตลาดฯ ช่วงเดือนมกราคมจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม รวมอยู่ที่ราว 1.7 หมื่นตันแล้ว ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 4 เท่า โดยมีทุเรียนหมอนทองของไทยครองตำแหน่งขายดีที่สุด
หวงเจี้ยนซิน ฝ่ายบริหารธุรกิจของบริษัทขนส่งสินค้าท้องถิ่นแห่งหนึ่ง เผยว่าแต่ละวันบริษัทรับรองการทำพิธีศุลกากรผ่านด่านโหย่วอี้ของทุเรียน 16 ตู้คอนเทนเนอร์ คิดเป็นปริมาณราว 200-300 ตัน
“ความต้องการและความนิยมทุเรียนไทยของตลาดผู้บริโภคชาวจีนนั้นสูงมาก ส่วนทุเรียนที่ปลูกในประเทศยังคงต้องรอผ่านบททดสอบเรื่องรสชาติก่อน” หวงกล่าว
โจวจ้าวสี่ ผู้ช่วยนักวิจัยประจำสถาบันทรัพยากรพันธุกรรมพืชเขตร้อน สังกัดสถาบันการเกษตรเขตร้อนแห่งชาติจีน เสริมว่าจีนส่งเสริมการพัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนที่มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทุเรียนไห่หนานยังมีช่องโหว่ที่ต้องพัฒนาอีกมาก
“แม้จีนจะสามารถปลูกทุเรียนในประเทศได้ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านปัจจัยธรรมชาติและพื้นที่เพาะปลูก ทุเรียนนำเข้าจากไทยจึงยังจะเป็นส่วนเสริมสำคัญ” โจวกล่าวทิ้งท้าย ไทยพลัสนิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น