วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566

พาเที่ยว วัดม่วง จังหวัดอ่างทอง

วัดม่วง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง



เดิมวัดม่วงเป็นวัดร้างเก่าแก่ สันนิษฐานว่าร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในสมัยที่แขวงเมืองวิเศษชัยชาญเป็นเมืองหน้าด่าน มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุทธยาต้องเสียกรุงให้แก่พม่า ทำให้กลายเป็นวัดร้าง เหลือแต่เนินดินและพระพุทธรูปศักดิสิทธิ์หินศิลาแลงสีขาวปรกหักพังมีนามว่า ขาว โผล่อยู่เหนือเดินดินครึ่งองค์ ซึ่งต่อมาหลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ได้หล่อปั้นด้วยเนื้อปูนหุ้มให้เต็มองค์ ภายหลังท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ (หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ) ได้มาปักกลดธุงดงค์ เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง น่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาวและหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ จน พ.ศ. 2526 ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการเริ่มบูรณะและได้สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้น โดยได้รับการบริจาค ทั้งเงินทำบุญ และทำบุญด้วยแรงงาน ร่วมกันดำเนินงานในการก่อสร้าง จนกระทั่งวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีการประกาศยกฐานะให้วัดม่วง ซึ่งเคยเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ได้มีการแต่งตั้งท่านพระครูวิบูลอาจารคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วง วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2529



ข้อมูลสถานที่

วัดม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร ถ้าตั้งต้นจาก กรุงเทพ ไปตามถนนสายเอเชีย แล้วเข้าตัวเมืองอ่างทอง ผ่านตลาดแล้วเลี้ยวขวา ผ่านหน้าเรือนจำ เจอทางแยกเลี้ยวซ้าย (ไปสุพรรณบุรี) ไปตามเส้นทางสาย โพธิ์พระยาท่าเรือ วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เห็นพระพุทธรูปแต่ไกล




ลักษณะเด่น

พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก – วิหารแก้ว – พระอุโบสถล้อมรอบด้วยกลีบบัวที่ใหญ่ที่สุด – รูปปั้นเกจิอาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศ มีแดนเทพเจ้าไทย แดนนรก แดนสวรรค์ และแดนเทพเจ้าจีน ซึ่งมีรูปปั้นเป็นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ มีรูปปั้นแสดงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามไทย-พม่า

ประวัติ วัดม่วง

จากวัดร้างที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายหรือ พ.ศ. 2230 ตั้งอยู่แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า และพม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมากสิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ภายหลังท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ (หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ) ได้มาปักกลดธุงดงค์ เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ เพราะท่านพระครู เป็นผู้มีบารมี ที่สามารถจะก่อสร้างบูรณะวัดม่วงขึ้นมาใหม่ และจะส่งผลให้ผู้ที่เคยอาศัยบริเวณนี้ในสมัยก่อนได้มาเกิด ซึ่งในบริเวณวัดร้างยังคงมีศิลาขาวและศิลาแดงตั้งอยู่ ซึ่งก็คือ องค์ของหลวงปู่ขาวและหลวงปู่แดงนั่นเอง ต่อมาท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการปั้นองค์พระครอบศิลาขาว และศิลาแดงไว้ โดยเรียกนามว่า หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง จนถึงปัจจุบันนี้ ในปีพ.ศ. 2526 ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการเริ่มบูรณะและได้สร้างเสนาสนะต่างๆ ขึ้น โดยได้รับการบริจาคทั้งเงินทำบุญและทำบุญด้วยแรงงาน ร่วมกันดำเนินงานในการก่อสร้าง จนกระทั่งวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะให้วัดม่วงเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ และวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ได้แต่งตั้งท่านพระครูวิบูลอาจารคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดม่วง เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2529 ในปี พ.ศ. 2534 ท่านพระวิบูลอาจารคุณ ได้ร่วมพลังจิตอธิฐาน ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพระนามว่าพระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ เพื่อน้อมถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยขนาดหน้าตักกว้าง 62 ม. สูง 93 ม. มูลค่าในการก่อสร้างราวหนึ่งร้อยหกล้านบาท โดยใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 16 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – 2550 ปัจจุบันวัดม่วง มีพื้นที่กว้างขวางถึง 72 ไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าว ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้ซื้อรวบรวมได้ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ เพื่อจัดทำเป็นสถานที่ศึกษาพระธรรม พระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม สำหรับพระภิกษุสงฆ์ตลอดจนประชาชนทั่วไป, โรงพยาบาลสงฆ์, ศูนย์จำหน่ายสินค้าศิลปาชีพในโครงการหลวง



การเดินทางไปวัดม่วง

วัดม่วงตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร ถ้าตั้งต้นจาก กรุงเทพ ไปตามถนนสายเอเชีย แล้วเข้าตัวเมืองอ่างทอง ผ่านตลาดแล้วเลี้ยวขวา ผ่านหน้าเรือนจำ เจอทางแยกเลี้ยวซ้าย (ไปสุพรรณบุรี) ไปตามเส้นทางสาย โพธิ์พระยาท่าเรือ วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เห็นพระพุทธรูปแต่ไกล

อ่านบทความเพิ่มเติม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...