วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566

ไทยพลัสนิวส์ การดื่มน้ำอย่างถูกวิธี ถูกเวลา

ไทยพลัสนิวส์ กับ การดื่มน้ำอย่างถูกวิธี ถูกเวลา ซึ่ง ร่างกายของมนุษย์เรานั้นมีองค์ประกอบของน้ำ 50-70% ไม่ว่าจะเป็นภายในเซลล์ ตามอวัยวะต่างๆ ระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมด หรือเลือดที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ทั้งยังเป็นสารอาหารที่สำคัญของมนุษย์ในการดำรงชีวิตในทุกช่วงทุกวัย การดื่มน้ำบ่อยนั้นก็เป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี แต่ก็ควรมีระยะเวลาในการดื่มน้ำ และวิธีดื่มน้ำตามที่ร่างกายของมนุษย์สมควรได้รับ




การดื่มน้ำอย่างถูกวิธี ถูกเวลา

การดื่มน้ำอย่างถูกวิธี ถูกเวลา ทำให้สุขภาพดีขึ้นทันตา

ตื่นนอนตอนเช้าควรจะดื่มน้ำอุ่น เพราะน้ำอุ่นดื่มง่ายกว่าน้ำธรรมดา และอุณหภูมิของน้ำที่ดื่มไม่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย จึงไม่เป็นการไปดึงอุณหภูมิร่างกายให้เย็นลง หรืออาจเป็นน้ำที่อุณหภูมิห้องก็ได้ ควรดื่ม 1-3 แก้วให้ได้อย่างต่ำ 500-750 มิลลิลิตร ช่วงเวลาหลังตื่นนอนเป็นช่วงที่มีความเข้มข้นของเลือดสูง ร่างกายและเลือดจะมีลักษณะขาดน้ำ และเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย

15 นาทีก่อนอาหาร ระหว่างทานอาหาร และหลังทานอาหาร 30 นาที ทั้ง 3 เวลานี้ ดื่มน้ำรวมกันทั้งหมดไม่ควรเกินครึ่งแก้ว เพราะหากดื่มน้ำมากเกินไประหว่างทานอาหารจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจางลง ส่งผลต่อระบบการย่อยอาหารร่างกายย่อยอาหารได้ไม่ดี

ช่วงเวลาประมาณ 9 โมงถึง 10 โมงเช้า ควรดื่มน้ำให้ได้ 2 แก้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีของเสียเกิดขึ้น เพราะร่างกายได้ทํางานไประยะหนึ่งแล้ว ควรดื่มน้ำเพื่อมาชําระของเสียเหล่านั้นออกไป

ตลอดทั้งวัน ดื่มน้ำทีละนิด แบบจิบทีละ 2 – 3 อึก จิบบ่อยๆ ดีกว่าการดื่มน้ำครั้งละมากๆ เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย

ก่อนนอนให้ดื่มน้ำอีก 1-2 แก้ว ให้มากกว่า 250 มิลลิลิตร เพื่อให้น้ำที่ดื่มไหลเวียนชะล้างสิ่งตกค้างในลําไส้และกระเพาะอาหาร ถ้าเป็นน้ำอุ่นจะยิ่งช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการดื่มน้ำ โดย ไทยพลัสนิวส์

ช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้ดีขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้น ป้องกันเรื่องริ้วรอยและผิวแห้งกร้าน

ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย

ปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย

ช่วยให้ระบบการหมุนเวียนของเลือดทำงานได้ดีขึ้น

ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่

ข้อต่อต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

ช่วยให้อวัยวะภายในร่างกายต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หัวใจ ไต เป็นต้น

ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

น้ำคือสิ่งที่ร่างกายมนุษย์ต้องการมากที่สุด เป็นยารักษาโรคที่ดีที่สุด เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น และป้องกันโรคภัยต่างๆ เราจึงควรหันมาใส่ใจกับการดื่มน้ำให้มากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการพักผ่อน การทานอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนะคะ




การดื่มน้ำ

สัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังดื่มน้ำมากเกินไป

ลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น และปัสสาวะเริ่มเปลี่ยนสี

การลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นถือเป็นสัญญาณแรก ๆ ที่กำลังบ่งบอกถึงการดื่มน้ำที่มากเกินไป โดยจำนวนการเข้าห้องน้ำในหนึ่งวันจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6–8 ครั้งต่อวัน และสัญญาณอีกอย่างที่มักพบได้เมื่อดื่มน้ำมากเกินไปคือ สีของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีใส ซึ่งสีของน้ำปัสสาวะในสภาวะที่ร่างกายเป็นปกติหรือได้รับน้ำที่เพียงพอ ควรจะเป็นสีเหลืองใสอ่อน ๆ



พบอาการผิดปกติบางอย่างทางร่างกาย

การดื่มน้ำในปริมาณมากมักไม่พบอาการผิดปกติในช่วงแรก แต่หากยังดื่มน้ำปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ไตไม่สามารถขับน้ำออกไปได้หมด และอาจเกิดอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย รวมถึงทำให้ไตทำงานหนักขึ้นจนร่างกายเกิดความเครียดและอาการอ่อนเพลียตามมา

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าการดื่มน้ำมากเกินไปอาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีน้ำไปสะสมอยู่จนเกิดอาการบวม ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจนำไปสู่อาการผิดปกติบางอย่างได้ เช่น อาการมึนงง สับสน ปวดศีรษะ และง่วงซึมจากการที่เซลล์ในสมองบวมจนสมองได้รับแรงกดทับ หรือบริเวณริมฝีปาก เท้า และมือ มีอาการบวมและเปลี่ยนสีไปจากการที่เซลล์บริเวณดังกล่าวบวม

นอกจากนี้ การดื่มน้ำที่มากเกินไปอาจส่งผลให้ระดับแร่ธาตุในร่างกายลดลงผิดปกติ โดยเฉพาะโซเดียม ส่งผลให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหรือตะคริว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการชัก สูญเสียการรับรู้รอบตัว โคม่าไปจนถึงการเสียชีวิตได้




ดื่มน้ำมากเกินไปไม่เป็นผลดี แล้วควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไร

การดื่มน้ำควรอยู่ในปริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไปหรือดื่มน้ำน้อยเกินไป โดยปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น กิจกรรมที่ทำ เพศ น้ำหนักตัว และสภาพอากาศที่อาศัยอยู่ เป็นต้น

ในเบื้องต้นอาจลองคำนวณปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมได้จากการนำน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วย 30 ก็จะได้ปริมาณน้ำหน่วยเป็นลิตรที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ก็ควรจะดื่มน้ำให้ได้ประมาณวันละ 1.66 ลิตรต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เสียเหงื่อมากเป็นประจำ สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร มีไข้ มีอาการอาเจียน ท้องเสีย กำลังป่วยเป็นโรคบางชนิด และคนที่ออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติเล็กน้อยหรือดื่มตามคำแนะนำของแพทย์

ทั้งนี้ แม้จะคำนวณปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมอย่างคร่าว ๆ ในแต่ละวันมาแล้ว แต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มน้ำในระหว่างวันให้เหมาะสม โดยอาจสังเกตจากสัญญาณของร่างกาย อย่างความรู้สึกกระหายน้ำ ซึ่งการดื่มน้ำที่ดีควรจิบทีละน้อยตลอดทั้งวัน ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไปในเวลาสั้น ๆ หรือดื่มน้ำมากกว่า 1 ลิตรภายใน 1 ชั่วโมงติดต่อกัน

อ้างอิงจาก sanook

อ่านบทความเพิ่มเติม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...