วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566

ไทยพลัสนิวส์ วางแผนการเงินด้วย 4 บัญชีบริหารเงินเดือน

ไทยพลัสนิวส์ วางแผนการเงินด้วย 4 บัญชีบริหารเงินเดือน ปัญหาส่วนใหญ่ที่มนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คนมักพบเจอในแต่ละเดือนคงหนีไม่พ้นในเรื่องของการใช้เงินเดือนชนเดือน บางเดือนแทบไม่พอใช้ และด้วยยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี ที่การชอปปิงอยู่เพียงแค่ปลายนิ้ว บางทีการอยู่บ้านก็สามารถทำให้เราเสียเงิน กับการซื้อของออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย มันยิ่งทำให้การเก็บเงินดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่า จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแค่เราต้องรู้จักควบคุม และ จัดสรรค่าใช้จ่าย ในแต่ละเดือนออกจากกัน เริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยเทคนิคที่ใครก็ทำได้ เพียงแค่ “ แยกบัญชี ” เท่านั้นเอง




วางแผนการเงินด้วย 4 บัญชีบริหารเงินเดือน

การแยกบัญชี เป็นการแบ่งเงิน 1 ก้อนออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามจุดประสงค์ของเงินก้อนนั้น ๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 บัญชีหลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้

ไทยพลัสนิวส์ วางแผนการเงินด้วย : บัญชีเงินเดือน

เป็นบัญชีตั้งต้น เพื่อรับเงินเดือนหรือรายได้อื่น ๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นบัญชีค่าใช้จ่าย และ บัญชีออมเงินร่วมด้วย เพราะ จะทำให้เราจัดสรรเงินได้ยาก บางที อาจจะใช้เงินเพลินจนไม่รู้ตัว

ไทยพลัสนิวส์ วางแผนการเงินด้วย : บัญชีเงินออม

⦁ หลังจากได้รับเงินเดือนแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำเลยคือการแบ่งเงินมาที่บัญชีเงินออมอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อเก็บสะสม และ เป็นการเริ่มต้นสร้างวินัยการออมด้วยการปรับพฤติกรรม “ ออมก่อนใช้ ” ต่อจากนั้นก็มาจัดสรรบัญชีการออม โดยแบ่งการออมออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

⦁ เป้าหมายระยะสั้น เป็นเงินออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน 3-6 เท่า ของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน

⦁ เป้าหมายระยะกลาง เป็นเงินออมที่เก็บไว้เพื่อนำมาใช้ในช่วง 2-10 ปี เช่น ไว้เรียนต่อ ซื้อรถยนต์ แต่งงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น บัญชีฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุนรวมตราสารหนี้

⦁ เป้าหมายระยะยาว เป็นเงินออมที่เก็บไว้เพื่อนำมาใช้ในช่วง 10 ปีขึ้นไป อย่างเช่นการเกษียณอายุ แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว เช่น กองทุนรวมตราสารทุน หุ้นพื้นฐานดี ประกันบำนาญ กองทุน SSF หรือกองทุน RMF



ไทยพลัสนิวส์ วางแผนการเงินด้วย : บัญชีค่าใช้จ่าย

เป็นบัญชีค่าใช้จ่ายคงที่ ที่รู้จำนวนเงิน ที่แน่นอนในแต่ละเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ เป็นต้น แนะนำว่าควรโอนเงินจากบัญชีเงินเดือนเข้าบัญชีนี้ทุกต้นเดือน เพื่อให้มั่นใจว่า จะมีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายจำเป็นเหล่านี้

ไทยพลัสนิวส์ วางแผนการเงินด้วย : บัญชีค่าใช้จ่ายรายสัปดาห์

เป็นบัญชีสุดท้ายที่เหลือหลังจากหักเงินออม และ ค่าใช้จ่ายจำเป็นออกแล้ว ไว้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง เป็นต้น แต่ไม่ควรโอนเงินจากบัญชีเงินเดือน มาไว้ที่บัญชีนี้เป็นเงินก้อนทั้งหมดทีเดียว เพราะ อาจทำให้เราเผลอใช้เงินหมดก่อนสิ้นเดือน แนะนำว่า ควรโอนเงินเข้าทุกต้นสัปดาห์ โดยเฉลี่ย 5 สัปดาห์ ในแต่ละเดือน หากเดือนไหนมีไม่ถึง 5 สัปดาห์ หรือสัปดาห์ไหนใช้จ่ายน้อยกว่าที่ตั้งไว้ ก็สามารถนำเงินที่เหลือไปเปย์ตัวเอง หรือ โอนเข้าบัญชีเงินเก็บเพิ่มได้

อ้างอิง sanook

อ่านบทความเพิ่มเติม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...