วัดเชิงท่า ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของคลองเมืองหรือแม่น้ำลพบุรีเดิม สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าพระยาโกษาปานได้ปฏิสังขรณ์วัด แล้วได้เปลี่ยนชื่อว่าวัดโกษาวาส
วัดเชิงท่า
ที่อยุธยามีวัดเชิงท่าอยู่ 2 แห่งคือที่อำเภอบางปะอินและอำเภอเมือง ซึ่งวัดเชิงท่าที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวัดในอำเภอเมือง อยู่บริเวณท่าข้ามเรือฝั่งเกาะเมืองมายังฝั่งวัดเชิงท่า จึงเป็นที่มาของชื่อวัดเชิงท่าหรือวัดตีนท่า วัดแห่งนี้มีตำนานการก่อสร้างหลายสำนวน ทั้งในประวัติศาสตร์และวรรณคดี เช่น ตำนานว่ามีเศรษฐีสร้างเรือนหอให้บุตรสาวซึ่งหนีตามชายคนรักไปแล้วไม่ย้อนกลับ จึงถวายเรือนหอแก่วัดที่สร้างขึ้น ชื่อว่า วัดคอยท่า ซึ่งปรากฎในนิราศทวารวดีของหลวงจักรปราณีแต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เมื่อพระยาโกษาปานราชทูตไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลับมาจากฝรั่งเศสแล้วได้มาปฏิสังขรณ์วัดนี้และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโกษาวาส รวมทั้งเป็นสถานศึกษาของนายสิน หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาภาษาไทย ขอมและพระไตรปิฎกที่วัดนี้ บริเวณวัดยังมีโบราณสถานสำคัญประจำวัด ได้แก่ ปรางค์ห้ายอดสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะพิเศษหาที่อื่นไม่ได้ โดยก่อฐานพระปรางค์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมจตุรัสและสร้างวิหารยื่นออกไปเป็นรูปกากบาทหรือไม้กางเขนโดยเฉพาะทางทิศใต้ซึ่งเป็นหน้าวัดแต่เดิม สร้างเป็นวิหารขนาดใหญ่เป็นมหาปราสาทยอดปรางค์ที่พบที่วัดเชิงท่านี้แห่งเดียว ส่วนศาลาการเปรียญสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในมีธรรมาสน์ปิดทองคำเปลวงดงาม ลายจำหลักไม้หน้าบันว่ากันว่าเป็นของเดิมที่เหลือรอดมาจากครั้งกรุงแตก ซึ่งย้ายมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ในพระราชวังโบราณและยังมีงานช่างฝีมือเล็ก ๆ น้อย ๆ มากมาย เช่น ลายจำหลักไม้ที่ส่วนบน ที่เรียกว่านมบนของอกเลา หรือสันกลางบานประตูหน้าต่าง ซึ่งสลักลวดลายแต่ละบานไม่ซ้ำกันเลย ทั้งลายไทย จีนและฝรั่งเสาแต่ละต้นก็มีลายมือสมัยรัชกาลที่ 4 เขียนไว้อย่างบรรจง ถึงชื่อช่างที่เขียนลายประดับเสาต้นนั้น ๆ วัดเชิงท่าตั้งอยู่ที่ตำบลวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่วัดเชิงท่า โทร. 0 3532 8030-1
ประวัติ วัดเชิงท่า
วัดเชิงท่า เป็นวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรีฝั่งตะวันออก วัดเชิงท่าจึงมีอายุนานไม่น้อยกว่าสามร้อยปี กล่าวกันว่าเดิมชื่อวัดท่าเกวียนด้วยเป็นท่าของเกวียนลำเลียงสินค้าขนลงมาที่ท่าน้ำในบริเวณวัดแห่งนี้ ก่อนที่จะลำเลียงลงเรือส่งไปยังที่อื่นๆพื้นที่ของวัดเชิงท่าตั้งขวางหน้าพระราชวังคือ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ด้านที่หันหน้าสู่แม่น้ำ ลพบุรีเกือบครึ่งด้าน จึงชวนให้สันนิษฐานว่า วัดเชิงท่าน่าจะสร้างก่อนพระราชวัง และนับได้ว่าวัดเชิงท่า จึงเป็นวัดที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมแห่งหนึ่งที่เชิดหน้าชูตา สร้างความงามสง่าทางศิลปวัฒนธรรมให้กับจังหวัดลพบุรีมาโดยตลอด
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ พระอุโบสถพระเจดีย์ประธานของวัดซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของพระอุโบสถ
สมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ กุฏิสงฆ์เป็นแบบตึกสองชั้นทรงเก๋งจีน ศาลาตรีมุข อาคารโวทานธรรมสภา หอระฆัง ศาลาการเปรียญและพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์
ภายในวัดเชิงท่า
เจดีย์วัดเชิงท่า
ถาวรวัตถุภายในวัด
พระอุโบสถ มีลักษณะสถาปัตยกรรมคล้ายกับอุโบสถของวัดอื่น ๆ ทีสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวพระอุโบสถตั้งอยู่บนฐานสูง มีลานกว้างโดยรอบตรงขอบลานมีกำแพงแก้วและมีซุ้มประตูกำแพง หน้าบันซุ้มทำเป็นรูปจั่ว ผังพระอุโบสถแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็นสองส่วนคือ ส่วนหน้าเป็นห้องโถงไม่มีผนัง เสาคู่หน้าสุดของพื้นที่ส่วนนี้เป็นเสาสี่เหลี่ยม มีปูนปั้นประดับหัวเสาเป็นรูปดอกบัวกลีบยาว ส่วนหลังมีพื้นที่ยาวกว่าคือ ห้องโถงมีผนังรอบ หลังคาของพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องกาบ ช่อฟ้าและหางหงส์ทำเป็นรูปหัวนาค สำหรับพระอุโบสถก็คือเสมาคู่รอบพระอุโบสถ ซึ่งมักทำให้มีผู้สันนิษฐานว่า เสมาแบบนี้คือวัดหลวงไม่ใช่วัดราษฎร์ นอกจากนั้นในพระอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ที่สร้างขึ้นด้วยหินทราย ลักษณะศิลปกรรมของพระพุทธรูปคล้ายกับพระประธานของวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง เป็นพระพุทธรูปแบบที่นิยมสร้างขึ้นครั้งรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จนถึงต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2172 – ราว พ.ศ. 2220 ) พระอุโบสถได้รับการบูรณะหลายครั้ง แต่ก็ได้พยายามคงรูปแบบลวดลายของเดิมไว้
พระเจดีย์ ตั้งอยู่บนลานเดียวกันกับพระอุโบสถแต่อยู่ด้านหลัง มีด้วยกันทั้งหมดสามองค์ด้วยกัน ดังนี้ เจดีย์ประธานตั้งอยู่กึ่งกลางลาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำเพรียวยาวลักษณะเจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบนี้คล้ายกับเจดีย์ของวัดอัมพวัน อำเภอเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นวัดในชุมชนมอญบ้านบางขันหมาก ส่วนเจดีย์บริวารอีกสององค์เป็นเจดีย์ทำเป็นรูปดอกบัวบานรองรับองค์ระฆัง มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดตองปุ (ลพบุรี) อำเภอเมืองลพบุรี ซึ่งสร้างขึ้นครั้งปลายสมัยอยุธยานอกจากนั้นบริเวณนอกลานพระอุโบสถด้านทิศตะวันออกยังมีเจดีย์บริวารอีก 3 องค์ เป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่แพร่หลายตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์
หอระฆัง หอระฆังเป็นอาคารทรงปราฝค์แปดเหลี่ยม สร้างขึ้นเมื่อปี 2462 ลักษณะจองการสร้างคือมีการเจาะช่องประตูและหน้สต่างเป็นช่องโค้งแหลม นับเป็นหอระฆังที่มีลักษณะที่แปลกและหาชมได้ยาก
ข้อมูลสถานที่
วัดเชิงท่า หรือ วัดตีนท่า หรือ วัดติณ หรือ วัดคลัง หรือ วัดโกษาวาสน์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่า สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ พระเจ้าอู่ทอง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง วัดตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมือง ริมฝั่งซ้ายของ แม่น้ำลพบุรี ใกล้กับ คูไม้ร้อง ซึ่งเป็นอู่เก็บเรือพระที่นั่ง ในสมัย กรุงศรีอยุธยา ฝั่งตรงข้ามวัด คือ ป้อมท้ายสนม และ ปากคลองท่อ ซึ่งเป็นท่าข้ามเรือของฝั่งเกาะเมือง มาขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำหน้า วัดเชิงท่า
รูปหล่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ทรงบัลลังก์ ขนาดเท่าองค์จริง – ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช) – พระประธานหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ ยังคลองเมืองหรือแม่น้ำลพบุรีเดิม – หอระฆังอยู่ทางทิศตะวันออกของพระปรางค์ อุโบสถหลังเก่าขนาบด้านตะวันตก เห็นความเก่าแก่ จากรอยปูน
ทำเนียบนามเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า
พระอุปัชฌาย์คล้าย
พระครูโวทานสมณคุต (รุ่ง)
พระอธิการกราน
พระภิกษุพิณ สุภัทโท ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงท่าตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ครั้นถึง พ.ศ. 2482 ได้ลาสิกขา
พระครูโสภณธรรมรัต (ถม ธมฺมทีโป) ได้รับแต่งตั้งได้ทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเชิงท่าตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ครั้นถึง พ.ศ. 2540 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ถึง พ.ศ. 2552
พระครูสุธรรมโฆษิต (ปิยชัย ปภาโส) พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น