พิพิธภัณฑ์อูบคำ เป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ ประกอบด้วยเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าแพร่ เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าเชียงใหม่ ผ้าโบราณ และที่สำคัญไม่ควรพลาดชมคือ บัลลังก์กษัตริย์เป็นทองอร่าม แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต
พิพิธภัณฑ์อูบคำ
เมื่อความทรงจำในอดีตมีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด ที่แห่งนี้จึงเป็นเหมือนลิ้นชักใบใหญ่ที่เก็บกักความทรงจำอันล้ำค่านั้นไว้ ผ่านการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านนาในอดีต พิพิธภัณฑ์อูบคำนั้น ก่อตั้งขึ้นโดยอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย ซึ่งคำว่า อูบคำ เป็นชื่อที่มาจาก “อูบทองคำ” ที่ท่านได้รับเป็นมรดกตกทอดจากบิดา ผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้านครลำปางในช่วง พ.ศ. 2275-2301 อาจารย์ได้สังเกตว่ามีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาอำเภอแม่สายและกว้านซื้อข้าวของโบราณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งเครื่องเขิน ผ้าเก่า เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้คนรุ่นหลังไม่ได้ชื่นชม ท่านจึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้น และรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของสมาชิกในราชวงศ์ เครื่องเขิน เครื่องเงินต่าง ๆ รวมทั้งในราชสำนักคุ้มเจ้าต่าง ๆ เช่น คุ้มเจ้าแพร่ คุ้มเจ้าน่าน เป็นต้น โดยตัวอย่างโบราณวัตถุที่น่าสนใจได้แก่ พระราชบัลลังก์ของกษัตริย์ไตเหนือ ผ้าทอในราชสำนัก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะที่ประณีตละเอียดอ่อนและสะท้อนจิตวิญญาณ ของภาคเหนือได้อย่างละเมียดละไม ปัจจุบันที่นี่เปิดให้ประชาชนทั่วไป นักเรียนนักศึกษา ได้เข้ามาค้นคว้าหาความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในแผ่นดินเกิดของตน เปิดบริการทุกวัน 08.00 น.-18.00 น. ค่าเข้าชมคนไทยผู้ใหญ่ 200 บาทเด็ก 100 บาท ส่วนชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 53713349 และ 08 1992 0342 เว็บไซต์ www.oubkhammuseum.com
ข้อมูลสถานที่
ศูนย์อนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ และความหลากหลายของเสื้อผ้า และอาภรณ์ของชนชาติไตเผ่าต่าง ในอาณาจักรล้านนา ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอนุรักษ์ความเป็นมาอันยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา ทำให้ อาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์อูบคำเพื่อเป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอานาจักรล้านนาโบราณ เช่นเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าต่างๆ ในล้านนา เช่น คุ้มเจ้าแพร่ คุ้มเจ้าเชียงใหม่ คุ้มเจ้าน่าน ฯลฯ ผ้าโบราณ อายุ 200 ปี ซึ่งเกิดจากการตั้งใจของผู้รวบรวมที่ต้องการเก็บของมีค่าสมัยล้านนาที่กระจายอยู่ในที่ต่างๆ ให้คืนกลับสู่แผ่นดินไทย และเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไปในอนาค
พิพิธภัณฑ์อูบคำ
ลักษณะเด่น
-ศูนย์อนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ
-อูบคำ ทำจากไม้ไผ่นำมาสานขัดกันจากนั้นจึงลงรักปิดทอง อูบมีหลายขนาด เป็น ภาชนะสำหรับใส่อาหารสำหรับพระมหากษัตริย์และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ โบราณวัตถุที่สำคัญภายในพิพิธภัณฑ์อูบคำ สิ่งเหล่านี้ล่วนมีคุณค่าและความสวยงาม อ่อนช้อย ปราณีตในการทำขึ้นมา หาดูได้เพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น
– พระราชบัลลังก์ของกษัตริย์ไตเหนือ สมบูรณ์ อ่อนช้อย งดงาม ยิ่งใหญ่ ระดับแนวหน้าของเอเชีย
– พระพุทธรูปล้านนาศิลปเชียงแสน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของล้านนา ซึ่งสร้างขึ้นด้วยศรัทธาปสาธะเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา
– ผ้าทอในราชสำนัก ที่ประดิษฐ์ ถักทอด้วยแรงกาย ด้วยความละเอียดอ่อนทางด้านกรรมวิธีการทอ มาเป็นผ้าทอลวดลายสวยงาม
ประวัติ พิพิธภัณฑ์อูบคำ
เป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอานาจักรล้านนาโบราณ เช่น เครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าต่างๆ ในล้านนา
พิพิธภัณฑ์อูบคำ ก่อตั้งขึ้นโดยอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย ที่เปิดบ้านพักของตนเองต้อนรับผู้คนที่ปรารถนาเข้ามาสัมผัสกับ “มรดกล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ และความหลากหลายของเสื้อผ้าอาภรณ์ของชนชาติไตเผ่าต่างๆ ในอาณาจักรล้านนา” คำว่า อูบคำ เป็นชื่อที่มาจากอูบทองคำที่อาจารย์จุลศักดิ์ ได้รับเป็นมรดกตกทอดจากบิดา ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระยาสุลวฤาชัย (หนานทิพย์ช้าง) เจ้านครลำปาง (พ.ศ. 2275-2301) พิพิธภัณฑ์ประกอบด้วย 3 อาคารหลัก ได้แก่
(1) คุ้มอูบคำที่จัดแสดงเครื่องเงิน ผ้าในราชสำนัก เครื่องเขิน และเครื่องประดับอาคาร
(2) คุ้มบัวเลื่อน (ชื่อได้มาจาก “บัว” ซึ่งเป็นนามของบิดา และ “เลื่อน” เป็นนามของมารดา) ในคุ้มบัวเลื่อนนี้จัดแสดงผ้าโบราณของชนชาติไทเผ่าต่างๆ บางชิ้นอายุกว่า 200 ปี และ
(3) คุ้มเจ้าฟ้า มีบัลลังก์ทองจากรัฐฉานเป็นงานประณีตศิลป์ชิ้นเด่นของอาคารจัดแสดงนี้ ข้าวของต่างๆ ได้มาจากทั้งในและต่างประเทศ อาทิ พม่า สิบสองปันนา วัตถุต่างๆ ที่ซื้อมาจากต่างประเทศยังนำมาขาย เพื่อนำเงินมาใช้ในกิจการของพิพิธภัณฑ์ แต่หากวัตถุชิ้นนั้นๆ มีความงามหรือมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ อาจารย์จะเก็บวัตถุดังกล่าวไว้เป็นของสะสมในพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ยังเปิดให้เช่าสถานที่จัดการแสดงและงานเลี้ยงต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น