วัดปากน้ำแขมหนู เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2456 ได้รับบริจาคที่ดินจากนางอ้อย ไม่ทราบนามสกุล และต่อมามีคณะศรัทธาได้ถวายที่ดินเพิ่มอีกจำนวน 21 ไร่เศษ มีพระอธิการผลเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
วัดปากน้ำแขมหนู
อุโบสถหลังแรกเริ่มก่อสร้างและได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ต่อมาทางวัดได้ก่อสร้างต่อเติมอุโบสถครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2493 และได้ฉลองอุโบสถครั้งแรก เมื่อวันที่ 8–11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ในช่วงปี พ.ศ. 2532 อุโบสถหลังเก่ามีสภาพทรุดโทรมอันเนื่องจากพื้นที่วัดอยู่ติดกับทะเล ทำให้อุโบสถผุกร่อนลุกลามไปทั่วจนถึงหลังคา โดยช่วงหน้าฝนเกิดน้ำรั่ว จนไม่สามารถประกอบกิจสังฆกรรมของสงฆ์ได้ ภายหลังได้มีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ มีการใช้กระเบื้องเซรามิกมาประดับลวดลายลงพื้นโบสถ์ด้วยสีน้ำเงิน ภายในอุโบสถ มีประตูโบสถ์ไม้ ทั้ง 4 บาน มีการแกะสลักภาพนูนต่ำ เกี่ยวกับพุทธประวัติ ด้านนอกบานประตูและหน้าต่าง มีการลงลายมุข ภาพเทพทวารบาล ส่วนพื้นผนังด้านในอุโบสถ มีการประดับภาพลงสีในพื้นเซรามิกเกี่ยวกับวรรณคดีชาดกและพระมหาชนก วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ข้อมูลทั่วไป
ตั้งอยู่ในบริเวณสะพานปากน้ำแขมหนู ริมชายฝั่งปากอ่าว ตำบลตะกาดเง้า ที่มาของโบสถ์คือ เมื่อโบสถ์หลังเก่าที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เริ่มชำรุดทรุดโทรมมากขึ้น เพราะวัดตั้งอยู่ติดกับทะเล จึงมีการผุกร่อนมาก ทางวัดและชาวบ้านจึงมีมติร่วมกันที่จะดำเนินการรื้อโบสถ์หลังเก่าและสร้างโบสถ์ใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 2534 และเพื่อความมั่นคงแข็งแรงของโบสถ์ที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลซึ่งโดนน้ำเค็มกัดกร่อนตลอดเวลา จึงใช้เซรามิกที่มีความมันเงา คงทนแข็งแรง มาเคลือบชั้นปูนป้องกันอีกชั้นหนึ่งทำให้โบสถ์มีความคลาสสิกสวยงามแปลกตาโดยเป็นงานเซรามิกโบราณที่ใช้สีพื้นเพียงสองสี คือน้ำเงินและขาวโบสถ์วัดปากน้ำแขมหนูมีเอกลักษณ์สวยงาม ไม่เหมือนที่อื่นโดยด้านในเฉพาะประตูโบสถ์ไม้ทั้ง 4 บาน มีการแกะสลักภาพนูนต่ำเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติพระพุทธเจ้า ด้านนอกบานประตูและหน้าต่างมีการลงลายมุก ภาพเทพทวารบาล ส่วนพื้นผนังด้านในพระอุโบสถประดับภาพลงสีในพื้นเซรามิกเกี่ยวกับวรรณคดีชาดกและพระมหาชนกมุมด้านหน้าของโบสถ์มีบันไดพญานาคห้าเศียรมีลำตัวทอดยาวไปจนสุดทางบันได อีกทั้งภายในโบสถ์ประดิษฐานพระพุทธชินราชองค์จำลอง เป็นที่สักการบูชาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เปิดให้เข้าชม เวลา 06.00-18.00 น. สอบถามข้อมูล โทร. 08 0942 4915
ที่ตั้ง
ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ข้อมูลสถานที่
พระอุโบสถเซรามิก หรือโบสถ์สีน้ำเงิน โบสถ์ทนน้ำเค็มกันสนิมแห่งเดียวในโลก
ลักษณะเด่น
ภายในพระอุโบสถ มีความสวยสดงดงาม ไม่แพ้เซรามิกสีน้ำเงินนอกโบสถ์ โดยด้านในเฉพาะประตูโบสถ์ไม้ ทั้ง 4 บาน มีการแกะสลักภาพนูนต่ำ เกี่ยวกับพุทธประวัติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงสีสดโดดเด่นเก็บทุกรายละเอียด ด้านนอกบานประตูและหน้าต่าง มีการลงลายมุข ภาพเทพทวารบาล ส่วนพื้นผนังด้านในพระอุโบสถ มีการประดับภาพลงสีในพื้นเซรามิกเกี่ยวกับวรรณคดีชาดก และพระมหาชนก
ประวัติ วัดปากน้ำแขมหนู
พระอุโบสถหลังแรก เริ่มก่อสร้างตามแบบมาตรฐาน และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2489 ต่อมาทางวัดได้ก่อสร้างต่อเติม พระอุโบสถครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2493 และได้ฉลองพระอุโบสถครั้งแรก เมื่อวันที่ 8-11 ก.พ. 2502 ในช่วงปี พ.ศ. 2532 พระอุโบสถหลังเก่า เริ่มชำรุดทรุดโทรมมากขึ้น เนื่องจาก พื้นที่วัดปากน้ำแขมหนู อยู่ติดกับทะเล ทำให้โครงสร้างพระอุโบสถ ผุกร่อนลุกลามไปทั่วจนถึงหลังคา โดยช่วงหน้าฝนเกิดน้ำรั่ว จนไม่สามารถประกอบกิจสังฆกรรมของสงฆ์ได้ ในปี พ.ศ. 2534 จึงได้มีมติร่วมกับชาวบ้าน ที่จะดำเนินการรื้อโบสถ์หลังเก่า และก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น โดยนำเอารูปแบบพิมพ์เขียวจากวัดสระบาป มาเป็นตัวอย่าง พร้อมกันนี้ได้หาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้โบสถ์หลังใหม่เกิดความชำรุดเสื่อมโทรมเร็ว เนื่องจากพื้นที่ติดกับน้ำเค็ม ต่อมา จึงได้เดินทางไปดูรูปแบบก่อสร้างโบสถ์วัดอื่นๆ จนไปพบมีที่วัดแห่งหนึ่ง มีการใช้กระเบื้องเซรามิกมาประดับ และเห็นว่าพื้นผิวเซรามิกมีความมันเงา คงทนแข็งแรง จึงมีแนวความคิดที่จะใช้เซรามิกมาเคลือบชั้นปูนพระอุโบสถที่วัด เพื่อป้องกันน้ำเค็ม นอกจากนี้ ยังได้ประสานโรงงานรับเหมา ให้ผสมสีลงในชิ้นงานที่จะนำมาปิดเคลือบผนังปูน ตลอดจนชิ้นส่วนลวดลายต่างๆ ที่จะนำมาประดับตกแต่ง โบสถ์ทั้งหลัง เพื่อลดเวลาการก่อสร้าง และจะไม่ต้องทาสีซ้ำบ่อยๆ แถมลดการเสื่อมสภาพจืดจางของตัวสีได้อีกด้วย ส่วนสาเหตุที่เลือกประดับลวดลายลงพื้นโบสถ์ด้วยสีน้ำเงิน เนื่องจากเห็นว่า ภาชนะลายครามที่ทำจากเซรามิกสมัยโบราณ จะมีการใช้สีหลักเพียงสองสีเท่านั้น คือ พื้นสีขาว ตัดลวดลายด้วยสีน้ำเงิน เมื่อลองมาใช้กับโบสถ์ก็พบว่ามีความสวยงามโดดเด่น จึงได้มีการนำมาใช้ประดับตกแต่งพระอุโบสถเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันจนกลายมาเป็นโบสถ์สีน้ำเงินอย่างที่เห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น