วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ความเป็นของของวัดไชยวัฒนาราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส


สลากไทพลัส จะมาเสนอประวัติของวัดไชยวัฒนาราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 




 หลายคนที่ไป เที่ยวอยุธยา และชอบถ่ายรูปสวยๆ ของ โบราณสถานเก่าแก่ต่างๆ ที่เที่ยวที่จะพลาดไม่ได้เลยก็คือ วัดไชยวัฒนาราม แห่งนี้ค่ะ เพราะที่นี่เป็น วัดสวย อยุธยา ที่มีความเก่าแก่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเลยทีเดียว อีกทั้งยังตั้งอยู่ใน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อีกด้วย เอาล่ะ ตามเราไปเที่ยวชมความสวยงามของวัดแห่งนี้กันเลยค่ะ

ประวัติวัดไชยวัฒนาราม

       วัดไชยวัฒนาราม เป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นในโดย พระเจ้าปราสาททอง เมื่อปี พ.ศ.2173 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายค่ะ ที่นี่เป็นวัดหลวงที่มีความสำคัญมากๆ เพราะเป็นวัดที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ และยังเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ด้วย

      พระเจ้าปราสาททอง ได้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้น เพื่ออุทิศผลบุญนี้ให้กับพระราชมารดาของพระองค์ และอีกประการหนึ่งก็คือ วัดนี้อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือเขมรด้วย จึงทำให้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่งมาจาก นครวัด นั่นเอง



ระเบียงคด

      สิ่งที่น่าสนใจในวัดไชยวัฒนาราม ก็คือ ระเบียงคด เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเมรุแต่ละเมรุเอาไว้ โดยรอบฐานประทักษิณซึ่งแต่เดิมจะมีหลังคารอบๆ ที่บริเวณระเบียงคดนี้จะมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ รวมทั้งหมด 120 องค์ ปัจจุบันเหลือที่ยังมีพระเศียรอยู่ 2 องค์ค่ะ

พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ

      นอกจากนี้ เมื่อมาถึงวัดไชยวัฒนาราม เราจะสามารถมองเห็น พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ ปรางค์ประธาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกลางวัดได้อย่างทันที ที่นี่เป็นโบราณสถานที่น่าสนใจ และสวยงามไม่แพ้กันเลยทีเดียว


      ยอดขององค์ปรางค์ ทำเป็นรัดประคดซ้อนกัน 7 ชั้นแต่ละชั้น เป็นลวดลาย ใบขนุน กลีบขนุน ส่วนบนสุดเป็นทรงดอกบัวตูม ปรางค์แบบนี้มีลักษณะเหมือน ปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่า อาจจะมีการนำปรางค์ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้นมาสร้างขึ้นใหม่ที่นี่นั่นเอง



พระอุโบสถ

      พระอุโบสถ ภายในวัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคด ค่ะ ซึ่งในปัจจุบันเหลือแต่ฐานแล้ว โดยข้างๆ มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง และมีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง 3 ชั้นเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพิ่มในภายหลังอีกด้วย

      รวมถึงภายในวัด ประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้น อยู่ภายในเมรุทิศเมรุมุ ของระเบียงคต ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ วัดหน้าพระเมรุ อีกด้วย โดยสันนิษฐานว่าได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองด้วยเช่นเดียวกันค่ะ


 



 


   

 

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ประวัติของวัดหงษ์ทอง โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส




สลากไทพลัส จะมาเสนอประวัติของวัดหงษ์ทอง 


วัดหงษ์ทอง บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา กลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียงที่กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว หลังจากที่เปิดให้ประชาชนได้สัมผัสกับประสบการณ์แปลกใหม่ ด้วยการใช้สะพานกระจกที่ทอดยาวออกไปเพื่อชมวิวและความงามของพระอาทิตย์ตกกลางทะเล

ทั้งนี้ มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า สกายวอล์คแห่งนี้จะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงเดือนเมษายน 2566 แต่กลับสามารถเปิดให้บริการได้ก่อนกำหนด

วัตถุประสงค์ของการสร้างจุดสกายวอล์คในครั้งนี้นั้น พระปลัดวัชระ ปญฺญาวชิโร เจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ได้เปิดเผยว่า เดิมทีนั้นวัดมีที่ดินอยู่ประมาณ 22 ไร่ แต่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเหลือเพียงแค่ 8 ไร่ซึ่งที่ผ่านมาทางวัดได้พยายามสร้างซีวอล์ค (sea walk) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก 2.50 เมตร ความสูง 4.70 เมตร ซึ่งจะยกขึ้นฐานในวันที่ 15 ก.พ.66 นี้

 


รู้จัก วัดหงษ์ทอง จุดแลนด์มาร์ค สร้างซีวอล์ค ลงทะเล  

ในส่วนของจุดซีวอล์ค (sea walk) นั้น มีความยาว 40 เมตร กว้าง 3 เมตร ใช้กระจก 240 แผ่น หนา 3 ชั้น รองรับน้ำหนักคนได้ประมาณ 200 คน โดยชั้นล่างสุดสามารถกันกรดกันด่าง ชั้นที่ 2 เป็นกระจกที่มีความยืดหยุ่น ชั้นที่ 3 เป็นกระจกนิรภัยโดยแต่ละแผ่นจะมีความหนา 10 มม.



ประวัติวัดหงษ์ทอง หรือ วัดกลางน้ำ 

วัดหงษ์ทอง หรือ วัดกลางน้ำ ที่ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไป เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2529 ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างน่าตื่นตาหลายแห่ง ได้แก่ 

1.เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุในทะเลใช้ชื่อว่า พระธาตุคงคามหาเจดีย์ปรีชาประภากรณ์ปราชญ์ศรนิลอนุสรณ์ ซึ่งบรรจุพระธาตุอรหันต์ในทะเลเป็นแห่งแรกของโลก

2.โบสถกลางทะเล ภายในมีพระประธานสีทองและมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ

3.ด้านหลังอุโบสถมีรูปหล่อเสด็จเตี่ย หรือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ 

นอกจากนั้นวัดหงษ์ทองแห่งนี้ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์, หลวงพ่อโต, ศาลพ่อปู่ชีวกโกมารภัจจ์, พระแม่คงคา 

ศูนย์พัฒนาจิต ศาลาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ศรนิลอนุสรณ์ ตั้งยื่นไปในทะเล

ในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปีจะเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนมาบวชเนกขัมมะ หรือ การบวชพราหมณ์

ที่ตั้งวัดหงษ์ทอง 

ประวัติความเป็นมาของวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร


  สลากไทพลัส จะมาเสนอประวัติของวัดอรุณราชวรารามราช วรมหาวิหาร



ประวัติ

เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรี และได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลางพระราชวัง จึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชธาราม” ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้บูรณะเพิ่มเติมอีก  แล้วทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชวราราม” ดังที่เรียกกันปัจจุบัน


สถาปัตยกรรมที่สำคัญ

พระอุโบสถ  สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอาคารยกพื้นสูงหลังคาลด  2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีเหลือง ขอบเป็นกระเบื้องสีเขียวใบไม้ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก แผงหน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นไม้แกะลายลงรักปิดทองและประดับกระจก รูปเทวดายืนถือพระขรรค์อยู่ในปราสาท มีสังข์และคนโทน้ำวางอยู่ในพานข้างละพาน ประดับลายกนกลงรักปิดทอง  พระอุโบสถมีมุขยื่นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีเสาระเบียงขนาดใหญ่รับเชิงชายทั้งด้านเหนือและด้านใต้ บันไดและเสาบันไดเป็นหินทราย ระหว่างเสารอบพระอุโบสถถึงหน้ามุขทั้งสองด้านมีกำแพงเตี้ยๆ ประดับด้วยหิน สลักเป็นรูปดอกไม้ใบไม้ ที่หุ้มกลองด้านหน้าระหว่างประตู มีบุษบกยอดปรางค์ประดิษฐานพระพุทธนฤมิตรเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่  4 แต่นำมาประดิษฐานในรัชกาลที่  5  ที่หุ้มกลองด้านหลังระหว่างประตูเป็นบุษบกยอดปรางค์มีพาน 2 ชั้น ลงรักปิดทองตั้งพุ่มเทียน  ฐานพระอุโบสถมีลักษณะโค้งตกท้องสำเภา  มีการประดับลวดลายปูนปั้นลงรักปิดทอง ซุ้มประตูพระอุโบสถ 2 ประตูด้านหน้าเป็นซุ้มยอดปรางค์  แต่ซุ้มประตูด้านหลังทั้ง  2 ประตู เป็นซุ้มไม่มียอด เสาและผนังพระอุโบสถด้านนอกถือปูนประดับกระเบื้องจีนลายดอกไม้ร่วง  ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 4 ด้าน เป็นภาพพุทธประวัติ มารผจญ เวสสันดรชาดก  เป็นต้น พระประธานในพระอุโบสถมีพระนามว่า “พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ภายในพระพุทธอาสน์บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระอุโบสถไม่มีกำแพงแก้ว แต่มีพระระเบียงแทน สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  มีทรวดทรงงดงามกว่าพระระเบียงที่อื่น  ที่ผนังระเบียงมีลายเขียนเป็นซุ้มเรือนแก้วลายดอกไม้ ใบไม้ มีนกยูงแบบจีนอยู่ตรงกลาง เสาพระระเบียงเป็นเสาถือปูนย่อมุม บัวหัวเสาเป็นลวดลายปูนปั้นลงรักปิดทองประดับกระจก  ด้านในประตูทุกบานเป็นภาพสีรูปคนถือหางนกยูงยืนอยู่เหนือสัตว์หิมพานต์  ด้านนอกประตูเป็นลายรดน้ำ  ด้านในพระระเบียงโดยรอบมีตุ๊กตารูปทหารเรือทำจากหินแกรนิตสีเขียวตั้งเรียงเป็นแถวจำนวน 144 ตัว บริเวณมุมพระอุโบสถทั้งสี่มุม มีพระเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมทำด้วยหินอ่อน มีซุ้ม  8 ซุ้ม มียอดเป็นปล้อง ๆ เรียวขึ้นโดยลำดับคล้ายปล้องไฉน ภายในบรรจุตุ๊กตาหินแกรนิตแบบจีนอยู่ภายใน จำนวน 8 ตัว เรียกว่าโป๊ยเซียน

ปรางค์ทิศ  เป็นปรางค์องค์เล็กก่ออิฐถือปูนประดับกระจกเคลือบสีแบบเดียวกับพระปรางค์องค์ใหญ่ เหนือเป็นนภศูลปิดทอง  ปรางค์ทิศตั้งอยู่มุมทักษิณชั้นล่างของปรางค์องค์ใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้ ทิศละองค์ มีรูปทรงเหมือนกัน คือมีช่องรูปกินนรและกินรี เชิงบาตรเหนือช่องมีรูปมารแบกกระบี่แบกสลับกัน เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มคูหารูปพระพายทรงม้า เหนือขึ้นไปเป็นยอดปรางค์มีรูปครุฑยุดนาคและเทพนมอยู่เหนือซุ้มคูหา

มณฑปหรือปราสาททิศ  ตั้งอยู่บนฐานทักษิณชั้นที่  2 ในระยะระหว่างปรางค์ทิศ ตอนฐานของมณฑปมีช่องบรรจุรูปกินรีและกินนร  เหนือช่องมณฑปทิศเหนือและทิศใต้มีรูปกุมภัณฑ์แบก  เหนือช่องมณฑปทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีรูปคนธรรพ์แบก  มณฑปเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ประดับกระจกเช่นเดียวกับพระปรางค์ ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ดังนี้ คือ มณฑปทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปปางประสูติ มณฑปทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้  มณฑปทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา และมณฑปทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพาน

พระวิหาร  เป็นอาคารยกพื้นสูง หลังคาลดหลั่น  3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี  หน้าบันมีรูปเทวดาถือพระขรรค์นั่งบนแท่น ประดับด้วยลายกนกลงรักปิดทองประดับกระจก  มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ผนังด้านนอกประดับกระเบื้องเคลือบสีลายก้านแย่งขบวนไทย  เป็นกระเบื้องที่รัชกาลที่  3 ทรงสั่งมาจากเมืองจีน พระประธานในพระวิหารคือพระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร  นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระอรุณและพระพุทธรูปปางมารวิชัยอีกด้วย



โบสถ์น้อย  เป็นโบสถ์เดิมของวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา  มีลักษณะเป็นอาคารทรงเตี้ย  มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  หน้าบันเป็นลายกนกปิดทองประดับกระจก ไม่มีกำแพงแก้ว มุขหลังประดิษฐานพระกัจจายน์หน้าตักกว้าง 2 ศอก เป็นพระลงรักปิดทอง บานประตูด้านนอกเป็นลายรดน้ำรูปทหาร  มีรูปดอกไม้ประดับด้านในเป็นภาพเขียนสีรูปเทวดาแบบทวารบาล หน้าต่างด้านนอกเป็นลายรดน้ำรูปดอกไม้ด้านในเป็นภาพสีรูปฉัตรเบญจาและดอกไม้ร่วงเหมือนกันทุกบาน  พระประธานเป็นปูนปั้นปางมารวิชัยลงรักปิดทอง หน้าฐานชุกชีทำเป็นลับแลก่ออิฐถือปูน มีพระแท่นของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาทางวัดได้สร้างพระบรมรูปหล่อพร้อมฐานสถิตย์ดวงพระวิญญาณของพระองค์


วิหารน้อย  เป็นวิหารเดิมของวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางด้านหน้าขององค์พระปรางค์คู่กับโบสถ์น้อย  มีลักษณะเช่นเดียวกับโบสถ์ คือ เป็นอาคารทรงเตี้ย  มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  มุขด้านหน้าว่าง มุขหลังประดิษฐานพระมาลัยหน้าตักกว้าง 2 ศอก บานประตูด้านนอกเป็นลายรดน้ำรูปทหารและรูปดอกไม้ประกอบกัน ประดับด้านในเป็นภาพเขียนสีรูปเทพธิดายืนประนมมืออยู่บนเขาและมีภาพลายดอกไม้ร่วง หน้าต่างด้านนอกเป็นลายรดน้ำรูปดอกไม้ด้านในเป็นภาพสีรูปฉัตรเบญจาและดอกไม้ร่วง ตรงกลางประดิษฐานพระจุฬามณีเจดีย์

หอไตร  มี  2 หลัง  หลังแรกตั้งอยู่ทางด้านหน้าของกุฏิคณะ 1 ใกล้กับสระน้ำและรั้วด้านตะวันตกของพระปรางค์ ไม่มีช่อฟ้าใบระกา  เป็นปูนปั้นประดับกระเบื้องถ้วยเป็นชิ้น ๆ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี กรอบหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายดอกไม้ลงรักปิดทอง ส่วนหลังที่สองอยู่มุมทางด้านเหนือหน้าคณะ 7 มีช่อฟ้าใบระกาลงรักปิดทองประดับกระจำ บานหน้าต่างเป็นลายรดน้ำรูปดอกไม้

หอระฆัง  มี  2 หลัง  หลังแรกตั้งอยู่ทางด้านเหนือหลังพระวิหารใกล้กำแพงที่กั้นเป็นเขตพุทธาวาสด้านตะวันตกกับศาลาราย สูง  3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบมีลายปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยที่หน้าบันเป็นลายดอกไม้ปักอยู่ในพาน  แขวนระฆังธรรมดา  ส่วนอีกหลังหนึ่งสูง 3 เมตรเช่นกัน อยู่ทางใต้แขวนระฆังกังสดาลแผ่นหนาเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ฟุต พระเจดีย์ 4 องค์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่  3 ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถด้านใต้กับมณฑปพระพุทธบาทจำลอง เรียงเป็นแถวตรงจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกห่างกันพอสมควร เป็นเจดีย์แบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากัน  ก่ออิฐถือปูนย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยและกระจกสีต่างๆ เป็นลายดอกไม้และลายอื่น ๆ มีฐานทักษิณ 1 ชั้น มีบันไดขึ้นลงทางด้านเหนือ บริเวณพระเจดีย์ติดกับพระระเบียงอุโบสถปูด้วยกระเบื้อง

มณฑปพระพุทธบาทจำลอง  ตั้งอยู่ระหว่างพระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบสอง 4 องค์ กับพระวิหารใหญ่ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่ออิฐถือปูนประดับกระเบื้องถ้วยสีต่าง ๆ  มีฐานทักษิณ 2 ชั้น หลังคามณฑปทำใหม่สร้างด้วยซีเมนต์




ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน  มี 6 หลัง อยู่บริเวณเขื่อนหน้าวัด ตั้งตรงมุมเหนือสุดที่ปากคลองวัดแจ้งมี 1 หลัง ตรงกับซุ้มประตูยอดมงกุฎ 3 หลัง ตรงกับพระศรีมหาโพธิ์หน้าวัด  1 หลัง และตรงกับทางเข้าพระปรางค์อีก 1 หลัง ศาลาเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่  3 มีลักษณะเหมือนกัน คือ หลังคาเป็นรูปเก๋งจีน มียกพื้นสำหรับนั่งพักทำด้วยหินทรายสีเขียว โดยเฉพาะศาลา 3 หลังที่ตรงกับซุ้มประตูนั้น มีแท่นสีเขียววางอยู่ตรงกลางเข้าใจว่าเป็นที่สำหรับวางของ  และด้านหลังมีรูปกินรีแบบจีนทำด้วยหินทรายสีเขียวตั้งอยู่  2 ตัว

ภูเขาจำลอง  ตั้งอยู่หน้าวัดทางด้านเหนือ บริเวณหลังศาลารูปเก๋งจีน 3 หลัง เดิมเป็นภูเขาที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่  1 อยู่ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมารัชกาลที่  3 โปรดให้นำมาไว้ที่นี่ ภูเขาจำลองมีรั้วล้อมไว้เป็นสัดส่วน  มีตุ๊กตาจีน 2 ตัว นั่งอยู่บนแท่นนอกรั้ว ประตูทางเข้าทำเป็นรูปทหารเรือยืนเฝ้าอยู่  2 คน

อนุสาวรีย์พระธรรมเจดีย์  อยู่ด้านใต้ของภูเขาจำลอง อนุสาวรีย์แห่งนี้มีกำแพงเตี้ย ๆ ล้อมรอบ  ภายในนอกจากจะมีโกศหินทรายสีเขียวแบบจีนบรรจุอัฐิของพระธรรมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดในระหว่างปี พ.ศ. 2458-2467  ยังมีประตู เขาจำลองแบบเตี้ย ๆ  และปราสาทแบบจีนที่มีตุ๊กตาหินอยู่ภายใน มีภาษาจีนกำกับอ่านว่า ฮก ลก ซิ่ว

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. ประวัติวัดอรุณราชวราราม.  พระนคร : กรม, 2511.

รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : งานผังรูปแบบ ฝ่ายอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2538.

ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา.  สมุดภาพวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพฯ :  ต้นอ้อ, 2536

นันทวดี เจริญพร. การศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่จากภาพจิตรกรรมฝาหนังภายในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544.

อนัสพงษ์ ไกรเกรียงศรี.  การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดอรุณราชวราราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535


 

ประวัติความเป็นมาของวัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส


สลากไทพลัส จะมาเสนอวัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร  พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๓ 


   วัดราชโอรสาราม หรือ วัดราชโอรส ตั้งอยู่ริมคลองสนามไชย ฝั่งตะวันตก (ฝั่งธนบุรี) และติดคลองบางหว้า ทางด้านทิศเหนือของวัด ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕๘ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

   วัดราชโอรสเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๓ แห่งบรมราชวงศ์จักรี เป็นวัดโบราณมีมาก่อนสร้างกรุงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า "วัดจอมทอง" บ้าง "วัดเจ้าทอง" บ้าง หรือ "วัดกองทอง" บ้าง

   ในสมัยราชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๖๓ มีข่าวว่าพม่าตระเตรียมกำลังจะยกเข้ามาตีประเทศสยาม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓) ทรงเป็นแม่ทัพคุมพลไปขัดตาทัพพม่าทางเจดีย์ ๓ องค์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้เสด็จประทับแรมที่หน้าวัดจอมทองนี้ และทรงทำพิธีเบิกโขลนทวาร ตามลักษณะพิชัยสงคราม ทรงอธิษฐานให้ประสบความสำเร็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ แต่พม่าไม่ได้ยกทัพมาตามที่เล่าลือกันและเมื่อพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงเลิกทัพเสด็จกลับพระนครแล้ว จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งวัด และถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชโอรส" 

   ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสถาปนาวัดนี้ ในขณะที่ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอก็ตาม แต่เนื่องจากทรงสถาปนาเป็นการส่วนพระองค์ จึงทรงพระราชดำริเปลี่ยนแปลงแบบอย่างศิลปกรรมตามความพระราชหฤทัย 

   ดังนั้น วัดราชโอรสจึงตกแต่งด้วยศิลปะจีนเป็นส่วนมาก นับเป็นวัดแรกที่เป็นวัดที่คิดสร้างออกนอกแบบอย่างวัด ซึ่งสร้างกันอย่างสามัญ ศิลปกรรมไทยที่มีอยู่ในวัดนี้ พระองค์ทรงสร้างได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนงดงามยิ่งนัก อย่างหาที่ติมิได้ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แต่หลังคาโบสถ์เป็นกระเบื้องเคลือบแบบไทย กุฏิพระสงฆ์เป็นอาคารตึกแทนเรือนไม้แบบของเดิมการประดับตกแต่งต่างๆ เป็นแบบจีนผสมไทย เช่น บานประตูหน้าต่างพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ประดับด้วยเสี้ยวกางแทนลายเทพนม หรือลายไทยแบบของเดิม หน้าบันพระอุโบสถ และพระวิหารประดับพระเบื้องเคลือบสี จึงนับเป็นครั้งแรกที่มีการประยุกต์ศิลปกรรมได้อย่างประณีต เหมาะสม เป็นสัญลักษณ์แห่งศาสนสถานได้อย่างสง่า และงดงาม 


พระอุโบสถ

๑. พระอุโบสถ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมผสมระหว่างไทย และจีน หลังคาเป็นแบบจีนแต่มุงกระเบื้องสีแบบไทย ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ สวยงาม แต่งเป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ มีรูปสัตว์มงคลตามคติของจีน คือ มังกร หงส์ และนกยูง ตอนล่างเป็นภาพทิวทัศน์มีบ้านเรือน สัตว์เลี้ยงภูเขา ต้นไม้ ตามขอบหลังคาประดับกระเบื้องสี และถ้วยชามโดยรอบ


ซุ้มประตูหน้าต่างประดับกระเบื้องสี

ซุ้มประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นประดิษฐ์เป็นลวดลายดอกเบญจมาศ บานประตูด้านนอกประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆ ฝีมือละเอียดประณีต ด้านในเขียนรูปทวารบาลแบบจีน ผนังด้านในพระอุโบสถเขียนเป็นลายเครื่องบูชาแบบจีน บางช่วงมีความหมายในการให้พร ฮก ลก ซิ่ว ตามคติของจีน บนเพดานเขียนดอกเบญจมาศ ทองบนพื้นสีแดงพระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ๒. พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๑ วา ๒ ศอก หรือประมาณ ๓.๑๐ เมตร สูงประมาณ ๒ วา ๑ ศอก หรือ ประมาณ ๔.๕๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรังคาร ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ที่ฐานพระพุทธรูป พร้อมกับถวายพระปรมาภิไธยประจำรัชกาล และศิลาจารึกดวงชันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตร ( ฉัตร ๙ ชั้น ) พ.ศ. ๒๕๐๔ พระพุทธรูปองค์นี้กล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างได้งดงามกว่า พระพุทธรูปองค์อื่นที่สร้างในสมัยเดียวกัน

๓. พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อทรงเสด็จมาทรงคุมงานและตรวจการก่อสร้าง ได้ประทับที่พระแท่นใต้ต้นพิกุลใหญ่ที่อยู่ตรงด้านหน้าทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ และเล่ากันว่าเคยรับสั่งไว้ว่า "ถ้าฉันตายจะมาอยู่ที่ใต้ต้นพิกุลนี้ " อาจจะเป็นเพราะพระราชดำรัสนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาพระอารามนี้ จะมาทรงถวายสักการะที่พระแท่นนี้เสมอจนกลายเป็นประเพณี และเวลาเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระราชกฐินหรือเจ้านายเสด็จในการทอดกฐินพระราชทาน เจ้าหน้าที่จะตั้งเครื่องมุกไว้ทรงสักการะ ณ ต้นพิกุลนี้ทุกครั้ง

๔. ถะ (สถูปเจดีย์) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นสถูปแบบจีน มีทรงเหลี่ยมซ้อนกัน ๕ ชั้น สูงประมาณ ๕-๖ วา ยอดเป็นรูปทรงน้ำเต้า ถัดมาเป้นทรงเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในแต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นช่อง เว้นระยะโดยรอบ ถะ หรือ สถูปองค์นี้ ก่อด้วยอิฐถือปูนปิดทึบ ภายนอกเป็นแผ่นหินอ่อนสลักรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และลวดลายปะติดไว้ด้านนอก

๕. พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถในเขตกำแพงแก้วเช่นเดียวกัน แต่พระวิหารมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง เป็นพระวิหารขนาดใหญ่ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นขนาดยาว ๒๐ เมตร ที่บานประตู และบานหน้าต่างด้านนอกประดับด้วยลายปูนปั้นที่เรียกว่า กระแหนะ เป็นรูปเลี้ยวกางแบบไทย ยืนอยู่บนประแจจีน ประดับด้วยแจกันดอกเบญจมาศและพานผลไม้ เช่น ทับทิม ส้มมือ ลิ้นจี่ มังคุด และน้อยหน่า เป็นต้น เพดานพระวิหารเขียนลายดอกเบญจมาศ นก และผีเสื้อ สีสวยงาม และหน้าบันประดับด้วยกระเบื้องสีเป็นลายดอกเบญจมาศและรูปสัตว์มงคลของจีน เช่นเดียวกับหน้าบันพระอุโบสถ

โดยรอบลานพระวิหารมีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองประดิษฐานอยู่ ๓๒ องค์ ที่ผนังพระระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มีแผ่นหินอ่อนจารึกตำรายาและตำราหมอนวด ติดเป็นระยะๆ จำนวนทั้งสิ้น ๙๒ แผ่น โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๖. ศาลาการเปรียญ อยู่ทางด้านขวาของพระอุโบสถ เป็นอาคารที่มีลักษณะผสมทางศิลปกรรม ระหว่างไทยและจีน เช่นเดียวกัน หลังคาเป็นแบบจีน ลด ๒ ชั้น แต่มุงกระเบื้องแบบไทย บนหลังคาประดับรูปถะ ระหว่างมังกรกระเบื้องเคลือบสีอย่างศาลเจ้าจีน ผนังด้านนอกตอนบนเขียนรูปผลไม้ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล (ฮก ลก ซิ่ว) เช่น ส้มมือ หมายถึง การมีวาสนาสูง ทับทิม หมายถึง ความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ และผลท้อ หมายถึง การมีอายุยืน


วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของวัดพนัญเชิง โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะมาเสนอประวัติวัดพนัญเชิงวรวิหารก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา


 

วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย[1] มีจุดเด่นสำคัญ คือ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ

วัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิง[ต้องการอ้างอิง] และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี [2]


พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อซำปอกง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ และใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา หน้าตักกว้าง 20 เมตรเศษ สูง 19 เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย เคยได้รับความเสียหายในสมัยเสียกรุง แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ได้โปรดเกล้าให้บูรณะใหม่หมดทั้งองค์ และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่รู้จักกันในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเชื้อสายจีนว่า หลวงพ่อซำปอกง[ต้องการอ้างอิง] คำว่า พแนงเชิง มีความหมายว่า นั่งขัดสมาธิ ฉะนั้น คำว่า วัดพนัญเชิง (วัดพระแนงเชิง หรือ วัดพระเจ้าพแนงเชิง) จึงหมายถึงวัดแห่งพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยคือ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก นั้นเอง หรืออาจสืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องพระนางสร้อยดอกหมาก คือ เมื่อพระนางสร้อยดอกหมากกลั้นใจตายนั้น พระนางคงนั่งขัดสมาธิ เพราะชาวจีนนิยมนั่งขัดสมาธิมากว่านั่งพับเพียบจึงนำมาใช้เรียกชื่อวัด บางคนก็เรียกว่า วัดพระนางเอาเชิง ตามสาเหตุที่ทำให้พระนางถึงแก่ชีวิต ฉะนั้น ถ้าเรียกนามวัดตามความหมายของคำว่า วัดพนัญเชิง ก็ย่อมหมายความถึงวัดที่มีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ คือหลวงพ่อโต (อ้างอิงจากประวัติวัดพนัญเชิงข้อมูลของทางวัดในปัจจุบัน)



พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของวัดพนัญเชิง

หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายกพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔.๒๐ เมตร สูง ๑๙.๒๐ เมตร วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทอง หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก หรือพระโตของชาวอยุธยาองค์นี้ ถือกันว่าเป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้างกรุง พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๘ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนากรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปีและเมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตกปรากฏในคำให้การขาวกรุงเก่าว่าพระปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงมีน้ำพระเนตรไหลเป็นที่อัศจรรย์ หลวงพ่อโตเป็นพระองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวจีนมากโดยเรียกกันว่า “ซำปอกง” นอกจากชาวไทยแล้วยังมีผู้มีเชื้อสายจีนหลั่งไหลกันมากราบไหว้บูชาจำนวนมากและเป็นประจำทุกปี

ในพระอุโบสถวัดพนัญเชิงนั้นมีพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือ พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปูน และพระพุทธรูปนาก พระพุทธรูปทองเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยทำจากทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 4 ศอก มีสีทองอร่ามใสเป็นเงาสะท้อนอย่างชัดเจน องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยาหน้าตักกว้าง 4 ศอก สูง 5 ศอก ส่วนพระพุทธรูปนากเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยนั้นจะมีสีออกแดง ๆ หน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 5 ศอก กล่าวกันว่าพระพุทธรูปทองและนากนี้เพิ่งถูกพบว่าเป็นพระทองและพระนากด้วยบังเอิญ เนื่องจากแต่เดิมทีพระทั้งสององค์ถูกฉาบเคลือบด้วยปูน จนมีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปปูนปั้นทั่วไป สาเหตุคงเพราะว่าช่วงเวลาก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะถูกข้าศึกบุกตีพระนคร คนในสมัยนั้นเกรงว่าพระพุทธรูปทองและพระพุทธรูปนากนี้จะถูกขโมยหรือเผาเอาทองไปจึงได้ฉาบปูนเคลือบและปั้นปูนในขณะที่ปูนยังไม่แห้งเพื่อทำเป็นลายจีวรและลักษณะต่างๆเช่น ปั้นรูปพระพักตร์ พระเกศา เพื่อให้เข้าใจว่าไม่ใช่พระทองคำและพระนาก จนกระทั่งในภายหลังมีผู้ไปค้นพบว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำเนื่องจากเศษปูนได้กะเทาะออกมาและเนื้อภายในเป็นทอง จึงได้ค่อยๆกะเทาะปูนออกให้หมด จึงได้เห็นว่าเป็นพระทองคำทั้งองค์และนำมาประดิษฐานอยู่ภายพระอุโบสถของวัดนอกจากหลวงพ่อโตหรือเจ้าพ่อซำปอกง แห่งวัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ผู้คนมาสักการะกันอย่างหนาตาทุกวันแล้ว ใกล้กันนั้นยังมี “ศาลพระนางสร้อยดอกหมาก” หรือ “ศาลเจ้าแม่แอเนี้ย” อันเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรมในยุคก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ที่มีผู้คนที่ต้องการขอพรแห่งความรักมาสักการะไม่น้อยเช่นกัน

ตามตำนานพระราชพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระนางสร้อยดอกหมากไว้ว่า พระเจ้ากรุงจีนทรงมีบุตรบุญธรรมจากจั่นหมากชื่อว่า สร้อยดอกหมาก ครั้นนางจำเริญวัยเป็นสาวแรกรุ่นที่มาพร้อมรูปลักษณ์อันงดงาม โหรหลวงได้ทำนายว่าจะได้กษัตริย์กรุงอโยธยาเป็นพระสวามี พระเจ้ากรุงจีนจึงทรงมีพระราชสาสน์มาถวายพระเจ้าสายน้ำผึ้ง พระเจ้าสายน้ำผึ้งหลังจากรับราชสาสน์จึงเสด็จไปกรุงจีนด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัยด้วยพระบารมีพระราชกุศลที่สั่งสมมาแต่ปางหลังนำพาให้พระองค์ฝ่าภยันตรายไปถึงกรุงจีนด้วยความปลอดภัย พระเจ้ากรุงจีนทรงโสมนัสเป็นยิ่งนัก จึงมีรับสั่งให้จัดกระบวนแห่ออกไปรับพระเจ้าสายน้ำผึ้งเข้ามาภายในพระราชวัง พร้อมทั้งให้ราชาภิเษกพระนางสร้อยดอกหมากขึ้นเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสายน้ำผึ้งเวลากาลผ่านไป พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงกราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงจีนกลับพระนคร พระเจ้ากรุงจีนจึงพระราชทานเรือสำเภา 5 ลำ กับชาวจีนที่มีฝีมือในการช่างสาขาต่างๆ จำนวน 500 คน ให้เดินทางกลับสู่กรุงอโยธยาด้วย เมื่อเดินทางถึงปากน้ำแม่เบี้ย ใกล้แหลมบางกะจะ (บริเวณหน้าวัดพนัญเชิงในปัจจุบัน) พระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าพระนครก่อน เพื่อจัดเตรียมตำหนักซ้ายขวามาต้อนรับพระนางสร้อยดอกหมาก ครั้นรุ่งเช้าก็จัดขบวนต้อนรับโดยให้เสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่มาอัญเชิญพระนางสร้อยดอกหมากเข้าเมือง โดยพระองค์ไม่ได้เสด็จไปด้วย พระนางสร้อยดอกหมากไม่เห็นพระเจ้าสายน้ำผึ้งมารับก็เกิดความน้อยพระทัย จึงไม่ยอมเสด็จขึ้นจากเรือ พร้อมกล่าวว่า “มาด้วยพระองค์โดยยาก เมื่อมาถึงพระราชวังแล้วเป็นไฉนพระองค์จึงไม่มารับ ถ้าพระองค์ไม่เสด็จมารับ ก็จะไม่ไป” เสนาบดีนำความขึ้นกราบทูล พระเจ้าสายน้ำผึ้งคิดว่านางหยอกเล่น จึงกล่าวสัพยอกว่า “เมื่อมาถึงแล้ว จะอยู่ที่นั่นก็ตามใจเถิด” ครั้นรุ่งขึ้น พระเจ้าสายน้ำผึ้งก็เสด็จมารับด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จขึ้นไปบนเรือสำเภา พระนางสร้อยดอกหมากจึงตัดพ้อต่อว่ามากมาย พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงทรงสัพยอกอีกว่า “เมื่อไม่อยากขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด” ฝ่ายพระนางสร้อยดอกหมากได้ฟังดังนั้น เข้าพระทัยผิดคิดว่าตรัสเช่นนั้นจริงๆ ก็เสียพระทัยยิ่งนัก จึงกลั้นพระหฤทัยจนถึงแก่ทิวงคต ณ บนสำเภาเรือพระที่นั่ง ที่ท่าปากน้ำแม่เบี้ยนั่นเอง ยังความโศกสลดพระทัยแก่พระเจ้าสายน้ำผึ้งยิ่งนัก จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพมาพระราชทานเพลิงที่แหลมบางกะจะ และสถาปนาบริเวณนั้นเป็นพระอารามนามว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” หรือ “พแนงเชิง” ซึ่งแปลว่า “พระนางผู้มีแง่งอน” พร้อมทั้งสร้างศาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักนั่นก็คือ ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากนั่นเอง และศาลแห่งนี้ยังถือเป็นเครื่องยืนยันความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างไทย-จีนมาช้านานตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยาจนปัจจุบัน ยังมีการจัดงานสืบสานประเพณีจีน เช่น งานเทกระจาด งานล้างป่าช้าจีน เป็นต้น



ศาลพระนางสร้อยดอกหมากนั้นเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมและศิลปะแบบจีน ป้ายหน้าศาลมีทั้งอักษรไทยและจีน เขียนว่า เปยเหนียง หากแปลแยกจะได้ความว่า หญิงสาวผู้โศกเศร้า แต่หากแปลรวมจะหมายถึง พระแม่ผู้เปี่ยมเมตตา ตัวศาลเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม ชั้นล่างเป็นเจ้าที่ ส่วนชั้น 2 ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งนับถือกันว่าเป็นตัวแทนรูปเคารพของพระนางสร้อยดอกหมาก อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากที่แต่งองค์แบบจีน ชาวจีนให้ความเคารพนับถือมาก แทบทุกคนเมื่อมาปิดทองหลวงพ่อโตในพระวิหารแล้ว จะต้องแวะมาสักการะองค์เจ้าแม่สร้อยดอกหมากด้วย ที่สำคัญศาลแห่งนี้ยังเก็บสมอเรือเก่าแก่ไว้อันหนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นสมอเรือของพระนางสร้อยดอกหมากนั่นเอง ความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของเจ้าแม่สร้อยดอกหมากมีผู้กล่าวขานมาเนิ่นนาน ว่ากันว่าท่านเป็นผู้ถือพระองค์ และมีรักเดียวใจเดียวต่อพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ไม่โปรดให้ผู้ชายเข้าไปแตะต้องพระรูปของท่านไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อหลายสิบปีก่อนเคยมีผู้ชายเข้าไปทำความสะอาดพระรูปเจ้าแม่ ปรากฏว่าเมื่อชายผู้นั้นกลับไปบ้านก็เกิดเจ็บอย่างกะทันหันและถึงแก่ความตายไปโดยไม่รู้สาเหตุ และหากย้อนหลังไปอีกเหตุการณ์เช่นกรณีนี้ก็เคยมีผู้ชายเข้าไปทำความสะอาดพระรูปเจ้าแม่แล้วถึงแก่ความตายถึง 2 คน และเป็นความตายโดยฉับพลันทั้งสิ้น จึงเป็นที่รู้กันว่าเจ้าแม่ไม่ยินดีและไม่ยอมให้ชายคนใดถูกพระวรกายของท่านแม้กระทั่งปัจจุบันนี้ เวลามีงานงิ้วเดือน 9 ของวัดพนัญเชิง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก จะมีการทำพิธีบูชาเจ้าแม่ การแห่เจ้าแม่ออกนอกศาลก็เพียงแต่ใช้วิธีอัญเชิญเอาเฉพาะกระถางธูปออกไปเท่านั้น ในงานนี้จะมีบรรดาคนทรงเจ้าแม่สร้อยดอกหมากมาจากทั่วทุกสารทิศ เล่ากันว่าเมื่อประทับทรงเจ้าแม่สร้อยดอกหมากนั้น ร่างทรงซึ่งปกติจะพูดภาษาจีนไม่ได้เลย ก็กลับกลายเป็นพูดจีนได้อย่างน่าอัศจรรย์ สมัยก่อนเจ้าหน้าที่ประจำศาลเจ้าแม่เป็นคนจีน ฟังภาษาจีนและพูดภาษาจีนได้เล่าว่า เจ้าแม่สร้อยดอกหมากเคยถามหาทรัพย์สมบัติโบราณที่พระองค์นำมาจากเมืองจีนและเคยเก็บรักษาไว้ที่นี่ ตอนนี้เอาไปเก็บเสียที่ไหนแล้ว และที่สำคัญเจ้าหน้าที่ที่ดูแลศาลเคยเห็นเจ้าแม่มาแล้ว ท่านจะแต่งชุดจีนสีขาว พระพักตร์สวยมาก

ปัจจุบันความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ก็ยังคงมีอยู่ ใครมาบนบานขออะไรท่านไม่ว่าจะขอลูก ขอความสำเร็จหรือขอให้มีความรักก็มักจะได้ตามนั้น จนมีผู้นำของมาแก้บนเต็มไปหมด โดยส่วนมากจะบนด้วยสร้อยไข่มุก เครื่องสำอาง สิงโตเชิด และเครื่องสังเวยนานรักเรื่อง “เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก” ยังเป็นตำนานแห่งการสร้างวัดพนัญเชิงวรวิหาร ซึ่งทำให้ต่างมีความเชื่อกันว่า เจ้าแม่สร้อยดอกหมากสามารถดลบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้ได้สมปรารถนาดังที่ขอไว้ได้ทุกเรื่องทุกประการ

ประวัติความเป็นมาของวัดใหญ่ชัยมงคล โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดใหญ่ชัยมงคล



วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย




สมัยกรุงศรีอยุธยา

สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองพระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้ง พ.ศ. 1900 สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดศพเจ้าแก้วและเจ้าไท ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรคขึ้นมาเผา ที่ปลงศพนั้นโปรดให้สถาปนาเป็นพระอาราม นามว่า วัดป่าแก้ว ต่อมาคณะสงฆ์สำนักวัดป่าแก้วที่ได้บวชเรียนมา จากสำนักรัตนมหาเถระในประเทศศรีลังกาคณะสงฆ์นี้ได้เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่ชาวกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทำให้ผู้คนต่างมาบวชเรียนในสำนักสงฆ์คณะป่าแก้วมากขึ้น สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง จึงทรงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์ มีตำแหน่งเป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายคันถธุระ กาลต่อมาเป็นที่พำนักของพระภิกษุคณะป่าแก้ว ซึ่งมี สมเด็จพระวันรัตน์เป็นประธานสงฆ์ จึงได้ชื่อว่า วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว


เรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์ของวัดป่าแก้วมีอยู่ว่า อุโบสถของวัดเคยเป็นที่ซึ่งคณะคิดกำจัดขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์มาประชุมเสี่ยงเทียนอธิษฐาน ครั้งนั้นได้รับผลสำเร็จจึงอัญเชิญพระเฑียรราชาลาผนวช ขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพ.ศ. 2104 ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้นเอง ได้มีพระบรมราชโองการให้เอาสังฆราชวัดป่าแก้วไปสำเร็จโทษ ฐานฝักใฝ่ให้ฤกษ์ยามแก่ฝ่ายกบฏพระศรีศิลป์ พ.ศ. 2135


ในแผ่นดินของพระนเรศวรมหาราช มีเหตุการณ์สำคัญที่ชวนให้เข้าใจว่ามีการสร้างปฏิสังขรณ์เจดีย์ประธานวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ที่ได้ชัยชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่า จึงทำให้เชื่อว่าเป็นที่มาของชื่อวัดใหญ่ชัยมงคล


เจดีย์ชัยมงคลอนุสรณ์แห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรบชนะ มังกะยอชวาพระมหาอุปราชาของหงษาวดี ที่ต.หนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรีในครั้งนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาในขอบขันฑสีมา สมเด็จพระนเรศวรฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถผู้เป็นพระอนุชาจึงได้นำทัพไปรับศึก และได้ขับช้างเข้าไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึกทีคอยระดมยิงปืนเข้าใส่พระและพระคชาธาร โดยที่เหล่าแม่ทัพนายกองวิ่งตามพระองค์มาไม่ทัน พระองค์จึงประกาศด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่าเชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีกษัตริย์ที่จะได้กระทำยุทธหัตถีแล้ว พระมหาอุปราชาของพม่าจึงไสยช้างออกมากระทำยุทธหัตถีด้วยกันในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้พระแสงพลพ่ายฟาดฟันพระมหาอุปราชาขาดตะพายแล่ง


เมื่อกลับมาสู่พระนครแล้ว พระองค์ก็จะลงโทษเหล่าทหารที่ตามไปไม่ทันตอนกระทำศึกยุทธหัตถี ซึ่งตามกฏระเบียบแล้วต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต ช่วงเวลาที่รออาญาสมเด็จพระพันรัตน พระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ 25 รูปได้ขอให้พระนเรศวรพระราชทานอภัยยกเว้นโทษให้กับทหารเหล่านั้น โดยให้เหตุผลว่าพระองค์เปรียบดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แวดล้อมด้วยหมู่มารก่อนที่จะตรัสรู้ เป็นการประกาศเกียรติและบารมีความกล้าหาญและเก่งกาจของพระองค์ให้ขจรกระจายไปทั่วแคว้นทั่วแผ่นดิน สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความมีน้ำพระทัยของพระองค์ ที่มีต่อเหล่าทหารเหล่านั้น และพระะราชทานนามว่า เจดีย์ชัยมงคล ในปี พ.ศ. 2135 มีความสูง 1 เส้น 1 วา เป็นเจดีย์ ที่สูงที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาจนทุกวันนี้


วัดป่าแก้ว หรือวัดเจ้าไท ต้องร้างลงเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2309 อาณาจักรคองบองได้ยกพลมาประชิดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาตรมรินทร์โปรดเกล้า ให้ยกทัพเรือออกจากพระนครไปตั้งอยู่ที่วัดป่าแก้ว แต่ทัพเรือสยามเสียทีข้าศึก พระยาเพชรบุรีถูกสังหาร กองทัพอาณาจักรคองบองบางส่วนได้ยึดเอาวัดป่าแก้วเป็นฐานปฏิบัติการ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310 วัดแห่งนี้จึงได้ร้างลง



ยุคฟื้นฟู

หลังจากที่วัดใหญ่ หรือ วัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท ได้ร้างลงกว่า 400 ปี ได้มีพระภิกษุ สามเณร แม่ชี กลุ่มหนึ่ง โดยการนำของพระฉลวย สุธมฺโม ได้เข้ามาหักร้างถางพงที่รกเรื้อปกปิดอารามอันเก่าแก่แห่งนี้เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมได้ประมาณ 4 ปี ท่านต้องการออกจาริกอีกครั้งจึงได้ไปนิมนต์พระครูภาวนาพิริยคุณ เจ้าอาวาส วัดยม อำเภอบางบาล ให้มาดูแลวัดใหญ่ชัยมงคลต่อ

พระครูภาวนาพิริยคุณ (เปลื้อง วิสฏฺโฐ) ได้นำคณะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และแม่ชี หักร้างถางพง ฟื้นฟูวัดแห่งนี้จนได้รับการยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดราษฎร์ที่มีพระภิกษุจำพรรษา ในปี พ.ศ. 2500 โดยได้ชื่อว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ส่วนพระครูภาวนาพิริยคุณ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนารังสี

ยุคปัจจุบัน

หลังจากที่พระครูภาวนารังสีได้มรณภาพในปี พ.ศ. 2536 พระปลัดแก่น ปุญฺญสมฺปนฺโน หรือปัจจุบันเป็นพระครูพิสุทธิ์บุญสาร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และได้ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และแม่ชี พัฒนาวัดใหญ่ชัยมงคล จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น และสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ ๓

วัดใหญ่ชัยมงคลถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายยุคสมัย และเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมมามาก ด้ววยสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์ที่สูงที่สุดในพระนครศรีอยุธยา ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณ รอบๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วย

เมื่อ พ.ศ. 2557 วัดใหญ่ชัยมงคลได้รับการยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ

ประวัติความเป็นของเจดีย์เอียง โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

www.สลากไทพลัส 

สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของเจดีย์เอียง วัดปรมัยยิกาวาส เกาะเกร็ด เมื่



พระเจดีย์มุเตา หรือ “เจดีย์เอียง” ของวัดปรมัยยิกาวาส ตั้งอยู่บริเวณหัวแหลมของเกาะเกร็ด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คือแลนด์มาร์คสำคัญของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในปัจจุบัน


“เจดีย์เอียง” ข้อมูลจากเว็บไชต์ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ระบุว่า


“พระเจดีย์มุเตา วัดปรมัยยิกาวาส เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่บริเวณหัวแหลมของเกาะเกร็ด เป็นเจดีย์ทรงรามัญสีขาว มีผ้าแดงผูกบนยอดเจดีย์ ซึ่งกล่าวกันว่าผ้าแดง คือ สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมรามัญ เป็นศิลปะแบบมอญแท้คือ พระเจดีย์ทรงมอญแท้เป็นพระเจดีย์จำลองมาจากหงสาวดี ก่อนที่จะถูกพม่าแต่งเติมจนทำให้พระเจดีย์มุเตาองค์เดิมที่เมืองหงสาวดีกลายเป็นเจดีย์ทรงมอญผสมพม่าในปัจจุบัน


พระเจดีย์มุเตา วัดปรมัยยิกาวาสเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานแปดเหลี่ยมย่อมุม ยอดเจดีย์มีฉัตรทรงเครื่อง 5 ชั้น อย่างมอญ สูง 1 วา ตั้งอยู่หัวมุมเกาะเกร็ด ทางราชการโดยกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2478


พระเจดีย์มุเตาสร้างโดยชาวมอญที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ปลายกรุงศรีอยุธยา อายุราว 300 ปี ภายในบรรจุพระธาตุเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยเชื้อสายมอญ เดิมเป็นเจดีย์ที่สร้างตั้งตรง ต่อมาน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงทำให้เจดีย์ทรุดตัวและเอียงลงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2434



ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างเขื่อนไม้และเขื่อนปูน แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ได้รับงบประมาณจากกรมการศาสนาและได้มีผู้มีจิตศรัทธา ได้ซ่อมแซมเขื่อนคอนกรีตถาวร ปัจจุบันได้เสริมความแข็งแรงและยึดฐานไว้อย่างแน่นหนา กรมศิลปากรอนุญาตให้ซ่อมตัวพระเจดีย์เชิงอนุรักษ์ในสภาพเอียงไว้ พระเจดีย์มุเตาหรือเรียกกันว่าเจดีย์เอียงองค์นี้ จึงเป็นสัญลักษณ์ของเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก”



พระเจดีย์มุเตา หรือ “เจดีย์เอียง” ในปัจจุบัน

ถ้าดูตามข้อมูลที่ระบุว่าเจดีย์ทรุดตัวและเอียงลงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2434 นั้น น่าจะต้องเปลี่ยนแปลงเวลาใหม่ เพราะพบว่าในปี พ.ศ. 2438 หนังสือพิมพ์ฝรั่งได้ลงพิมพ์ภาพลายเส้นเจดีย์องค์นี้ในสภาพไม่เอียง


ภาพลายเส้นที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฝรั่ง เมื่อปี  ค.ศ. 1895 (พ.ศ. 2438) ร่วมสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นลายเส้นเจดีย์มอญและประภาคารขนาดเล็กริมแม่น้ำ ใต้ภาพระบุว่า “BANG PAIN LIGHT-HOUSE.” ลายเส้นนี้อยู่รวมกับภาพลายเส้นพระราชวังบางปะอิน ซึ่งน่าจะเป็นเจดีย์มอญริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่วัดปรมัยยิกาวาส เพราะสถานที่ตั้งใช่ เพียงแต่เจดีย์ยังไม่เอียง





ลายเส้นเจดีย์มอญในหนังสือพิมพ์ฝรั่งร่วมสมัยรัชกาลที่ 5

ส่วนประภาคารขนาดเล็กนั้นคงสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินเรือสำหรับการนำทางในแม่น้ำเจ้าพระยา หรือใช้ระบุจุดบริเวณหัวแหลมของเกาะเกร็ดเพื่อความปลอดภัยของเรือจะได้ไม่ชนเกาะ


ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ยังคงมีหลักฐานตัวอาคารประภาคารอยู่ ประภาคารหลังนี้ตั้งอยู่ท้ายเกาะวัดนิเวศธรรมประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2420 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนที่สัญจรไปมาทางเรือ และเพื่ออำนวยความสะดวกในการเสด็จประพาสทางชลมารค ปัจจุบันประภาคารดังกล่าวได้เลิกใช้แล้ว เนื่องจากกิจการเดินเรือในแม่น้ำหมดความสำคัญลง ส่วนประภาคารขนาดเล็กที่เกาะเกร็ดก็คงหมดความสำคัญและถูกรื้อในที่สุดนั้นเอง


ส่วนภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพพระเจดีย์มุเตา หรือ “เจดีย์เอียง ของวัดปรมัยยิกาวาสที่ยังมิได้เอียงภาพนี้น่าจะเป็นต้นฉบับในการเขียนลายเส้นเพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฝรั่งร่วมสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นแน่นอน และถ่ายโดยชาวต่างชาติ ซึ่งควรถ่ายก่อนปี พ.ศ. 2438 ที่จะตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของวัดไร่ขิง รายงานโดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

 สลากไทพลัส จะมาเสนอวัดไร่ขิง วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 โดยพระธรรมราชานุวัตร ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี 



วัดไร่ขิง เป็นวัดสำคัญตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน (เรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย "สมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก)" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533


ประวัติ

คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี (ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาสมศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)) ในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) มรณภาพเมื่อปี วอก พ.ศ. 2427 รวมสิริอายุ 91 ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา พ.ศ. 2428 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุพิเศษวัดศาลาปูน ดังนั้น งานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน” [1] แต่ไม่ทราบว่าท่านกลับมาปฏิสังขรณ์วัดเมื่อใดหรือท่านอาจจะมาในปี พ.ศ. 2453 ตอนที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ 75 ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ต่อจากสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) อย่างไรก็ตาม ในการปฏิสังขรณ์วัดไร่ขิงในสมัยท่านอยู่ประมาณปี พ.ศ. 2427 หรือ 2453 เป็นต้นมา


สำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและชาวจีนที่มาปลูกบ้านอาศัยในบริเวณดังกล่าวก็นิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า “ไร่ขิง” นั่นเอง ต่อมาเมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า “วัดไร่ขิง”


ในราวปี พ.ศ. 2446 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน สมเด็จฯ ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง และทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดมงคลจินดาราม” ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจีนทำให้วงเล็บหายไป คงเหลือเพียงคำว่า “ไร่ขิง” ต่อท้ายคำว่า “มงคลจินดาราม” จึงต้องเขียนว่า “วัดมงคลจินดาราม-ไร่ขิง” แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า “วัดไร่ขิง” สืบมาจนทุกวันนี้



วัดไร่ขิง พระอารามหลวง

องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่บนฐานอยู่บนฐานชุกชี 5 ชั้น เบื้องหน้าผ้าทิพย์ปูทอดลงมาองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในอุโบสถ หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมากรณ์ เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดีจึงมีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกัน ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพ สู่ปะรำพิธีได้เกิดอัศจรรย์แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์ก็บังเกิดมีเมฆดำมืดทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนอง และบันดาลให้มีฝนโปรยลงมาทำให้เกิดความเย็นฉ่ำและเกิดความปิติ ยินดีกันโดยทั่วหน้า ประชาชนที่มาต่างก็พากันตั้งจิตรอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่า “หลวงพ่อจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหารฉะนั้น” ดังนั้น วันดังกล่าวที่ตรงกับวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ตำนานหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้นจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา หรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีหลายตำนาน ดังนี้



ตำนานที่ 1 ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ชาวเมืองนครชัยศรี ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน ได้เข้าไปในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลังจากกราบพระประธานแล้ว มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป จึงบอกให้ท่านเจ้าอาวาสพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญมาจากวัดศาลาปูนฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 วันสงกรานต์พอดี

ตำนานที่ 2 วัดไร่ขิงสร้างเมื่อปีกุน พุทธศักราช 2394 ตรงกับปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 3 ต้นปี ในรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ "พระธรรมราชานุวัตร" ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของตนที่ไร่ขิง เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูป

สำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า ( จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) มาเพื่อประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถแต่การสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน ส่วนงานที่เหลืออยู่พระธรรมราชานุวัตร(อาจ จนฺทโชโต) หลานชายของท่านจึงดำเนินงานต่อจนเรียบร้อย และบูรณะดูแลมาโดยตลอดจนถึงแก่มรณภาพ


ตำนานที่ 3 ตามตำนานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับมีพระพุทธรูปลอยน้ำมา 5 องค์ก็มี 3 องค์ก็มีโดยเฉพาะในเรื่องที่เล่าว่ามี 5 องค์นั้น ตรงกับคำว่า " ปัญจภาคี ปาฏิหาริยกสินธุ์โน " ซึ่งได้มีการเล่าเป็นนิทานว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมากได้พร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ แม้จะตายไปแล้ว ก็จะขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้ได้พ้นทุกข์ต่อไปจนกว่าจะถึงพระนิพานครั้งพระอริยบุคคลทั้ง 5 องค์ ได้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าไปสถิตในพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์จะมีความปรารถนาที่จะช่วยคนทางเมืองใต้ที่อยู่ติดแม่น้ำให้ได้พ้นทุกข์ จึงได้พากันลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง 5 สาย เมื่อชาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้า จึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ มีดังนี้

พระพุทธรูปองค์ที่ 1 ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกง ขึ้นสถิตที่วัดโสธรวรวิหาร เมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร"

พระพุทธรูปองค์ที่ 2 ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน) ขึ้นสถิตที่วัดไร่ขิง เมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"

พระพุทธรูปองค์ที่ 3 ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสถิตที่วัดบางพลี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดบางพลี" แต่บางตำนานก็ว่า หลวงพ่อวัดบางพลีเป็นองค์แรกในจำนวน 5 องค์ จึงเรียกว่า "หลวงพ่อโตวัดบางพลี "

พระพุทธรูปองค์ที่ 4 ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นสถิตที่วัดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"

พระพุทธรูปองค์ที่ 5 ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเคราเมืองเพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

ส่วนตำนานของเมืองนครปฐมนั้นเล่าว่า มีพระ 3 องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า "บางพระ" พระพุทธรูป 3 องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า "สามประทวน" หรือ "สัมปทวน" แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า "บ้านลานตากฟ้า" และ "บ้านตากแดด" ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ วัดไร่ขิงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ส่วนองค์ที่ 2 ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" และองค์ที่ 3 ลอยตามน้ำไปตามจังหวัดเพชรบุรี แล้วขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

ความเป็นของเขาคิชฌกูฏ รายงานโดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส


สลากไทยพลัส   จะมาเสนอเขาคิชฌกูฏและศาลาไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 9 องค์ 




 ยอด "เขาคิชฌกูฏ" ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เขาคิชฌกูฏ ที่จังหวัดจันทบุรี เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ "รอยพระพุทธบาท" มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม. 

ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏ

 ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเป็นยอดเขาที่มีแนวเขาล้อมโดยรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่พุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย

โดยสภาพภูมิประเทศคล้ายคลึงและบนยอดเขามีสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ คือ รอยพระพุทธบาท และหินลูกบาตร ที่ตั้งข้างรอยพระพุทธบาท อยู่ในลักษณะคล้ายลอยอยู่ริมลานพระพุทธบาทฝั่งตรงข้ามหินลูกบาตรมีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้ และในหินก้อนนี้ ตรงข้ามกันรอยพระหัตถ์ มีรูปรอยเท้าใหญ่ (รอยเท้าพญามาร) ใต้พระบาทมีถ้ำตาฤาษี

จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า "เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็รสิริมงคลแก่ผู้นั้นตลอดไป"

แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานให้ดี ปราถนาสิ่งใดที่ดีที่ชอบขอได้ตามความพอใจ กลับไปจะมีแต่ความปลอดภัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและเทพยดาที่รักษารอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จะอำนวยอวยพรให้ท่านได้รับแต่ความสขตามสมบูรณ์พูลผล ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป

ซึ่งผู้อยากจะขึ้นไปสักการะบูชาสิงศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขานั้นจะต้องมีจิตศรัทธาที่แรงกล้า เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาอีกราว 3 กม. ท่ามกลางผู้คนที่มีศรัทธาเดียวกันมากมายที่เบียดเสียด เพราะการจะขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฏ จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี หรือช่วงช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม - เดือนมีนาคม (ในปี 2565 นี้ คือระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 1 เมษายน 2565) หรือแค่ประมาณ 2 เดือนต่อปีเท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากพุทธศาสนิกชนมากมายจากหลายที่ต่างถิ่น จะพร้อมใจกันมาสักการะบูชาแผ่นหินซึ่งเชื่อว่าประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จะได้อานิสงส์แรงกล้า เปรียบได้กับการได้เข้าเฝ้าองค์พระศาสดาถือเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่

ปัจจุบันได้มีการจัดเดินป่าขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปสักการะบูชารอยพระพุทธบาทจนกลายเป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญสูง และเป็นการฝึกจิตใจให้มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก...ในอดีตจะเป็นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขา แต่ในปัจจุบันมีรถบริการให้ประชาชน ได้เดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น 


เรื่องเล่าความลี้ลับของผู้ที่หลบหลู่ความศักดิ์สิทธิ์ของเขาคิชฌกูฏ ที่จังหวัดจันทบุรี

พระครูธรรมสรคุณ (ท่านพ่อเขียน) เล่าว่า "พวกที่ไปด้วยไม่ศรัทธาจะถูกรุกขเทวดาที่ปกปักรักษารอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏลงโทษบ่อย ๆ ทุกปี" ดังกรณี ปี 2513  มีชนศาสนาอื่นมาจากจังหวัดระยองขึ้นเขาพระบาทเพื่อไปเที่ยวสนุกกับเพื่อน เพื่อนๆพากันนมัสการรอยพระพุทธบาท แต่เขาไม่และหัวเราะเยาะเพื่อนว่า หลงไปกราบหิน กราบรอยอะไรก็ไม่รู้ และไม่ถอดรองเท้าเมื่อเข้าไปลานพระพุทธบาท เขารู้สึกง่วงไปนอนบนลานหินทางทิศใต้ของรอยพระพุทธบาทและหลับไป และผันว่าวิ่งลงมาจากที่สูงแต่ที่จริงใช้หลังวิ่งกลิ้งลงไป หัวกระแทกหินแตกหลายแผล สลบไปหลายชั่วโมง

อีกรายหญิงสาววัยรุ่นไม่เคารพปูชนียสถานเข้าไปลานพระพุทธบาทโดยไม่ถอดรองเท้า ขณะนั้นเองค์เทวดาที่รักษาองค์พระพุทธบาท บัลดาลให้ลมพัดอย่างแรง พัดพาร่างหญิงสาวปลิว ทรงกายไม่อยู่เสียหลักไปชนหินสลบไป

สองกรณีเป็นเรื่องเกิดขึ้นนานแล้ว แต่ยังมีผู้ไม่รู้และไม่ศรัทธายังลบหลู่ปูชนียสถาน นึกว่าเป็น "ที่ท่องเที่ยว" ขึ้นไปลานพระพุทธบาทเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งทำให้เกิดผลร้ายอยู่เนื่องๆ ขึ้นไปถึงลานพระพุทธบาทจงทำแต่ความดีทั้งกายใจและจิตส่งกระแสไปยังพระพุทธองค์อุปมาเหมือนท่านยังทรงมีชีวิต ประทับอยู่ต่อหน้าผู้ไปนมัสการ 




ข้อปฏิบัติในการเดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏ

ไหว้พระบาทจำลอง ที่ต้นศรีมหาโพธิ์

ขึ้นศาลาไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 9 องค์ ปิดทองรูปใด ขอพรขอบารมีรูปนั้นให้ครบ 9 ครั้ง

จุดเทียนธูป หน้าห้องกระจก ตั้งสัจจะขอในสิ่งที่เราต้องการต่อหน้าสังขาร พระครูพุทธบทบริบาร (หลวงพ่อนัง)

ประพรมน้ำพุทธมนต์ ให้เป็นสิริมงคลก่อนขึ้นเขา

ตั้งสัจจะ ขอที่พระอภิบาลมงคลพุทธไสยาสน์

จุดเปลี่ยนรถที่ 1 ไหว้เจดีย์กลางเขา เจ้าแม่กวนอิม, พระพรหม, พระพิฆเนศวร, แม่โพสพ, บาตรแห่งมหาโชคลาภ

เปลี่ยนรถที่ 2 ไหว้พระสิวลี พระแม่ธรณีบีบมวยผมพระนอน, พระมาลัย

ท้าวเวสสุวรรณ, ท้าวพิเภก, พระพิฆเนศวร, แม่ธรณีบีบมวยผม แล้วเคาะระฆัง 2 ข้างทาง

สิ่งมหัศจรรย์ รอยเสือใหญ่, รอยกวางทอง, พระศิวะ, พระนาคปรก

จุดพักขึ้นประตูสวรรค์ ไหว้พระป่าเรไร, ถวายสังฆทาน, ไหว้พระพรหม แล้วเคาะระฆังขึ้นสวรรค์

ไหว้หมอชีวกโกมารภัทร, ฆ้อง, ธรรมจักร, นมัสการรอยพระบาท, เจ้าแม่กวนอิม, ท้าวมหาพรหมวิหาร(กองอำนวยการ)

ลานอินทร์ เป็นลานที่พระอินทร์ลงมาประทับที่สถานที่แห่งนี้ เลยนำรูปท่านมาประดิษฐานไว้ที่นี่ และมีผู้อธิษฐานขอแล้วประสบความสำเร็จในเรื่องเนื้อคู่, ที่อยู่อาศัย, ไหว้เทพเทวดา, สักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ, พระปิยมหาราช, สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (พรหมรังษี) ด้านข้างเป็นจุดชมวิวสวยงามมากเป็นหุบเขาที่เขียวชอุ่ม มีเขื่อนเก็บน้ำ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์

นมัสการพระสิวลี, พระพิฆเนศวร

ปิดทอง ขอพรจากลูกแก้วสารพัดนึก

สักการะบาตรพระอานนท์ (บาตรใหญ่) ลานบายศรี เป็นที่บูชาเทพ

สักการะบาตรพระสิวลี บาตรแห่งความร่ำรวย

ไหว้แม่นางตะเคียน ให้โชคให้ลาภ

ลานพรหมบรรทม เป็นสถานที่พระพรหมบรรทม ควรไหว้พระและสวดมนต์บูชาพระพรหมบาตรพระโมคคัลลานะ อยู่ใกล้กับลานพรหมบรรทม

บาตรพระสารีบุตร และผ้าแดง เป็นสถานที่เดียวกับผ้าแดง ให้เขียนชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่บนผ้าแดงแล้วอธิษฐานจิตตามปรารถนาค่ะ




ความเป็นมาของวัดชลอ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะมาเสนอประวัติวัดชลอและเรือเรือสุพรรณหงส์สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราว พ.ศ.2275 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 




เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์สีทองอร่ามที่ลอยลำอย่างสง่างามกลางลำน้ำเจ้าพระยา เป็นภาพที่คนไทยกำลังจะได้เห็นอีกครั้งในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562


เมื่อเห็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์อันงดงามนี้แล้ว ทำให้นึกถึงไปถึง “โบสถ์เรือสุพรรณหงส์” ซึ่งตั้งอยู่ที่ “วัดชลอ" ในตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีความงามแปลกแตกต่างไปจากวัดอื่นๆ อย่างน่าชม

วัดชลอ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราว พ.ศ.2275 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตัววัดตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย หรือเดิมเรียกว่าคลองลัดบางกรวย ซึ่งขุดขึ้นใน พ.ศ. 2081 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา

มีตำนานเล่าถึงการสร้างวัดว่า เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคผ่านคลองลัดบางกรวย ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าบริเวณนี้น่าจะสร้างวัดขึ้นมาสักวัดหนึ่ง เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน แต่เนื่องจากที่บริเวณนี้เป็นคุ้งน้ำเชี่ยว ในอดีตเคยมีเรือสำเภาล่มและมีคนจมน้ำตายเป็นอันมาก รวมถึงการก่อสร้างก็เป็นไปอย่างยากลำบากเพราะอุปสรรคมากมาย แม้เมื่อสร้างเสร็จก็เกิดฟ้าผ่าลงกลางโบสถ์

ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้มีพระสุบินนิมิตไปว่ามีชายชราชาวจีนมากราบทูลขอให้พระองค์ทรงปลดปล่อยดวงวิญญาณของพวกตนที่ตายเพราะเรือล่ม โดยชายชาวจีนคนนั้นได้กล่าวว่าอยากให้พระองค์สร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา ต่อมาเมื่อโบสถ์นี้สร้างเสร็จก็ไม่เกิดเหตุอาเพศใดๆ อีก ส่วนชื่อวัดพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็ได้พระราชทานนามว่า “วัดชลอ"

ที่เล่ามานั้นก็เป็นตำนานการสร้างวัด แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วก็สอดคล้องกัน เพราะวัดชลอตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยตอนเหนือที่เชื่อมต่อกับคลองอ้อมนนท์และคลองบางกรวย (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม) เป็นโค้งน้ำที่น้ำไหลเชี่ยวจึงมักมีอุบัติเหตุอยู่เสมอ ภายหลังจึงมีการสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นจุดสังเกตให้คนเรือได้ลดความเร็วและใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นเมื่อเดินเรือมาถึงบริเวณนี้ ส่วนอุโบสถเก่าแก่ของวัดนั้นก็เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ฐานอาคารโบสถ์แอ่นโค้งแบบที่เรียกว่า “ตกท้องสำเภา” ซึ่งเป็นงานที่นิยมสร้างในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยานั่นเอง




ปัจจุบันวัดชลอยังคงรักษาอุโบสถหลังเก่าไว้เป็นอย่างดี ตัวโบสถ์มีขนาดเล็ก ตั้งอยู่ใกล้กับคลองบางกอกน้อย มีหลักฐานว่าตัวอุโบสถได้รับการบูรณะต่อมาภายหลังโดยดูจากเสาขนาดใหญ่ทางตอนหน้าของโบสถ์ที่เป็นลักษณะซึ่งพบเห็นในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเข้าไปด้านในจะพบพระพุทธรูปงดงามสามารถเข้าไปสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลได้

สำหรับ “อุโบสถเรือสุพรรณหงส์” ที่ลอยสง่างามอยู่ภายในวัดเห็นโดดเด่นแต่ไกลนั้นเป็นอุโบสถหลังใหม่ที่ริเริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี 2526 โดยดำริของพระครูนนทปัญญาวิมล (หลวงพ่อสุเทพ) อดีตเจ้าอาวาสวัดชะลอ ผู้ซึ่งมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคไซนัส อีกทั้งท่านยังเป็นผู้พัฒนาวัดชลอจากวัดเก่าทรุดโทรมให้มีความเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน

พระครูนนทปัญญาวิมลได้มีนิมิตเห็นเรือหงส์ลอยมาอยู่หน้าอุโบสถหลังเก่าที่ท่านจำพรรษาอยู่ จึงเป็นมูลเหตุให้ท่านมีความคิดอยากจะสร้างเรือสุพรรณหงส์ขึ้น แต่เมื่อคิดถึงประโยชน์ใช้สอยแล้วหากสร้างแต่เรืออย่างเดียวอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ ท่านจึงคิดสร้างโบสถ์ไว้บนลำเรือสุพรรณหงส์ก็จะได้ใช้ประโยชน์ทางพุทธศาสนา ท่านจึงให้บรรดาลูกศิษย์ออกแบบก่อสร้างในปี 2525

การก่อสร้างเริ่มในราว พ.ศ.2526 และดำเนินงานต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนเมื่อช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจช่วงปี 2540 การก่อสร้างจึงหยุดชะงักไป จนบัดนี้ตัวโบสถ์สุพรรณหงส์ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี แต่ก็คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 85 ได้เห็นความงดงามของเรือสุพรรณหงส์ที่โดดเด่นได้สัดส่วน ยังคงเหลือรายละเอียดเกี่ยวกับการตกแต่ง ติดกระจกสี ลงรักปิดทอง เป็นต้น





เราสามารถเดินขึ้นไปบนตัวเรือเพื่อชมสิ่งก่อสร้างด้านบน และสามารถเข้าไปยังพระอุโบสถกลางลำเรือเพื่อเข้าไปกราบหลวงพ่อดำ พระประธานในอุโบสถหลังใหม่ด้านในได้ หากไหว้พระแล้วใครมีความประสงค์จะร่วมทำบุญสมทบทุนการก่อสร้างโบสถ์สุพรรณหงส์ที่ดำเนินการก่อสร้างมากว่า 40 ปีให้แล้วเสร็จสมบูรณ์โดยเร็วก็สามารถทำบุญกันได้ตามศรัทธา

เรื่องน่าสนใจของวัดชลอยังไม่หมดเพียงเท่านี้ หากเดินไปทางริมคลองบางกอกน้อยบริเวณสะพานข้ามคลองจะได้เห็น “ศาลเจ้าแม่บัวลอย" อันเป็นอีกหนึ่งตำนานเล่าขานของวัดชลอมานมนาน โดยมีเรื่องเล่ากันว่า มีผู้หญิงท้องแก่ชื่อแม่บัวลอยพายเรือขายขนมในคลองบางกอกน้อย แต่เกิดอุบัติเหตุเรือคว่ำเสียชีวิต ร่ำลือกันว่าวิญญาณของแม่บัวลอยเฮี้ยนมากจนไม่มีใครกล้าพายเรือกลางค่ำกลางคืน

จนต่อมาอดีตเจ้าอาวาสวัดชลอได้นำโครงกระดูกของแม่บัวลอยมาไว้ที่วัด และภายหลังมีการสร้างศาลให้คนได้บูชา เล่ากันว่าแม่บัวลอยให้หวยแม่นมากจนเป็นที่เลื่องลือ แม่นขนาดที่ว่าเจ้ามือหวยต้องส่งคนมาขโมยโครงกระดูกไปเสีย ภายหลังจากนั้นเรื่องราวของแม่บัวลอยจึงซาไป

เรื่องราวเหล่านี้เป็นที่เล่าขานโด่งดังจนมีผู้นำไปแต่งเป็นเพลง "บางกอกน้อย" โดยครูเพลงชัยชนะ บุญนะโชติ เล่าเรื่องราวของแม่บัวลอยผ่านเนื้อเพลงได้อย่างไพเราะจับใจ ใครยังไม่เคยฟังต้องลองไปหามาฟังกันให้ได้





ความเป็นมาของวัดบางพระ หลวงพ่อเปิ่น โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

    

สลากไทพลัส ได้รวบรวมประวัติของวัดบางพระ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาประมาณปี 2220 มีพระอุโบสถอายุ 300 กว่าปี



 


วัดบางพระ ชื่อเดิมคือ วัดปากคลองบางพระ สังกัดมหานิกายอยู่ในการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ใกล้ๆกับลานจอดรถ มีพระอุโบสถอายุ 300 กว่าปี แต่ไม่สามารถเข้าไปได้ น่าจะอยู่ในช่วงซ่อมแซม

มีนักท่องเที่ยวมากราบไหว้เป็นจำนวนมาก และมีการเช่าบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันอย่างล้นหลามวัดชื่อดังย่านนครชัยศรี

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเล่าเรื่องราวในพระพุทธศาสนาเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับอดีตองค์พระพุทธเจ้า ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยการเขียนทับ พื้นเบื้องหลังใช้สีอ่อนมีดอกไม้ร่วงอันเป็นคติของอยุธยา จุดเด่นของภาพคือ ภาพมารผจญ เป็นภาพที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนิ่งบนดอกบัวแก้วแม่ธรณีบีบมวยผมเป็นภาพในช่วงอยุธยาคะ

วัดบางพระ เป็นวัดสังกัดมหานิกายในหมู่ที่ 3 บ้านท่ามะดัน ตำบลบางแก้วฟ้า




วัดหลวงพ่อเปิ่น

วัดบางพระเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาประมาณปี 2220

วัดนี้เป็นที้รู้จักและน่าจะโด่งดังไปทั่วประเทศ เพราะหลวงพ่อเปิ่น พระเกจิชื่อดังซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก ถึงขนาดแม้ปัจจุบันซึ่งท่านมรณะภาพไปแล้ว แต่ทุกๆปีที้มีการจัดงานไหว้ครู ก็จะมีคนจำนวนมากมาร่วมพิธี และในพิธีก็มักจะมีเหตุการณ์ของขึ้นต่างๆนาๆ มาเผยแพร่ให้เห็นกันอยู่เป็นประจำดูเพิ่มเติม





ไหว้พระ ทำบุญ, เที่ยวตลาดน้ำ

เที่ยวทั่วไทยไปนำกัน พ่าทุกท่านมาไหว้พระขอพร ที่ "วัดบางพระ-วัดหลวงพ่อเปิ่น" เป็นวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เที่ยวทั่วไทยไปนำกันได้มีโอกาสมาขอพรไหว้พระ ณ สถานที่แห่งนี้หลายครั้ง ได้เห็นความเลื่อมในศรัทธาที่ชาวพุทธมาไหว้พระขอพรจำนวนมาก " วัดบางพระ" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า"วัดหลวงพ่อเปิ่น" เป็นวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องตำนานสักยันต์ นะหน้าทอง สาริการลิ้นทอง โดยมีงานไหว...อ่านต่อ





ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...