กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นกำแพงเมืองที่เคยปกป้องเมืองนครศรีธรรมราชจากข้าศึก เป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัด เป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ความแข็งแกร่ง ความเจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่ให้ แข็งแรงและสวยงาม เพื่อพัฒนาเป็นอีก 1 สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีที่ตั้งอยู่ หลายจุดด้วยกัน แต่ที่เหลือให้ชม คือ กำแพงเมืองด้านทิศเหนือ อยู่ริมคลองหน้าเมือง ถนนมุมป้อม ความแข็งแกร่งความ เจริญรุ่งเรือง
และประวัติศาสตร์อันยาวนาน กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ริมคลอง หน้าเมือง ถนน มุมป้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การสร้างปรากฏหลักฐาน จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่ หาด ทรายแก้ว แล้วจึงสร้างกำแพง เมืองเป็นกำแพงดิน มีคูล้อมรอบสันนิษฐานว่า มีการบูรณะกำแพง เมืองส่วนต่าง ๆ กันมาหลายครั้งทุกครั้ง คงพยายามรักษา แนวกำแพงเดิมไว้
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
ประวัติความเป็นมา กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
กำแพงเมืองที่เห็นในปัจจุบันนี้คือส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองเก่าซึ่งได้รับการบูรณะเพิ่มเติมในปีพ.ศ.2530มีแนวกำแพงเมืองขนานไปกับคูเมืองตั้งแต่ประตูชัยเหนือไปทางตะวันออกยาวประมาณ 100 เมตรกำแพงเมืองเดิมก่ออิฐถือปูนทั้งสี่ด้านมีเชิงเทิน ใบเสมามุมกำแพงทั้งสี่ด้านมีป้อมมุมละป้อมกำแพงทางด้านเหนือและด้านใต้มีประตูเมืองด้านละหนึ่งประตูคือประตูชัยเหนือ หรือประตูชัยศักดิ์ และทางด้านใต้ คือ ประตูชัยให้หรือประตูชัยสิทธิ์ ขนาดของเมืองวัดตามกำแพงเมืองยาว 2238.50 เมตร กว้าง456.50 เมตรถัดออกจากแนวกำแพงเมืองเป็นคูเมือง โดยคูเมืองด้านทิศเหนือคือคลองน้อย (หรือคลองหน้าเมืองในปัจจุบัน)
ซึ่งขุดไปออกอ่าวไทย กำแพงเมือง ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช กล่าว สร้างหลังจากที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราช อพยพผู้คนหนีไข้ห่างมา ตั้งเมืองที่หาดทรายแก้ว แล้วโปรดให้สร้างขึ้นและได้รับการซ่อมแซมมา โดยลำดับ เช่นในครั้งที่พระราเมศวรได้เสด็จตีล้านนา เมื่อพ.ศ.1950 กำแพงเมืองได้รับการซ่อมแซม โดยชาวล้านนา ต่อมาในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อปี พ.ศ.2230 มีการซ่อมแซมกำแพงเมืองครั้งใหญ่ โดยสร้างป้อมปราการแบบ Chateau ซึ่งสามารถป้องกันปืนใหญ่ แบบตะวันตก ได้และกำแพงเมืองที่เหลือในปัจจุบันที่สร้าง โดยสมัยนั้น และสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ราวปี พ.ศ. 2327 ได้มีการซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง โดยพระยานครศรีธรรมราช (พัด) และได้รับการบูรณเพิ่มเติมขึ้นในอีกปี พ.ศ.2533 เป็นครั้งสุดท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติม
ที่ตั้ง : บริเวณสวนศรีธรรมโศกราช และฝั่งตรงข้าม
ติดต่อ : นายอภิรักษ์ เจ๋เหลา (นักโบราณคดี)
อ้างอิง Thailandtourismdirectory
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น