‘ขนมไหว้พระจันทร์’ แต่ละไส้ สื่อ ความหมาย ถึงอะไร
ไทยพลัสนิวส์ ไส้ของขนมไหว้พระจันทร์ ที่เป็นสิริมงคล สำหรับไหว้ รับประทาน หรือมอบให้แก่กัน ใน วันไหว้พระจันทร์
วันไหว้พระจันทร์ 2566 ตรงกับวันศุกร์ที่ 29 ก.ย. 2566 ซึ่งเทศกาล ไหว้พระจันทร์ ของทุกปี ทุก ๆ ครัวเรือนจะซื้อ ขนมไหว้พระจันทร์ มาไหว้พระจันทร์ พร้อมกับการชมพระจันทร์ จนกลายเป็นประเพณีของจีนมาโดยตลอด ขนมไหว้พระจันทร์ จึงนับเป็นสิ่งสำคัญในคืน วันไหว้พระจันทร์ ซึ่งเดิมที ขนมไหว้พระจันทร์ จะมีไส้ให้เลือกรับประทานกันได้ไม่มากนัก แต่ปัจจุบันมีการปรับสูตรเป็นไส้ต่าง ๆ มากมาย แต่รู้หรือไม่ว่า ไส้ของขนมไหว้พระจันทร์ทุกชิ้นนั้น ล้วนมีความหมายมงคลที่แตกต่างกันออกไป วันนี้จะพาไปดูกันว่า แต่ละไส้นั้นสื่อความหมายอย่างไรกันบ้าง
เทศกาล ไหว้พระจันทร์ มีชื่อทางการภาษาจีนว่า “จงชิวเจี๋ย” หรือ “ตงชิวโจ็ยะ” ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึง กึ่งกลางฤดูสารท จึงเรียกกันว่าเทศกาล “ปาเย่ว์ปั้น” แปลว่า “กลางเดือนแปด” หรือ “ปาเย่ว์เจี๋ย” หรือ “เทศกาลเดือนแปด” วันไหว้พระจันทร์ นี้ จึงถือเป็นหนึ่งวันสำคัญประจำปีตามธรรมเนียมของชาวจีนอีกวันหนึ่ง
ไทยพลัสนิวส์ ไส้ของขนมไหว้พระจันทร์
เพื่อเป็นการฉลอง และรำลึกการกอบกู้แผ่นดินที่ประสบความสำเร็จ ประเพณีรับประทาน ขนมไหว้พระจันทร์ ใน วันไหว้พระจันทร์ จึงมีการสืบทอดกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าแห่งหนใดที่มีชาวจีนเดินทางไปถึง ก็จะพาประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ ไปด้วย
ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ไข่แดง สื่อ ความหมาย ถึง ความอุดมสมบูรณ์ ก่อเกิดความโชคดี
ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ไหงวยิ้ง หรือ ธัญพืช เป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ และความอุดมสมบูรณ์
ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ลูกพลัม หรือ ลูกพรุน เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและความหวัง
ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ทุเรียน สื่อ ความหมายถึง ความฉลาดหลักแหลม เข้มแข็ง
ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ทุเรียนไข่เค็ม เป็นสัญลักษณ์ของความรักและความอุดมสมบูรณ์
ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้เกาลัด สื่อ ความหมาย ถึงลูกชาย และสิ่งอันเป็นที่รัก
ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ถั่วแดง สื่อ ความหมาย ถึงการเพิ่มพูนความกล้าหาญ
ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้พุทราจีน สื่อ ความหมาย ถึงความเจริญรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์
ข้อมูลจาก คมชัดลึกออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น