วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566

ไทยพลัสนิวส์ ขนมไหว้พระจันทร์

 ‘ขนมไหว้พระจันทร์’ มีที่มาอย่างไร ทำไมกลายเป็นสัญลักษณ์ วันไหว้พระจันทร์
ไทยพลัสนิวส์ ขนมไหว้พระจันทร์ สัญลักษณ์สำคัญวัน ไหว้พระจันทร์ ในคืนวันเพ็ญในเดือน 8 ตามปฏิทินจีนซึ่งปี 2566 นี้จะตรงกับวันที่ 29 ก.ย. 2566




อีกไม่กี่วัน เทศกาล ไหว้พระจันทร์ ใกล้จะเวียนมาถึงอีกครั้ง ในคืนวันเพ็ญในเดือน 8 ตามปฏิทินจีน ซึ่ง วันไหว้พระจันทร์ 2566 นี้จะตรงกับวันที่ 29 กันยายน และทุกครั้งเมื่อใกล้ถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ทุกคนก็คงจะนึกถึง “ขนมไหว้พระจันทร์” ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเทศกาลสำคัญนี้ไปแล้ว

“ขนมไหว้พระจันทร์” เป็นของที่ใช้สำหรับเซ่นไหว้ดวงจันทร์ ลักษณะของขนมมีทรงกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้งนวด แล้วกดใส่แป้นพิมพ์ที่มีลวดลายต่าง ๆ จากนั้นนำไปอบ และเคลือบผิวหน้าด้วยน้ำเชื่อม ด้านในใส่เป็นไส้ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธัญพืช อาทิ ทุเรียน เมล็ดบัว แมคคาเดเมีย พุทราจีน เกาลัด เป็นต้น ไทยพลัสนิวส์




“ขนมไหว้พระจันทร์” มีที่มาอย่างไร

ในยุคปลายราชวงศ์หยวน ที่ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่โดยชาวมองโกล ชาวฮั่นเมื่อต้องการจะก่อกบฏต่อต้าน ด้วยการแอบสอดสาส์นไว้ในขนมชิ้นนี้ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับทุกบ้าน ในสาส์นมีข้อความว่า คืนนี้ในเวลายาม 3 จงสังหารทหารมองโกลพร้อมกัน อันนำมาซึ่งเอกราชของชาวฮั่น จนกลายเป็นประเพณีการรับประทานและไหว้ “ขนมไหว้พระจันทร์” ในปัจจุบัน

แม้ เทศกาลไหว้พระจันทร์ จะมีที่มาจากประเทศจีน แต่ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีนนั้น “ขนมไหว้พระจันทร์” ไม่ได้ใช้เพื่อ ไหว้พระจันทร์ หรือเป็นของกินเล่นเพียงอย่างเดียว แต่ขนมไหว้พระจันทร์ยังเป็น ขนมมงคล ที่ชาวจีนนิยมมอบให้กับคนที่รู้จัก ญาติ มิตรสหาย เพื่อแสดงถึงมิตรไมตรี และเป็นการอวยพรซึ่งกันและกัน จึงทำให้ “ขนมไหว้พระจันทร์” ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ผลิตและจำหน่าย “ขนมไหว้พระจันทร์” หลายแห่งด้วยกัน ซึ่งทุกแห่งนอกจากจะเน้นที่รสชาติความอร่อยของตัว “ขนมไหว้พระจันทร์”  แล้ว บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามแปลกตาและสามารถนำไปใช่ต่อได้ก็สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้เช่นกัน อาทิ เอส แอนด์ พี ที่ปัจจุบันมีให้เลือกอร่อยถึง 16 รสชาติ 21 ไส้ และปีนี้ยังเปิดตัวอีก 2 รสชาติใหม่ ได้แก่ และขนมไหว้พระจันทร์ไส้บัวมันม่วง และขนมไหว้พระจันทร์ไส้เกาลัดและชาอู่หลง



ในส่วนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่อง ปีนี้เป็นปีนักษัตร “เถาะ” หรือปีกระต่ายทอง ในวัฒนธรรมจีนกระต่ายเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนยาว สันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้การออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่องขนมไหว้พระจันทร์ปี นี้ เอส แอนด์ พี ได้หยิบยกเรื่องราวความเป็นมงคลของกระต่ายในความหมายของจีน มาประดับลงบนกล่องขนมไหว้พระจันทร์เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยสื่อสารผ่านเรื่องราวของคืนวันพระจันทร์เต็มดวงของกระต่ายสีทองและกระต่ายเพชร รวมไปถึงหญิงสาวชาวจีนที่เป็นตัวแทนแห่งเทพธิดาพระจันทร์ ที่จะคอยปกป้องให้อยู่เย็นเป็นสุข พร้อมลวดลายของดอกไม้ที่สวยงาม

ข้อมูลจาก คมชัดลึกออนไลน์

อ่านบทความเพิ่มเติม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...