ไทยพลัสนิวส์ 6 วิตามิน-แร่ธาตุ ที่ช่วยจัดการกับโรค ความดันโลหิตสูง
ไทยพลัสนิวส์ 6 วิตามิน-แร่ธาตุ ที่ช่วยจัดการกับโรค ความดันโลหิตสูง อาหารเพื่อสุขภาพ ให้คุณประโยชน์มากมาย สำหรับการจัดการกับความดันโลหิต นอกจากนี้ การดูดซึม วิตามิน และ แร่ธาตุ บางชนิด ก็สามารถส่งผลดีต่อความดันโลหิต ตามธรรมชาติได้ คุณทราบ หรือไม่ว่าเป็นแร่ธาตุ และ วิตามิน ประเภทใดบ้าง ลองอ่านต่อไป
ไทยพลัสนิวส์ 6 วิตามิน-แร่ธาตุ ที่ช่วยจัดการกับโรค ความดันโลหิตสูง
6 วิตามิน-แร่ธาตุ ที่ช่วยจัดการกับโรค ความดันโลหิตสูง
วิตามิน-แร่ธาตุ ความดันโลหิตสูง : โพแทสเซียม
โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญ ระดับปกติของโพแทสเซียม ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อที่เป็นปกติ อย่างเช่นการคลายลายเนื้อเยื่อเส้นเลือด สิ่งนี้ช่วยลดความดันเลือด และ ป้องกัน การเกิดตะคริวได้ โพแทสเซียมช่วยเอื้อต่อความดันเลือด ตามธรรมชาติ
โดยการลดผลกระทบของโซเดียม ระดับโพแทสเซียมที่เพียงพอ ยังช่วยป้องกันการเต้นของหัวใจ ที่ผิดปกติได้ โดยรักษาการนำไฟฟ้า ของสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ และ ระบบประสาทส่วนกลาง ให้เป็นปกติ แนะนำว่าร่างกายของคุณ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณ 4,700 มิลลิกรัมต่อวัน โพแทสเซียมสามารถพบได้ในมันฝรั่ง ลูกพรุน แอปริคอต เห็ด ถั่ว ส้ม ปลาทูน่า ผักโขม มะเขือเทศ ลูกเกด เกรฟฟุต นมพร่องมันเนย และ โยเกิร์ต
วิตามิน-แร่ธาตุ ความดันโลหิตสูง : แมกนีเซียม
แมกนีเซียม สามารถช่วยควบคุมความดันเลือดของคุณได้ แมกนีเซียมช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว เป็นการลดความดันเลือด แมกนีเซียมในระดับสูงสามารถลดความเสี่ยง ของโรคหลอดเลือดสมองได้
อย่างไรก็ดี ร่างกายจะแมกนีเซียมไปได้เมื่อคุณถ่ายปัสสาวะ อาหารจำพวกผักใบเขียวเข้ม ธัญพืช และ พืชตระกูลถั่ว อุดมไปด้วยแมกนีเซียม ปริมาณแมกนีเซียม ที่แนะนำคือ 420 มิลลิกรัม ต่อวันสำหรับผู้ชายอายุ 50 ปีหรือมากกว่า และ 320 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้หญิงอายุ 50 ปีหรือมากกว่า อย่างไรก็ตาม แมกนีเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้
วิตามิน-แร่ธาตุ ความดันโลหิตสูง : แคลเซียม
แคลเซียม สามารถช่วยให้ผนังหลอดเลือดเกร็ง และ คลาย ในเวลาที่ต้องการ สิ่งนี้ช่วยควบคุมความดันเลือดได้ แคลเซียมสามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม เนยแข็ง ในผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักโขม และ ในปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปริมาณแคลเซียม ที่แนะนำอยู่ระหว่าง 1,000 และ 1,200 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ชายอายุ 51 ปีหรือมากกว่า และ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิงอายุ 51 ปีหรือมากกว่า
วิตามิน-แร่ธาตุ ความดันโลหิตสูง : วิตามินอี
วิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน วิตามินอีสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด ได้แก่ ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไข่ ผลไม้ สัตว์ปีก ผัก น้ำมันพืช และ อาหารเสริม วิตามินอีสามารถคงอยู่ในร่างกายได้ จึงไม่ค่อยพบภาวะขาดวิตามินอี วิตามินอีสามารถใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูง วิตามินอี ส่งผลต่อการผลิต ไนตริกออกไซด์
ซึ่งช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว สิ่งนี้ช่วยลดความดันโลหิต ทั้งความดันในขณะหัวใจบีบตัว และคลายตัว นอกจากนี้ วิตามินอียังสามารถป้องกันภาวะหัวใจวาย อาการเจ็บหน้าอก โรคอัลไซเมอร์ ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด ปัญหาเกี่ยวกับไต ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง และ โรคพาร์กินสัน
วิตามิน-แร่ธาตุ ความดันโลหิตสูง : วิตามินซี
วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตวิตามินซีได้เอง แต่คุณสามารถรับวิตามินซีได้จากอาหารต่างๆ เช่น ผักและผลไม้สด และอาหารเสริม อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคุณควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี แทนการรับประทานอาหารเสริม เชื่อกันว่าวิตามินซีสามารถรักษา หรือ ป้องกันอาการติดเชื้อ โรคซึมเศร้า ปัญหาเกี่ยวกับการคิด โรคอัลไซเมอร์ อาการอ่อนเพลีย โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความดันเลือดสูง วิตามินซีช่วยลดภาวะความเครียด จากการเกิดอนุมูลอิสระ และ ช่วยกระตุ้นผลของการผลิตไนตริกออกไซด์ ซึ่งช่วยลดความดันเลือดลงได้
วิตามิน-แร่ธาตุ ความดันโลหิตสูง : วิตามินดี
วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน พบได้ในปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ในผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม เนยแข็ง ในน้ำผลไม้และธัญพืชที่มีฉลากติดไว้ว่า ‘เสริมวิตามินดี’ อย่างไรก็ดี คุณสามารถได้รับวิตามินดีโดยส่วนมากได้จากการรับแสงแดด วิตามินดีมีประโยชน์ ต่อหลอดเลือด และ อาการโรคของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน เบาหวาน ภาวะไตล้มเหลว กล้ามเนื้ออ่อนแรง และ โรคเกี่ยวกับฟัน และ เหงือก
สิ่งที่คุณรับประทานสามารถส่งผล ต่อสุขภาพของคุณได้เสมอ เพื่อให้มีความดันโลหิตที่เหมาะสม อาหารที่มีประโยชน์ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ แร่ธาตุจำเพาะ และวิตามินที่กล่าวถึงข้างต้น ควรรวมอยู่ในมื้ออาหารของคุณด้วย
อ้างอิง sanook
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น