พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เป็นโรงเรียนจีนฮกเกี้ยนซึ่งปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวเดิมประกอบด้วยศาลเจ้าและโรงเรียนสอนภาษาจีนชั้นสูงชื่อ “ฮั่วบุ่น” ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนภูเกตจุงหัว และในปี พ.ศ. 2491 ได้เปลี่ยนมาเป็น โรงเรียน ภูเก็ตไทยหัว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 อาคารเรียนหลังนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน หลังจากนั้น มูลนิธิกุศลสงเคราะห์ จังหวัดภูเก็ต และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ปรึกษาหารือและตกลง ที่จะปรับปรุงอาคารและพื้นที่โดยรอบเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ได้รับการออกแบบอาคารให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือ ซีโน-โปรตุกีส ซึ่งเป็นรูปแบบทั่วไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ต มีผังอาคารเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตรล้อมลาน กลางอาคารที่ตรงกับช่องเปิดโล่งในหลังคา หลังคาเป็นหลังคาปั้นหยาผสมหลังคาจั่ว มุงกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา
ภายในพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวมีการจัดแสดงภาพถ่ายเก่าๆ ของโรงเรียน ส่วนภายในอาคารจัดแสดงสิ่งของ หนังสือ ภาพถ่ายและเรื่องราวต่างๆ ของโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว มีห้องนิทรรศการภาพ แสดงความเป็นมาของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ ภูเก็ต บุคคลสำคัญของภูเก็ต ชุดแต่งกายประจำถิ่น อาหารพื้นเมือง เทศกาลงานประเพณี อาคารแบบชิโนโปรตุกีส และภาพถ่ายเก่าแก่ที่แสดงความเป็นมา ด้านเศรษฐกิจของภูเก็ตตั้งแต่ยุคเหมือง แร่ การทำสวนยางพารา และการท่องเที่ยว
ข้อมูลทั่วไป
ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งชาวจีนฮกเกี้ยน บรรพบุรุษชาวจีนรุ่นแรกที่อพยพมาอยู่ที่ภูเก็ตได้ร่วมกันตั้งขึ้น เป็นอาคาร 2 ชั้น มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้เยาวชน ประชาชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวได้ศึกษาความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ตได้ครบถ้วน
จากโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต สู่การเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ลูกหลานชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งครั้งหนึ่งก็เคยร่ำเรียนวิชาจากโรงเรียนแห่งนี้ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อระลึกถึงประวัติและที่มาของชาวจีน ที่อพยพและย้ายถิ่นเข้ามาอยู่จังหวัดภูเก็ต ให้ลูกหลานคนจีน คนไทย รู้จักที่มาของบรรพชนอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ตระหนักถึงตัวตนที่แท้จริง และเพื่อให้นักท่องเที่ยวและชาวต่างประเทศ ได้มีโอกาสศึกษาและเข้าใจความเป็นอยู่ พฤติกรรม และอุปนิสัยของชาวภูเก็ต รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์รวมของการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต อาคารพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวผ่านการบูรณะให้มีสภาพสมบูรณ์สวยงามละเมียดละไม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน สำหรับด้านบนนั้น ยังใช้เป็นห้องเรียนภาษาจีน ส่วนด้านล่างเป็นห้องต่าง ๆ ที่มีนิทรรศการจัดแสดงซึ่งแบ่งออกเป็น 13 ส่วนด้วยกัน จัดแสดงตั้งแต่เรื่องราวประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาวจีนฮกเกี้ยนที่เดินทางมายังภูเก็ต ความเชื่อ วิถีชีวิตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนกับชาวภูเก็ต ตลอดจนประวัติของโรงเรียนภาษาจีนไทยหัว ซึ่งเปิดการเรียนการสอนมากว่า 60 ปี โดยนิทรรศการต่าง ๆ เหล่านี้สร้างความน่าสนใจด้วยการใช้สื่อมัลติมีเดียอันทันสมัย สนุกสนาน เข้าใจง่าย เหมาะแก่ผู้เข้าชมทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น งานไหว้พระจันทร์ งานวิวาห์บาบ๋า เป็นต้น
ข้อมูลสถานที่
เรื่องราวชาวจีน ประเพณีวิถีชีวิต อาชีพและภูมิปัญญา ประวัติของปูชนียบุคคล และโรงเรียนจีนที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองภูเก็ต.
ประวัติ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ภายในอาคารจัดแสดงภาพถ่ายและวีดีทัศน์ที่สื่อความเป็นมาของชาวจีนในภูเก็ต การทำเหมืองแร่ การแต่งกาย สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส อาหารพื้นเมืองและวัฒนธรรมประเพณีของชาวภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ถึงอารยธรรมของชาวภูเก็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น