เขาคลังนอก เป็นโบราณสถานที่พึ่งค้นพบล่าสุดในหมู่โบราณสถานของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบมาว่าบูรณะแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555 ลักษณะของเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13–14 สันนิษฐานว่าเดิมมีลักษณะเป็นมหาสถูป (เจดีย์ขนาดใหญ่ที่สามารถขึ้นไปด้านบนเจดีย์ได้) ปัจจุบันเหลือเพียงฐานขนาดใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะที่แปลกตานี้ทำให้นักท่องเที่ยวบางคนขนานนามเป็น “พีระมิดเมืองไทย” ตามลักษณะที่คล้ายมหาพีระมิดแห่งกีซา
เขาคลังนอก
ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สันนิษฐานว่าด้านบนประกอบด้วย “ลานประทักษิณ” สำหรับประกอบพิธีกรรม และเป็นระเบียงที่สามารถเดินวนรอบได้ และมีฐานอิฐรับยอดเจดีย์อีก 1 ชั้น รวมเป็น 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ บันไดมีผนังข้างเป็นชั้นรองเครื่องไม้หลังคา ปากทางขึ้นราวบันไดมีฐานของรูปสลักที่น่าจะเป็นรูปสิงห์คู่ ฐานโค้งเป็นบัว ลานประทักษิณชั้นบนสุดของแต่ละทิศมีซุ้มประตูโค้ง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว และมีเจดีย์ขนาดเล็กประดับตามมุม
ข้อมูลสถานที่ เขาคลังนอก
ที่มาของชื่อเขาคลังนอก เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่เดิม เพราะเหตุว่ามีรูปร่างลักษณะคล้ายภูเขาสูงใหญ่และเชื่อกันว่ามีทรัพย์สมบัติ และอาวุธเก็บรักษาอยู่ภายใน ประกอบกับในเขตเมืองโบราณศรีเทพ มีโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายภูเขาที่เรียกว่า “เขาคลังใน” จึงได้เรียกโบราณแห่งนี้ว่า “เขาคลังนอก”
ทางขึ้น เขาคลังนอก
ลักษณะเด่น
เขาคลังนอก เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ สมัยทราวดี – ตัวอาคารก่อด้วยศิลาแลงทรงสี่เหลี่ยมจัตรัส -มีบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน -มีสถูปก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ด้านบน ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว และซุ้มประตู
โบราณสถานเขาคลังนอก เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี ตั้งอยู่นอกเมือง ห่างออกไปราว 2 กิโลเมตร สันนิษฐานว่ามีลักษณะเป็นมหาสถูป มีฐานขนาดใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ประดับตกแต่งฐานด้วยอาคารจำลองขนาดต่างๆอยู่โดยรอบ ภายในทึบตัน มีบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน ถือได้ว่าเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์มากที่สุดในบรรดาศาสนสถานที่ร่วมสมัยเดียวกัน
หมายเหตุ : อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานเพียงระยะ 2 เดือนเศษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551) อาจให้คำตอบทางวิชาการได้ไม่มากนัก ทุกสิ่งเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น อีกทั้งบริเวณโดยรอบยังคงปรากฏร่องรอยของซากอาคารที่เป็นองค์ประกอบของโบราณสถานอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังหลงเหลือร่องรอยและถูกลักลอบขุดทำลายไปแล้ว จึงจำเป็นต้องอาศัยเวลาในการศึกษาให้ครบถ้วนเสียก่อน ถึงจะคลี่คลายปมปัญหาทางวิชาการต่างๆ เกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้รวมถึงเรื่องราวของเมืองศรีเทพที่ยังคลุมเครืออยู่ต่อไปได้
กองสลากไท พาเที่ยว น้ำตกวังตุ้ม
กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาไหว้พระที่ วัดธรรมยาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น