กองสลากไท และ สลากไทพลัส ได้ทราบข้อมูลมาว่า วัดช้างให้ หรือ วัดราษฎร์บูรณาราม เดิมชื่อ วัดช้างให้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ตามพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอน 15 หน้า 451 – 252 เขตวิสุงคามสีมา ยาว 80 เมตร กว้าง 40 เมตร เนื้อที่จำนวน 12 ไร่ ทำพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ
วัดช้างให้
ประวัติ วัดช้างให้ โดย กองสลากไท
พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี สร้างเมืองใหม่ได้อธิษฐานปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป เมื่อช้างหยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง จึงสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตรงนั้นสมัยโบราณกาล คนมลายูซึ่งยังนับถือพุทธศาสนา พระยาแก้มดำจึงได้สร้างวัดช้างให้
ต่อมาใน พ.ศ. 1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบังมีอานุภาพแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายูและได้ก่อสรางปูชนีย์ทางพระพุทธศาสนาไว้หลายแห่ง ศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่นครศรีธรรมราชจารึกว่า “พ.ศ. 1318 เจ้าเมืองศรีวิชัยได้มาก่อพระเจดีย์องค์หนึ่งที่นครศรีธรรมราชและพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำแห่งภูเขาวัดหน้าถ้ำ (ปัจจุบันชื่อ วัดคูหาภิมุข) ตั้งอยู่ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้สร้างในสมัยศรีวิชัย ระหว่าง พ.ศ. 1318 – พ.ศ. 1400”
ต่อมาได้ปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ซึ่งคงปรากฏอยู่กระทั่งบัดนี้ องค์พระยาวถึง 81 ฟุต 1 นิ้ว ขนาดใหญ่วัดโดยรอบองค์พระ 35 ฟุต
พ.ศ. 1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบัง สร้างเมือง ณ วัดราษฎร์บูรณะ แต่ต่อมาวัดราษฎร์บูรณะได้กลายเป็นวัดร้าง
พ.ศ. 2478 ขุนธำรงพันธุ์ภักดี ขุนพิทักษ์รายา ขายช้างเชื่อกหนึ่ง นำเงินไปบูรณะวัดช้างให้ วัดราษฎร์บูรณะได้เป็นวัดร้าง
พ.ศ. 2480 สถานที่แห่งนี้เป็นเพียงป่ารก มีต้นไม้ใหญ่ พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ ได้ชักชวนชาวบ้านช้างให้และใกล้เคียงไปทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้ โดยจัดบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา
พ.ศ. 2484 เจ้าอาวาสได้ลาสิกขา วัดราษฎร์บูรณะจึงไม่มีเจ้าอาวาส วัดราษฎร์บูรณะจึงได้กลายเป็นวัดร้างอีกครั้ง
พ.ศ. 2488 เกิดสงครามทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นเมืองไทยผ่านไปประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ รถไฟสายใต้วิ่งจากหาดใหญ่ไปสถานีสุไหงโก-ลก ชายแดน ขนทหารและสัมภาระผ่านหน้าวัดช้างให้ วัดช้างให้ก็อยู่ในสภาพเดิมยังมิได้บูรณะ วัดช้างให้ซึ่งตั้งติดอยู่กับทางรถไฟเป็นทางผ่านไปยังจังหวัดยะลา นราธิวาส และชายแดนมาเลเซีย เจ้าอาวาสวัดช้างให้ต้องรับภาระหนักต้องจัดหาที่พักหาอาหารมาเลี้ยงดูผู้คนที่มาขอพักอาศัยพักแรมในระหว่างเดินทาง วัดได้มีถาวรวัตถุ ดังนี้ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอฉัน หอระฆัง กุฏิ สถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด กำแพงวัด อาคารเรียน โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
พ.ศ. 2497 สร้างกำแพงอุโบสถ แทนอุโบสถหลังเดิมที่ปรักหักพังจนเหลือแต่ฐานราก และได้ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ณ เนินดินบริเวณอุโบสถเก่า ได้ปัจจัยสมทบสร้างอุโบสถ
พ.ศ. 2499 พิธียกช่อฟ้าอุโบสถ
พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
พ.ศ. 2501 ทำพิธีผูกพัทธสีมา
บริเวณโดยรอบ
สถานที่ วัดช้างให้
พระธาตุเจดีย์วัดช้างให้ รูปแบบ เป็นเจดีย์ 5 ยอด โดยมีองค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง ด้านล่างเป็นห้องโถง มีระเบียงเป็นวิหารคตรอบองค์พระเจดีย์ ฉัตรทองคำหนัก 100 บาท เป็นฉัตร 7 ชั้น ประดับทับทิมประดิษฐานอยู่บนยอดเจดีย์ ภายในองค์พระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ความสูง 59.09 เมตร
วางศิลาฤกษ์ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
พิธียกฉัตรทองคำยอดเจดีย์ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2520
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2530 บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระเจดีย์
วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2531 พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดช้างให้
วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ทำพิธียกช่อฟ้า
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (ยาว 80 เมตร กว้าง 40 เมตร )
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ทำพิธีผูกพัทธสีมา
พ.ศ. 2507 สร้างศาลาการเปรียญ เสร็จ พระประธานปางปฐมเทศนาพระพุทธไสยาสน์ พวงชุมพู วิหารสมเด็จหลวงพ่อทวด สถูปหลวงพ่อทวด เดิมเป็นเสาแก่นไม้ปักหมายเอาไว้ เรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า เขื่อน
พ.ศ. 2484 พระครูวิสัยโสภณ ได้ทำการบูรณะด้วยการก่ออิฐถือปูนห่อหุ้มเสาไม้ไว้
พ.ศ. 2503 สร้างกุฏิปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหุ่นขึ้ผึ้ง พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร)
รายนามเจ้าอาวาส
สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด)
พระอธิการไชย ศีลวโร
พระอธิการสังข์ ชยธฺมโม
พระเดิม รักขิตเทโว
พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมมฺธโร)
พระครูใบฎิกาขาว รกฺขิตธมฺโม
พระตานีสรคุณ
พระสุนทรธรรมวัตร
สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE : @ S L T P 7 8 9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น