สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดพระพายหลวง เป็นวัดคณะสงฆ์เถรวาท สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และมีประวัติการก่อสร้างนับตั้งแต่กรุงสุโขทัย เป็นวัดโบราณสถานที่มีพระสงฆ์อยู่อาศัย ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ
ลักษณะเด่น
ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบสามชั้น -มีพระปรางค์ 3 องค์ เป็นประธานของวัด -พระปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเขมรแบบบายน -ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปปั้น 4 อิริยาบถ
ประวัติ
วัดพระพายหลวง ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จัดเป็นโบราณสถานด้านนอกกำแพงเมืองทิศเหนือ เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 4 อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน วัดพระพายหลวงเดิมเป็นเทวสถาน เนื่องจากพบชิ้นส่วนของเทวรูปและฐานศิวลึงค์ต่อมาปรับเปลี่ยนมาเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแบบมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ 18
ข้อมูลเพิ่มเติม
วัดพระพายหลวง เป็นวัดคณะสงฆ์เถรวาท สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และมีประวัติการก่อสร้างนับตั้งแต่กรุงสุโขทัย เป็นวัดโบราณสถานที่มีพระสงฆ์อยู่อาศัย ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ฝังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียก "คูแม่โจน" วัดพระพายหลวงนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในระยะแรกก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของวัดคือ พระปรางค์ 3 องค์ ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะแผนผังและรูปศิลปะเป็นแบบเขมรบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
วัดพระพายหลวง
ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ก่อสร้างก่อนการตั้งเมืองสุโขทัย มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ เพราะมีรูปแบบศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของสุโขทัย และมีการสร้างเพิ่มเติมในสมัยสุโขทัยตอนปลาย วัดพระพายหลวงจึงเป็นแหล่งรวมงานศิลปกรรมหลายยุคหลายสมัย ผังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียก คูแม่โจน มีปรางค์ศิลาแลง 3 องค์เป็นประธานของวัด องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้พังเหลือแต่ฐาน เหลือเพียงองค์ด้านเหนือ หน้าบันประดับลายปูนปั้นเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้นที่งดงามมาก สันนิษฐานว่าสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน (รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) บริเวณหน้าปรางค์มีวิหารที่เหลือเพียงเสาใหญ่ศิลาแลง ถาวรวัตถุที่สร้างเสริมต่อขยายออกไปทางด้านหน้าของพระปรางค์สามองค์ เช่น เจดีย์เหลี่ยมที่เหลือเพียงยอดปรักหักพัง และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน และนอน ปัจจุบันปรักหักพังลงเกือบหมด
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติความเป็นมา
วัดพระพายหลวงเดิมเป็นเทวสถาน เนื่องจากพบชิ้นส่วนของเทวรูปและฐานศิวลึงค์ต่อมาปรับเปลี่ยนมาเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแบบมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ลักษณะทั่วไป
เป็นกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองสุโขทัย และเป็นกลุ่มโบราณสถานที่เก่าที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง ๓ องค์ เป็นศิลปในยุคเดียวกับศิลปะเขมรแบบบายน
โบราณสถานที่สำคัญคือ วิหาร ๕ ห้อง อยู่ด้านหน้าปรางค์ เจดีย์ทรงเหลี่ยมแต่ละชั้นมีพระพุทธรูปนั่งลดหลั่นอยู่ภายในทั้ง ๔ ซุ้ม รอบเจดีย์มีระเบียงคด และมีร่องรอยตั้งพระพุทธรูปปูนปั้น ถัดจากเจดีย์เหลี่ยมมีมณฑปก่ออิฐ มีพระพุทธรูปปูนปั้นเป็นพระพุทธรูปยืนติดกับด้านหน้ามณฑป ๕ องค์ ที่ปรากฏชัดเจนคือพระพุทธรูปปางลีลา ถัดจากมณฑปมีวิหารพระนอน และมีวิหารเจดีย์ราย มีคูน้ำล้อมรอบวัดทั้ง ๔ ด้าน
หลักฐานที่พบ
พบพระพุทธรูปแกะสลักปางนาคปรก และตรงด้านหน้าพระวิหารยังพบพระพุทธรูปสลักหินองค์ใหญ่ปางสมาธิเฉพาะส่วนล่างขององค์พระ ลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูปฉลองพระองค์ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างขึ้นไปประดิษฐานตามเมืองต่าง ๆ
เส้นทางเข้าสู่วัดพระพายหลวง
จากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงแผ่นดินสาย ๑๖ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร
วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย
วัดพระพายหลวงสร้างขึ้นก่อนที่จะก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย เดิมทีเป็นวัดพุทธในนิกายมหายานของเขมร โดยสร้างขึ้นประมาณระหว่างพ.ศ. 1724 ถึง 1762 ซึ่งเห็นได้จากพระปรางค์ 3 องค์ที่มีศิลปะแบบเขมร
ต่อมาเมื่อชาวไทอพยพมาอยู่และก่อตั้งกรุงสุโขทัยขึ้น จึงเปลี่ยนเป็นวัดพุทธนิกายเถรวาท
วัดพระพายหลวงมีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องงานศิลปะปูนปั้น แม้ว่าวัดแห่งนี้จะเต็มไปด้วยงานศิลปะตกแต่งประดับประดามากมาย แต่งานปูนปั้นส่วนใหญ่ได้ย้ายไปจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จ.สุโขทัย ซึ่งมีส่วนจัดแสดงศิลปะปูนปั้นแห่งใหม่อยู่ใกล้ๆ กับบริเวณสวน
วัดพระพายหลวงตั้งอยู่ใกล้กับประตูเมืองฝั่งเหนือ ล้อมรอบไปด้วยคูน้ำความยาว 600 เมตรทั้งสองด้าน ซึ่งผันน้ำมาจากแม่น้ำลำพัน โดยสามารถเดินทางไปได้ทั้งทางรถเข้าทางฝั่งตะวันตก หรือเดินข้ามสะพานข้ามคูน้ำทางทิศตะวันออกซึ่งอยู่ด้านหลังวัดก็ได้
วัดพระพายหลวงเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในเขตภาคเหนือของจังหวัดสุโขทัย ด้วยเหตุนี้ จึงมีสิ่งให้เที่ยวชมต่างๆ มากมาย โดยมากแล้วไกด์นำเที่ยวมักจะเร่งให้นักท่องเที่ยวรีบๆ ดูที่หนึ่งเสร็จก็รีบไปดูที่อื่นต่อ และคนขับรถก็ไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัยมากนัก เราขอแนะนำให้ใช้เวลาเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ที่น่าสนใจทั้ง 8 แห่งในวัดพระพายหลวงตามรายละเอียดด้านล่างนี้
สถานที่สำคัญในวัดพระพายหลวง ได้แก่
ปรางค์ศิลปะเขมร ซึ่งมีรูปปูนปั้นประดับตกแต่งอยู่ตามที่เห็นในภาพ
บริเวณกลางวัด มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ซึ่งปรักหักพังไปแล้ว โดยมีเสารายล้อมอยู่
ในมณฑปมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ 4 องค์ แต่ละองค์หันหน้าไปคนละทิศ และมีพระพุทธรูปปางลีลาที่มีลักษะค่อนข้างเด่นชัดหลงเหลืออยู่
พระวิหารศิลาแลง
มีปรางค์ศิลปะเขมร 3 องค์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด
บริเวณฐานประดับลวดลายปูนปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิอยู่ โดยมีผู้เคารพบูชาคุกเข่าอยู่ด้านหน้า โดยมีปูนปั้นลวดลายเหมือนใบไม้ล้อมรอบอยู่
สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE:@STPLUS
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น