สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอตความเป็นมาของวัดมกุฏคีรีวัน ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา วัดนี้ได้ก่อตั้งโดย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
ประวัติก่อตั้ง
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร) กับพระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต)
ในปลายพุทธศักราช 2531 จึงเริ่มดำเนินการก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมมกุฎคีรีวันขึ้นโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)ได้เป็นผู้นำบุกเบิกพื้นที่และสร้างสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ด้วยตนเอง และได้มอบหมายพระครูศรีธรรมานุศาสน์(สมคิด ภูริสฺสโม) ปัจจุบันเป็นพระรัชมงคลวัฒน์ ประธานสงฆ์วัดชูจิตธรรมาราม วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ดูแล นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้พำนัก ณ สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวัน ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2534 พระญาณดิลก(ปัญญา สทฺธายุตฺโต) ซึ่งได้รับอุปสมบทโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร)ณ วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้ขอมาพำนักที่สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นป่าและชุกชุมไปด้วยสัตว์นานาชนิด แต่ด้วยแรงศรัทธาของญาติโยมทำให้สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับมีการก่อสร้างเสนาสนะ วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนขยายไฟฟ้า ประปา และถนนลาดยาง จนทำให้สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันกลายเป็นศาสนสถานที่สวยงาม ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับประพฤติปฏิบัติธรรม
ศาสนสถาน
พระมหาเจดีย์มกุฏคีรีวัน สร้างอยู่บนยอดเขาชื่อว่า “เนินปัญจสิงขร” วัดความกว้างได้ 48 เมตร ยาว 48 เมตร นับเป็นมหามงคล จึงหมายเป็นราชสักการะ และเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภ์มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยที่ทรงมีพระชนมายุครบ 4 รอบ 48 พรรษา เมื่อปี 2546โครงการสร้างพระมหาเจดีย์มกุฏคีรีวัน เป็นความดำริในพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กรรมการมหาเถรสมาคม และผู้ก่อตั้งวัดมกุฏคีรีวัน เพื่อเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธาตุพระอสีติมหาสาวก ฐานของพระมหาเจดีย์กว้าง 20เมตร ยาว 20 เมตร สูง 35 เมตร พระอัฐิธาตุครูบาอาจารย์สายพระกัมมัฏฐานภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่สำคัญ ๆ อาทิเช่น
พระอัฐิธาตุหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
พระอัฐิธาตุพระครูวินัยธรมั่น ภูริทฺตโต (หลวงปู่มั่น)
พระอัฐิธาตุหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคกมน จ.เลย
พระอัฐิธาตุหลวงปู่เมตตาหลวง หรือ พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนทโร) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
พระอัฐิธาตุหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
พระอัฐิธาตุหลวงปู่วัย อตาลโย
พระอัฐิธาตุหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธคัมภีรปัญญาวิศิษฐ์) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
พระบรมอัฐิสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นอกจากนั้นยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมารวิชัยคีรีวันสิริมงคล (ซึ่งจำลองจากพระพุทธรูปโบราณ อายุประมาณกว่า 800 ปี พระพุทธติโลกนาถมงกฏธรรมค่รีวัน (พระพุทธรูปหินหยกขาว) และพระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จากสำนักปฏิบัติธรรมสู่วัดมกุฎคีรีวัน
ในพุทธศักราช 2543 หม่อมราชวงศ์ทรงวิทย์ ทวีวงศ์ อุบาสกปฏิบัติธรรมและผู้ช่วยพระอาจารย์แดงดูแลสำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัด ณ สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวันแห่งนี้โดยมีจุดประสงค์ของการตั้งวัดดังนี้
เพื่อเป็นที่ประกอบพีธีกรรมและปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานของพระนักศึกษาจากสภาการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยสงฆ์หนึ่งในสองแห่งของพระพุทธศาสนา
เพื่อเป็นสถานที่อบรมจริยธรรม ศีลธรรมของเยาวชน ข้าราชการ และ ประชาชน ให้รู้เข้าถึง และเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์
ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคม ได้อนุญาตให้สร้างวัด ตามหนังสือการศาสนา ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2544และได้อนุญาตประกาศให้ตังเป็นวัดในพระพุทธศาสนานามว่า วัดมกุฏคีรีวัน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พุทธศักราช 2545 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ขนาดกว้าง 24 เมตรยาว 36 เมตร รวมเป็นพื้นที่ 864 ตารางเมตร เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2545
รางวัลที่ได้รับ
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2541
โล่รางวัลการสนับสนุนกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสู่ความเขียวขจี ครั้งที่ 17”
14 มิถุนายน 2542
ได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศ กิจกรรมปลูกป่าแปลง ปี 2542 ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2540 - 2545)
21 มิถุนายน 2542
ได้รับรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมบำรุงรักษาต้นไม้ แปลง ปี 2539 ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2540-2545)
1 สิงหาคม 2544
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (ป่าบก) แปลง ปี 2542 ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2540 - 2545)
12มิถุนายน 2545
ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศ รองชนะเลิศ การบำรุงรักอาต้นไม้ แปลง ปี 2542 ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
12 มิถุนายน 2545
ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศ รองชนะเลิศ การบำรุงรักอาต้นไม้ แปลง ปี 2542 ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
5 กันยายน 2545
ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ จากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขาพื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่า
สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE:@STPLUS
อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส
ประวัติความเป็นมาของวัดคลองท่อมใต้ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส
ประวัติความเป็นมาของวัดแก้วโกรวาราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส
ประวัติความเป็นมาของวัดบ้านเกาะสิเหร่ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส
ประวัติความเป็นมาของวัดมงคลนิมิตร โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น