สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดท่าตอนเดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานได้จาก วัตถุโบราณที่ค้นพบในบริเวณนี้ วัดท่าตอนยังเป็นสถาบันการศึกษาสำหรับพระภิกษุ สามเณร และเยาวชน
ประวัติวัดท่าตอน
วัดท่าตอน เป็นวัดร้างมานานหลายร้อยปี มีพระเจดีย์เก่าชำรุดอยู่หนึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยป่าหนาทึบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ตามตำนานสุวรรณดำแดงกล่าวว่า กลุ่มคนไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ตอนกลางของเชียงใหม่ ประมาณหลังปี พ.ศ. 1700 นั้น เป็นผู้นับถือพุทธศาสนา นักประวัติศาสตร์หลายท่านได้มีความเห็นว่า บริเวณลุ่มน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำกก เป็นที่ตั้งของชุมชน ที่มีวัฒนธรรมอยู่มาก่อน ก่อนที่จะสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 ห่างจากวัดท่าตอนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า ชื่อ เวียงแข่ ยังคงมีคูเมืองปรากฏอยู่ เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยใดนั้น ไม่เป็นที่ปรากฏหลักฐาน
จากการค้นคว้าคำจารึกในฐานพระพุทธรูปเก่าที่สุดที่พบในเขตอำเภอแม่อาย (วัดศรีบุญเรือง) จุลศักราช 221 (พ.ศ. 1403 ) พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณที่พบตามวัดร้างในท้องนาและริมแม่น้ำฝาง ซึ่งวัดต่างๆ ในท้องที่เก็บรักษาไว้ บางส่วนขนย้ายไปจังหวัดเชียงราย (วัดมุงเมือง) และส่วนกลาง ( พ.ศ. 2424 คาร์ล บ็อค มาสำรวจเมืองฝางขนไปบ้าง ) แสดงให้เห็นถึงร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ผ่านมาหลายศตวรรษของถิ่นนี้ในอดีต แม้ในจุลศักราช 636 (พ.ศ. 1818) พระยามังรายเสด็จมาเสวยราชสมบัติในเมืองฝาง ก็มิได้ปรากฏว่าพระองค์สร้างเมืองขึ้นใหม่
ฝางและอำเภอใกล้เคียง (เวียงไชย เวียงแข่ เมืองงาม เป็นต้น) คงเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนแล้ว ในตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า “อันเมืองฝางนั้น เป็นเมืองที่สร้างมาแต่โบราณกาลแล้ว หากจะพูดตามตำนาน ก็สร้างมาแต่สมัยพระเจ้าลวะจังกราชปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลาวจก และต่อมาในสมัยพระเจ้ามังราย บ้านเมืองเดิมก็คงชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ด้วยเป็นที่อุดมสมบูรณ์ พระเจ้ามังรายจึงได้บูรณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง”
จากการสำรวจโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุของกรมศิลปากร พบว่า พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดท่าตอน (ศาลาพุทธบุตรประชาสรรค์) ปางมารวิชัยประทับนั่ง 5 องค์ ปางประทับยืน 3 องค์ เป็นศิลปะล้านนา เป็นพุทธศิลป์ซึ่งทรงคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ มีอายุ 500-700 ปี มีคำจารึกที่ฐานพระพุทธรูป 2 องค์ ปางมารวิชัย ประทับนั่งองค์เล็กสุด (พระฝนแสนห่า) สร้างเมื่อจุลศักราช 910 (พ.ศ. 2092) ปางประทับยืนอุ้มบาตร บอกแต่เพียงชื่อผู้นำสร้าง และผู้ร่วมทำบุญ ไม่บอกศักราช ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่า วัดท่าตอน ได้สร้างมาแล้วเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี
วัดท่าตอนเป็นวัดประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าตอน ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่มีทิวทัศน์งดงาม ตั้งอยู่บนไหล่เขาเรียงรายด้วยศาสนวัตถุสิ่งก่อสร้าง มีพื้นที่ทอดยาวตามเชิงเขาเป็นชั้น ๆ รวม 9 ชั้น มองเห็นได้แต่ไกลเมื่อท่านขึ้นไปบนวัดสามารถมองเห็นทัศนียภาพของอำเภอแม่อายและเทือกเขาต่าง ๆ อย่างสวยงาม
วัดท่าตอนเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตั้งอยู่บนยอดเขาต่อเนื่องหลายลูก บนเนื้อที่ 425 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา แยกเป็นพื้นที่ตั้งวัดชั้นล่าง 45 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา และเป็นเขตอุทยานพุทธศาสนาและสำนักปฏิบัติธรรม 380 ไร่ 67 ตารางวา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชันมีที่ราบริมแม่น้ำกกบริเวณด้านหน้ามีมหาโพธิสัตว์กวนอิมและบริเวณลานวัดซึ่งมี พระบรมธาตุรัชมังคลาจารย์สมานฉันท์หรือพระเจดีย์แก้วประดิษฐานอยู่ เป็นวัดที่ท่านสามารถมาชมทะเลหมอกยามเช้าสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มที่
เนื่องจากท่าตอนเป็นชายแดนติดต่อกับรัฐฉาน ประเทศพม่า ชาวบ้านท่าตอนในสมัยก่อนแม้กระทั่งปัจจุบัน จึงมีชาวไทยใหญ่ปะปนกับชาวพื้นเมืองมาแต่เดิม พ.ศ. 2424 คาร์ล บ็อค เดินทาง (ขี่ช้าง) มาสำรวจเมืองฝาง พบว่า “ท่าตอง (ท่าตอน) เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ มีกระท่อมรวมกันราว 12 หลังคาเรือน กระจัดกระจายไปตามริมฝั่งทั้งสองข้างของแม่น้ำกก ท่าตองเป็นหมู่บ้านเงี้ยว (ไทยใหญ่) แท้ๆ ” ในปี พ.ศ. 2472 มีวัดไทยสร้างอยู่ลานว่างของหมู่บ้านตรงที่เป็นสถานีอนามัยในปัจจุบัน
พระโพธิสัตว์กวนอิม
ในการเดินทางท่องเที่ยวท่าตอนจะรู้ได้ว่าเดินทางมาถึงท่าตอนก็ตอนที่ข้ามสะพานแม่น้ำแม่กก มองไปรอบๆ จากบนสะพานจะเห็นรีสอร์ท โรงแรม ร้านอาหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่ที่ นอกจากนี้ที่สะดุดตาที่สุดก็คือวัดท่าตอน ซึ่งมีพระโพธิสัตว์กวนอิมบนผาสูงริมแม่น้ำไม่ห่างจากสะพานที่เรายืนอยู่มากนัก การเดินทางขึ้นวัดท่าตอนบนยอดเขา แบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 9 ชั้น พระโพธิสัตว์กวนอิม ถือว่าอยู่ชั้นที่ 1 ซึ่งประกอบไปด้วยพระธาตุจอมคีรีศรีปิงขอก ศาลาสุนทร โรงเรียนพระปริยัติธรรม
พระองค์ขาว
พระพุทธนิรันดรชัย เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หน้าตักกว้างเก้าเมตร สีขาวนวล ศิลปะแบบพระสิงค์ ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐปูน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 นำโดยเจ้าอาวาสและคุณประยูร พงศ์ตันกูล
พระสังกัจจายน์
พระสังกัจจายน์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 รูปปูนปั้นศิลปะแบบจีน ยืนอยู่บนถ้ำ มีน้ำพุอยู่ข้าง อยู่ตรงทางโค้งประดุจจะคอยต้อนรับผู้มาเยือนวัด
พระนาคปรก
พระนาคปรก เป็นพระก่อด้วยอิฐปูน หน้าตักกว้าง 7 เมตรกว่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 ใต้ฐานเป็นห้องโถงเป็นที่ปฏิบัติกรรมฐานภาวนา
พระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เรือนยอดเป็นทรงกลมประดับด้วยแก้ว 3 ประการ ได้แก่
-แก้วสี ส่วนที่เห็นเป็นเหมือนเครื่องเบญจรงค์ เปรียบเสมือนปุถุชน มีอารามณ์รัก โลภ โกรธ หลง การสร้างพระเจดีย์แก้วนี้มีส่วนที่มีสีเยอะ เพราะสร้างจากศรัทธาของปุถุชนร่วมสร้างมากที่สุด
-แก้วสะท้อนเงา เมื่อมองพระเจดีย์แก้วองค์นี้จากมุมสูงจะเห็นส่วนที่สะท้อนเงาของเจดีย์ซึ่งใช้สแตนเลสมิร์เรอร์ (แต่เราคงจะมองมุมสูงไม่ได้นอกจากนั่งเครื่องบิน) ส่วนแก้วสะท้อนเงาเปรียบเหมือนนักปฏิบัติธรรม ที่คิดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกว่าปุถุชน แต่ส่วนหนึ่งท่านก็ติดอยู่กับความดีนั้นจนไม่อาจจะหลุดพ้น
-แก้วใส ใช้เป็นช่องที่มองทะลุได้ในองค์เจดีย์ แก้วใสนี้เปรียบเสมือนกับผู้ที่หลุดพ้นไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งใดแล้ว
พระพุทธรูปอิ่มตลอดกาล เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระประจำวันพุธ ซึ่งเป็นพระประจำวันเกิดของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (วัดปากน้ำ) ผู้สร้าง เป็นพระหล่อสัมฤทธิ์ สูง 9 เมตร ประทับยืนเด่นสง่า อยู่บนยอดเขาลูกสุดท้ายของวัดท่าตอน
สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE:@STPLUS
อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส
ประวัติความเป็นมาของวัดคลองท่อมใต้ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส
ประวัติความเป็นมาของวัดแก้วโกรวาราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส
ประวัติความเป็นมาของวัดบ้านเกาะสิเหร่ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส
ประวัติความเป็นมาของวัดมงคลนิมิตร โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น