วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของวัดเสาธงหิน โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

 สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดเสาธงหิน ตั้งอยู่ริมคลองอ้อมนนท์ ใกล้ท่าน้ำบางใหญ่เก่า ในท้องที่หมู่ที่ 1 บ้านคลองอ้อม ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 




ประวัติ

วัดเสาธงหิน เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมเรียกว่า "วัดสัก" อาจเนื่องมาจากสถานที่ตั้งของวัดเดิมมีต้นสักและต้นยางอยู่มากในสมัยก่อน หลักฐานรายละเอียดของวัดสักยังหาไม่พบ เพียงแต่สันนิษฐานและคาดคะเนจากวัสดุก่อสร้างที่ยังพอมีเหลืออยู่ในขณะนี้และคำบอกเล่าจากผู้สูงอายุ เช่น พระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่หล่อด้วยเนื้อชินเงินหมดทั้งองค์ พร้อมด้วยพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรก็หล่อแบบอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนอุโบสถหลังเก่าก็เป็นเครื่องยืนยันอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นวัดเก่าแก่จริง ๆ วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น อิฐก่อผนัง ชุกชี (ฐานพระประธาน) ก็ทำมาจากอิฐก้อนใหญ่เหมือนกันกับอิฐที่ใช้สร้างวัดวาอารามในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนผสมปูนที่ก่อสร้างหรือปูนที่ใช้ฉาบนั้นก็คงใช้ส่วนผสมต่าง ๆ ตามแบบช่างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เครื่องประดับตกแต่งอุโบสถก็ใช้เครื่องใช้ถ้วยชามสมัยเก่าเป็นเครื่องประดับทั้งหน้าบรรณด้านหน้าและด้านหลัง

ตามคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่สืบต่อกันมาจนกระทั่งถึงคุณยายยวง พินรอด อายุ 80 ปีเศษ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ข้างวัด ได้มาทำบุญเป็นประจำ และผู้ใหญ่นวล บุญมี อายุ 80 ปีเศษ ชาวบ้านคลองศรีราษฏร์ อีกคนหนึ่งได้เล่าประวัติของวัดเสาธงหินว่า



ในขณะที่พระเจ้าตากได้เสด็จกรีธาทัพเพื่อกู้ชาติไทยจากพม่าข้าศึก ได้เสด็จนำทัพผ่านมาทางวัดสัก เมื่อทอดพระเนตรเห็นต้นสักจำนวนมากเป็นที่ร่มรื่น จึงรับสั่งให้หยุดทัพพักพลรบที่วัดสักแห่งนี้ เพื่อพักเอาแรงและรวบรวมกำลังพลจากที่ต่าง ๆ เพื่อออกรบ ไม่ว่าจะเป็นทัพของผู้ใดย่อมมีธงชัยประจำทัพหรือธงประจำตัวของแม่ทัพคนนั้น พระเจ้าตากก็เช่นเดียวกัน ได้รับสั่งให้ปักธงประจำทัพของพระองค์ลงบนกองทราย ณ ตำบลนั้น โดยให้หัวหมู่ทหารนำพลพรรคไปหาเอาหินก้อนใหญ่ ๆ มากองทัพเสาธงและล้อมรอบธงไว้มิให้ธงล้ม เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของทัพและเป็นสัญลักษณ์จุดนัดหมายของทหาร แม่ทัพนายกองและไพร่พลทั้งหลายจึงพากันเรียกขานจุดนัดหมายนี้ว่า "เสาธงหิน" จากปากต่อปากเรียกกันมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ขณะที่ประทับอยู่ ณ ที่แห่งนี้ได้ทรงสังเกตเห็นว่าวัดสักนั้นมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก องค์พระประธานก็ชำรุดจนแทบจะไม่เป็นองค์พระ เมื่อทรงเสร็จสิ้นการรบจึงคิดที่จะบูรณะซ่อมแซมเพื่อเป็นพุทธบูชา จึงมีรับสั่งให้ทหารเอกคู่พระทัยนามว่า อำดำดิ่ง เดินทางไปที่ตำบลกระจิว (ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ซึ่งเป็นภูมิลำเนาภริยาของท่านมีนามว่า อำแดงสุก ให้รวบรวมกำลังคนและกำลังทรัพย์เท่าที่จะหาได้มาก่อสร้างวัดที่ชำรุดทรุดโทรมให้เป็นวัดใหม่ที่สมบูรณ์ พร้อมกับให้สร้างพระประธานและพระสาวกคือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะขึ้นใหม่ด้วย เพื่อพระภิกษุสงฆ์จะได้ใช้ในกิจพระพุทธศาสนามาจนกระทั่งทุกวันนี้



เสาธงหินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัด

ชาวบ้านที่อยู่แถววัดสักที่ร่วมอาสาออกรบไปในครั้งนั้น เมื่อเสร็จงานทัพกลับมาถึงบ้านแล้วก็ได้มาร่วมช่วยสร้างวัดและอุโบสถด้วยเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าครั้งหนึ่งที่แห่งนี้เคยเป็นจุดนัดหมายของกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่เรียกกันว่า "จุดหมายเสาธงหิน" รวมถึงชาวบ้านละแวกนั้นก็ได้มีส่วนร่วมสร้างและบูรณะ เรียกกันติดปากว่า "วัดเสาธงหิน" จนกระทั่งมีการจัดระบบปกครองทางการเมืองก็ให้ชื่อว่า "ตำบลเสาธงหิน" ส่วนวัดก็คงเรียกว่า "วัดเสาธงหิน" จากนั้นจนถึงปัจจุบัน

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com


อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดถ่ำผาเกิ้ง โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของพระธาตุขามแก่น โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดป่าแสงอรุณ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดทุ่งเศรษฐี โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...