วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของพระธาตุขามแก่น โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของพระธาตุขามแก่น เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดขอนแก่น และเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในบริเวณ วัดเจติภูมิ บ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่น



ประวัติและตำนานพระธาตุขามแก่น

พระธาตุขามแก่น เดิมเรียกพระธาตุบ้านขาม ไม่มีประวัติหรือจารึกระบุการสร้าง ต่อมาพระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นได้มีโอกาสไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ จึงดำริว่าจังหวัดขอนแก่นควรมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดบ้าง จึงได้สืบเสาะจนพบพระธาตุบ้านขาม ที่บ้านขามธาตุใหญ่ และได้สืบเสาะประวัติความเป็นมาก็ไม่พบ จึงให้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าประวัติแล้วเรียบเรียงใหม่ โดยมีหลายสำนวน ตำนานพระธาตุขามแก่นปัจจุบันเป็นสำนวนของนายสมควร พละกล้า เรียบเรียง เพราะคณะกรรมการตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ พ.ศ. 2498 - 2499 พระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) ได้ทำการบูรณะพระธาตุบ้านขาม เปลี่ยนยอดเดิมที่เป็นไม้เป็นฉัตรโลหะ และเปลี่ยนชื่อจากพระธาตุบ้านขามเป็นพระธาตุขามแก่น และวัดบ้านขามเป็นวัดเจติยภูมิ[1] และมีการรณรงค์ให้ชื่อเมืองขอนแก่นเพี้ยนมาจากเมืองขามแก่น ซึ่งจากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของประมวล พิมพ์เสน ไม่เคยมีคำว่าเมืองขามแก่น มีเพียงชื่อเมืองขอรแก่น, ขรแก่น, ขรแกน, และขอนแก่น ดังนั้นชื่อเมืองขอนแก่นน่าจะเชื่อได้ว่าแต่แรกเริ่มชื่อเมืองขอนแก่นอยู่แล้ว ไม่ได้เพี้ยนมาจากขามแก่นแต่อย่างใด


ตำนานที่หนี่ง

นับแต่การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จ แล้ว พระบรมสารีริกธาตุได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ในที่ต่าง ๆ คือ พระสารีริกธาตุกระโยงหัว (กะโหลกศีรษะ) ฆะฏิการพรหมนำไปไว้บนเทวโลก, พระธาตุเขี้ยวหมากแง (พระเขี้ยวแก้ว) พระอินทร์นำไปไว้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, พระธาตุกระดูกด้ามมีด (พระรากขวัญ) พญานาคนำไปไว้เมืองบาดาล


ครั้งต่อมาโมริยกษัตริย์เจ้านครโมรีย์ (อยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) ทราบข่าวภายหลังเพราะอยู่ห่างไกลและเดินทางช้า จึงได้แต่พระอังคารธาตุ (ฝุ่น) แล้วนำไปไว้ที่นครของตน ประมาณพุทธศักราชล่วงมาได้ 3 ปี พระมหากัสสปะเถระเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ นำเอาพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนอก) ไปประดิษฐานไว้ภูกำพร้า (พระธาตุพนมในปัจจุบัน) พระยาหลังเขียว โมริยกษัตริย์ และพระอรหันต์ยอดแก้ว, พระอรหันต์รังษี , พระอรหันต์คันที และไม่ปรากฏชื่ออีก 6 องค์ จึงเดินทางพร้อมอัญเชิญเอาพระอังคารธาตุเพื่อไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมด้วย ระหว่างทางได้มาถึงพื้นที่แห่งหนึ่ง (ที่ตั้งของพระธาตุขามแก่นในปัจจุบัน) มีพื้นที่ดอนราบเรียบ มีห้วยสามแยก น้ำไหลผ่านรอบดอน และมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง

ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำพอดี ประกอบกับพื้นที่มีความเหมาะสมจึงได้พักแรมที่นี่ และนำเอาพระอังคารธาตุไปวางพักไว้บนแก่นของต้นมะขามที่ตายแล้วดังกล่าว พอรุ่งเช้าทั้งคณะก็เดินทางมุ่งหน้าสู่สถานที่ก่อสร้างพระธาตุพนมต่อไป

พอไปถึงปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว ไม่สามารถนำพระอังคารธาตุบรรจุลงไปได้อีก จึงจำต้องนำเอาพระอังคารธาตุนั้นกลับตามเส้นทางเดิม โดยตั้งใจว่าจะนำกลับไปไว้ที่นครของตนตามเดิม เมื่อมาถึงดอนมะขามซึ่งเคยเป็นที่พักแรมครั้งก่อน ได้เห็นต้นมะขามใหญ่ที่ล้มตายเหลือแต่แก่นนั้นกลับผลิตดอกออกผลแตกกิ่งก้านสาขา มีใบเขียวชะอุ่มแลดูงามตายิ่งนัก จะเป็นด้วยเทพเจ้าแสร้งนิมิต หรือด้วยอำนาจอภินิหารของพระอังคารธาตุก็มิอาจรู้ได้ เห็นเป็นอัศจรรย์เช่นนั้นจึงพร้อมกันก่อสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม และบรรจุพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ภายในด้วย โดยมีรูปลักษณะดังที่เราเห็น อยู่ในปัจจุบันนี้ จึงเรียกชื่อพระธาตุนี้ว่า "พระธาตุขามแก่น"

หลังจากการก่อสร้างพระธาตุเสร็จแล้ว พระยาหลังเขียวพร้อมด้วยบริวารได้สร้างบ้านแปงเมืองอยู่ตรงนี้ และได้สร้างวัดให้เป็นที่พำนักของพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ซึ่งมีวิหาร และพัทธสีมาเคียงคู่กับองค์พระธาตุสืบมา ครั้นกาลล่วงมาพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ก็ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ชาวเมืองนำเอาอัฐิธาตุของท่านบรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็ก ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของอุโบสถในเวลานี้ ต่อมาประชาชนจึงเรียกพระธาตุองค์ใหญ่ว่า ครูบาทั้งเก้าเจ้ามหาธาตุ ส่วนพระธาตุองค์เล็กเรียกว่า ครูบาทั้งแปด

ตำนานที่สอง

มีเรื่องราวคล้ายตำนานที่หนึ่ง แต่กล่าวว่าพระอรหันต์ที่อัญเชิญพระอังคารธาตุนั้น มีเพียง 2 องค์เท่านั้น

ตำนานที่สาม

แต่เดิม ณ ที่นี้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีชาวบ้านเข้ามาหักล้างถางพง จับจองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนั้น ชาวบ้านพบว่ามีตอมะขามที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง แต่ต่อมาปรากฏว่าแก่นมะขามนั้นกลับมีการแตกใบ ผลิดอก ดูแปลกประหลาด และพบว่าหากมีใครที่ไปทำการอะไรที่เป็นการดูหมิ่นหรือลบหลู่ตอมะขามนั้น คนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป ชาวบ้านจึงเกิดความเคารพบูชา และร่วมกันสร้างเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นไว้ พร้อมกับบรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 ประการ ไว้ในนั้นด้วย จึงเรียกเจดีย์ที่สร้างนั้นว่า พระเจ้าเก้าพระองค์ หรือ เจดีย์บ้านขาม ต่อมาจึงเป็นพระธาตุขามแก่น



ลักษณะสถาปัตยกรรม

พระธาตุขามแก่น มีฐานกว้างผายออกเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นฐานบัวคว่ำ 2 ชั้น ต่อด้วยเรือนธาตุซึ่งมีลักษณะเป็นบัวเหลี่ยมซ้อนกัน 2 ชั้น ปลียอดทำเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นเรียวไปสู่ยอด ระหว่างชั้นของยอดกรวยต่อเชื่อมด้วยบัวรัดเกล้า ส่วนยอดพระธาตุมีฉัตรโลหะ 5 ชั้น ความสูงจากพื้นดินถึงยอดฉัตรประมาณ 25 เมตร พระธาตุมีกำแพงแก้ว สูงประมาณ 1.20 เมตร ล้อมรอบ กำแพงแก้วห่างจากองค์พระธาตุโดยเฉลี่ย 2.30 เมตร ทุกด้านมีประตูเข้าออก ด้านทิศเหนือ 2 ช่อง และทิศใต้ 2 ช่อง กว้างช่องละ 1 เมตร ฐานกว้างด้านละ 11 เมตร กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง 

ประเพณี

งานฉลองและนมัสการพระธาตุขามแก่น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 การสักการะ ใช้ธูป เทียน ดอกไม้ ขันแปดเก้า

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com


อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดป่าแสงอรุณ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดทุ่งเศรษฐี โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส-

ประวัติความเป็นมาของวัดทุ่งเซียด โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดพระเจดีย์แหลมสอ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...