วัดพระบรมธาตุไช ยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา
วัดพระบรมธาตุไช
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
ระดับแรก(เริ่มต้น) วัดพระธาตุไชยา(วัดราษฎร์)
ระดับที่สอง วัดพระบรมธาตุไชยา พระอารมหลวง(พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ)
ระดับที่สาม วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร(พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร)
ข้อมูล
พุทธศตวรรษที่ 13 – พุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยศรีวิชัย ได้สร้างวัดพระบรมธาตุไชยา วัดมี โบสถ์ หรือพระอุโบสถ หันไปทางทิศตะวันตก
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นโบราณสถาน รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็ก 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน
พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภาพเจดีย์พระบรมธาตุ เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองลูกเสือจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร
สมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆัง
พระพุทธรูปทำด้วยศิลา สูง 104 เซนติเมตร ปางสมาธิประทับอยู่บนฐานบัว มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย แบบราชวงศ์คุปตะ สกุลช่างสารนาถ
พุทธศตวรรษที่ 14 ได้สร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) สองกรสำริด ประติมากรรมในชวา (ประเทศอินโดนีเซีย) ภาคกลาง จารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสกุลวงศ์ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา) และราชวงศ์ไศเลนทรในชวาภาคกลาง
พุทธศตวรรษที่ 15 ได้สร้างพระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา ศิลปะจามพุทธ
สมัยอยุธยา ได้สร้างพระพุทธรูปศิลาทราย ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา
ข้อมูลสถานที่
องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถานตามแบบลัทธิมหายานตั้งแต่อาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรืองร อบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ ตั้งอยู่โดยรอบ
ลักษณะเด่น
-สักการะพระบรมธาตุ -ทำบุญ
ประวัติ วัดพระบรมธาตุไช
จากคำบอกเล่าของชาวเมืองไชยาได้มีตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยาว่า ครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวอินเดียสองคนชื่อ ปะหมอ กับปะหมัน ทั้งสองเดินทางโดยเรือใบเข้ามาถึง เมืองไชยา ได้พาบริวารขึ้นบกที่บ้านนาค่ายตรงวัดหน้าเมือง ในตำบลเลเม็ด เจ้าเมืองมอบให้ปะหมอ ซึ่งเป็นนายช่างมีความเชี่ยวชาญการก่อสร้าง สร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ครั้นเสร็จก็ตัดมือตัดเท้า เสีย เพื่อมิให้ปะหมอไปสร้างเจดีย์ที่งดงามเช่นนี้ให้ผู้ใดอีก ปะหมอทนบาดพิษบาดแผลไม่ได้ ถึงแก่ความตาย เจ้าเมืองได้หล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้ เป็นเครื่องหมายแทนตัวปะหมอ ส่วนน้องชายที่ชื่อปะหมันได้ไปครองเกาะพัดหมัน และตึงรากอยู่ที่นั้นจนกระทั่งสิ้นชีวิต สถานที่ตั้งบ้านเรือนของปะหมันนั้นเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง มีนาล้อมเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ สมัยโบราณที่นี่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก คณะมโนราห์ที่เดินทางผ่านจะต้องหยุดไหว้รำร้องถวายมือ คณะใดไม่เคารพคนในคณะจะชัก หรือเกิดเหตุขัดข้องต่างๆ ถ้าใครไปตั้งคอกเลี้ยวหมูในบริเวณดังกล่าวหมูจะตายหมดทั้งคอก
ข้อมูลทั่วไป
องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถานสร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายานตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยได้อย่างสมบูรณ์แบบ จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ใช้ภาพพระบรมธาตุไชยาเป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำ จังหวัด และกล่าวกันว่าหากใครไม่ได้ไปสักการะพระบรมธาตุไชยาจะถือว่ายังไปไม่ถึงสุราษฎร์ธานีนอกจากนี้ ภายในบริเวณวัดยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยาจัดแสดงประติมากรรมศิลาและสัมฤทธิ์ที่ค้นพบในเมืองไชยาเก่า เปิดให้เข้าชม วันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. (หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามข้อมูล โทร. 0 7743 1066
ที่อยู่
50 หมู่ 3 ถนนรักษ์นรกิจ ไชยา, สุราษฎร์ธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น