วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566

พาเที่ยว วัดมังกรกมลาวาส

วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ (ตัวเต็ม: 龍蓮寺, ตัวย่อ: 龙莲寺, พินอิน: Lóng lián sì หลงเหลียนซื่อ, ฮกเกี้ยน: เล้งเหลียนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: เล่งเน่ยยี่, สำเนียงกวางตุ้ง: หล่งลิ่นจี๋, สำเนียงฮากกา: หลุ่งเหลี่ยนซื้อ) เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่างซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ นักแสวงบุญมักมาขอพรเพื่อสิริมงคล สะเดาะเคราะห์สำหรับผู้ที่เกิดปีชงในแต่ละปี





วัดนี้ มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า “วัดเล่งเน่ยยี่” เพราะคำว่า “เล่ง” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่า มังกร คำว่า “เน่ย” แปลว่า ดอกบัว และคำว่า “ยี่” แปลว่า วัด ชื่อวัดอย่างเป็นทางการคือ “วัดมังกรกมลาวาส” พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 130



วัดมังกรกมลาวาส
ถาวรวัตถุ

วัดนี้ก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2414 ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบทางจีนตอนใต้ของสกุลช่างแต้จิ๋ว โดยวางแปลนตามแบบวัดหลวง คือ มีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ ข้างหลังพระอุโบสถเป็นวิหารเทพเจ้า การสร้างใช้ไม้และอิฐเป็นวัสดุสำคัญ

จากประตูทางเข้า เข้าไปจะถึงวิหารท้าวโลกบาลทั้ง 4 มีเทวรูปเทพเจ้า 4 องค์ (ข้างละ 2 องค์) ในชุดนักรบจีนและถืออาวุธและสิ่งของต่าง ๆ กัน เช่น พิณ ดาบ ร่ม เจดีย์ ชาวจีนเรียกว่า “ซี้ไต๋เทียงอ้วง” หมายถึงเทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษา คุ้มครอง ทิศต่างๆ ทั้ง 4 ทิศ ถัดจากวิหารท้าวจตุโลกบาล คือ อุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานของวัด คือ พระโคตมพุทธเจ้า พระอมิตาภพุทธะ พระไภษัชยคุรุพุทธะ ทั้งหมด 3 องค์ หรือ “ซำป้อหุกโจ้ว” พร้อมพระอรหันต์อีก 18 องค์ หรือที่เรียกว่า “จับโป๊ยหล่อหั่ง”

ทางด้านขวามีเทพเจ้าต่าง ๆ หลายองค์ เช่น เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา หรือ “ไท้ส่วย เอี๊ยะ” เทพเจ้าแห่งยาหรือหมอเทวดา “หั่วท้อเซียงซือกง” และที่นิยมไหว้ขอพรมากคือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ “ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ” เทพเจ้าเฮ่งเจีย หรือ “ไต่เสี่ยหุกโจ้ว” พระเมตไตรยโพธิสัตว์หรือ “ปู๊กุ่ยหุกโจ้ว”ซึ่งคล้ายกับพระมหากัจจายนะ “กวนอิมผู่สัก” (หรือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์) “แป๊ะกง” และ “แป๊ะม่า” รวมเทพเจ้าในวัด จะมีทั้งหมด 58 องค์


วัดมังกรกมลาวาส
ประวัติ วัดมังกรกมลาวาส

วัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ หรือบางทีก็เรียกสั้นๆ ว่า วัดมังกร เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่างซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ซึ่งชื่อวัดเล่งเน่ยยี่ เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยคำว่า “เล่ง” แปลว่า มังกร คำว่า “เน่ย” แปลว่า ดอกบัว และคำว่า “ยี่” แปลว่า วัด วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2414 ด้วยสถาปัตยกรรมจีนตอนใต้ของสกุลช่างแต้จิ๋ว วางผังตามแบบวัดหลวง โดยมีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ และข้างหลังพระอุโบสถเป็นวิหารเทพเจ้า ซึ่งแต่ละอาคารมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ วิหารท้าวโลกบาล เป็นที่ประดิษฐาน “ซี้ไต๋เทียงอ้วง” ซึ่งเป็นเทวรูปเทพเจ้าสี่องค์ในชุดนักรบจีน โดยแต่ละองค์จะถือสิ่งของแตกต่างกัน ได้แก่ พิณ ดาบ ร่ม และเจดีย์



ชาวจีนเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษาทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศ อุโบสถ เป็นที่ประดิษฐาน “ซำป้อหุกโจ้ว” ซึ่งเป็นองค์พระประธานทั้งสามของวัด โดยองค์ซ้ายคือ พระอมิตาภพุทธเจ้า ทรงถือดอกบัว แสดงถึงดินแดนสุขาวดี จะประทานพรให้มีความสุขความเจริญ องค์กลางคือ พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า ทรงถือลูกแก้ว จะประทานพรในเรื่องหน้าที่การงาน และความสำเร็จ และองค์ขวาคือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยพุทธเจ้า ทรงถือรัตนเจดีย์ จะประทานพรให้สุขภาพแข็งแรง

ได้หมอดีรักษา นอกจากนี้ ภายในบริเวณยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระอรหันต์อีก 18 องค์ หรือที่เรียกว่า “จับโป๊ยหล่อหั่ง” อีกด้วย วิหารเทพเจ้า เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปเทพเจ้าต่างๆ อีกหลายองค์ เช่น องค์ไฉ่ซิงเอี๊ยะ” เทพเจ้าแห่งโชคลาภ “องค์ไท้ส่วยเอี๊ยะ” เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา และ “องค์หั่วท้อเซียงซือกง” เทพเจ้าแห่งยาหรือหมอเทวดา วัดเล่งเน่ยยี่ได้รับพระราชทานชื่อวัดเป็นภาษาไทยว่า “วัดมังกรกมลาวาส” จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2455


การเดินทางไปวัดมังกรกมลาวาส

– รถยนต์ (Car) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปยัง วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) มีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาที

– รถไฟใต้ดิน (MRT) ลงสถานีวัดมังกร และเดินต่อไปยังวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)

– รถประจำทาง (Bus) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขึ้นรถประจำทางสาย 542 ฝั่งพงหลี ไปลงที่เยาวราช แล้วเดินข้ามถนนไปเข้าซอยมังกรเพื่อไปออกถนนเจริญกรุง จากนั้นข้ามถนนไปยังวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 – 45 นาที



เวลาทำการเปิด-ปิด

เปิดทุกวัน 07:00 น. – 18:00 น.

อัตราค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว

ตลอดทั้งปี

วัดมังกรกมลาวาส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...