ถึง กาฬสินธุ์ จะถูกจัดให้เป็น เมืองรอง แต่สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์ก็สวยไม่เป็นรองจังหวัดอื่นเลยค่ะ โดยเฉพาะที่ วัดวังคำ วัดสวย กาฬสินธุ์ วัดไทยที่จำลองแบบจาก วัดเชียงทอง ในหลวงพระบางมาเป็นต้นแบบ สวยมากๆ ต้องไม่พลาดแวะไปเที่ยวกันแล้วค่ะ ตาม สลากไทพลัส และ กองสลากไท ไปทำความรู้จักกันก่อนเลยค่ะ
ภาพถ่ายภายในโบสถ์ วัดวังคำ
กองสลากไท : ประวัติ วัดวังคำ
สลากไทพลัส กองสลากไท นำข้อมูล วัดวังคำ มาดังนี้ แรกเริ่มที่สร้างวัดแห่งนี้ในปี พ.ศ. 2539 เริ่มจากการสร้างกุฏิเล็กๆ ศาลาเล็กๆ หลังคามุงหญ้าคาในพื้นที่เล็กๆ แต่ด้วยแรงจิตศรัทธาจากญาติโยมก็ทำให้ทางวัดได้ขยับขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญต่างๆ ของทางวัดเพิ่มเติมมากขึ้น โดยเฉพาะกับอาคารโบสถ์หลังงามนั้น ท่านเจ้าอาวาสให้ข้อมูลว่า ชุมชนบ้านนาวีถิ่นเกิดของท่านนั้นเป็นชุมชนชาวภูไทที่ไม่มีเอกลักษณ์ทางสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน
ด้วยความที่ชาวภูไทไม่ได้มีเฉพาะที่เมืองไทย หากแต่ยังมีที่ประเทศลาว บวกกับความที่ท่านชื่นชอบในศิลปะล้านช้าง ท่านจึงคิดที่จะนำศิลปะล้านช้างที่มีอิทธิพลอย่างมากในภาคอีสานมาผูกโยงกับเรื่องราววิถีชาวภูไทและความเชื่อโบราณของทางชุมชน
โดยท่านได้เลือก “วัดเชียงทอง” ที่เมืองมรดกโลก หลวงพระบาง แห่งสปป.ลาว มาเป็นต้นแบบ เพราะวัดเชียงทองได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมล้านช้างที่งดงามที่สุดในดินแดนลาว
หลังจากนั้นท่านเจ้าอาวาสก็เดินทางไปที่วัดเชียงทองเพื่อถอดแบบมาสร้างที่กาฬสินธุ์ ซึ่งในระหว่างนั้นท่านเจ้าอาวาสบอกกับผมว่า ท่านได้ไปไหว้ “พระม่าน” ที่หอพระม่าน(ข้างๆโบสถ์วัดเชียงทอง พร้อมตั้งจิตอธิษฐานว่ากลับเมืองไทยจะนำงานศิลปกรรมจากวัดเชียงทองไปสร้าง จากนั้นเมื่อกลับมาเมืองไทยก็ได้ดำเนินการก่อสร้างและงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีสมดังใจปรารถนา
ภาพถ่ายลวดลายความสวยงามของโบสถ์ วัดวังคำ
ความน่าสนใจของโบสถ์วัดวังคำ
สำหรับโบสถ์วัดวังคำนั้นเป็นการจำลองโบสถ์หรือสิมวัดเชียงทองมาสร้างแบบย่อส่วนลงมาเล็กน้อย ซึ่งหากดูเผินๆ จะมีรูปลักษณะโดยเฉพาะภายนอกที่คล้ายวัดเชียงทองมาก ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโบสถ์อันอ่อนช้อยโค้งงามทรงปีกนกปกคลุมต่ำซ้อน 3 ชั้นลดหลั่นกันลงมา (หรือที่เรียกกันว่าสถาปัตยกรรมแบบม้าต่างไหม) ด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น, มีลวดลายลงรักปิดทองประดับรูปเทพต่างๆ เป็นสีทองดูเน้นขับเด่นขึ้นมาบนแบ็กกราวนด์สีดำ, ค้ำยันหรือคันทวยทำลวดลายคล้ายที่วัดเชียงทอง ส่วนด้านหลังนั้นก็มีลวดลายประดับกระจกสี (หรือที่ชาวลาวเรียกว่าลาย “ดอกดวง”) อันสวยงาม
อย่างไรก็ดีหากพิจารณาในรายละเอียดก็จะพบว่าโบสถ์นี้ไม่ได้ก๊อปสิมวัดเชียงทองมาทั้งดุ้นหากแต่ในหลายจุดมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป เช่น ราวบันไดทางเข้าด้านหน้าของวัดเชียงทองทำเป็นบันไดโล้นๆ – แต่ที่วัดวังคำทำเป็นตัวสิงห์สีทอง 2 ตัวประดับอยู่, ที่วัดเชียงทองมีฮางฮดหัวช้าง(สำหรับให้น้ำพระพุทธมนต์ไหลผ่านจาก)-แต่ที่วัดวังคำไม่มี, บนกลางสันหลังคาที่วัดเชียงทองมีเครื่องยอดที่ชาวลาวเรียกว่า “ช่อฟ้า” ที่วัดเชียงทองมี 17 ช่อต่างกับช่อฟ้าในบ้านเรา(ส่วนช่อฟ้าในบ้านเราชาวลาวเรียกว่าโหง่)-ส่วนที่วัดวังคำทำเป็นฉัตร 5 ชั้น 9 ยอด, หน้าวัดเชียงทองทำเป็นลวดลายแบบลาว-ส่วนที่วัดวังคำประดับตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ภาพถ่ายด้านหน้าโบสถ์ วัดวังคำ
ความโดดเด่น
นอกจากโบสถ์อันงดงามวิจิตรแล้ว วัดวังคำยังมีงานพุทธศิลป์อิทธิพลศิลปะล้านช้างปรากฏให้เห็นในหลายจุดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น องค์พระธาตุสีทองอร่ามที่ได้รับอิทธิพลมาจากธาตุหลวง เมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว (พระธาตุองค์นี้ห้ามผู้หญิงขึ้นไปยังองค์พระธาตุ), ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ที่ภายในประดิษฐาน “หลวงปู่วังคำ” พระประธานศิลปะล้านช้างอันงดงาม หากสังเกตดีๆ จะเห็นพระพักตร์ของหลวงปู่วังคำอมยิ้มเล็กน้อย ดูขรึมขลังงดงามเปี่ยมศรัทธา
ภายในศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์ที่เจ้าอาวาสออกแบบให้สร้างแบบดั้งเดิมตามที่ท่านเคยเห็นเมื่อครั้งเป็นเด็ก (บางข้อมูลบอกว่าสร้างตามแบบวัดศรีนวล อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี) นอกจากนี้ภายในวัดวังคำก็ยังมีสิ่งน่าสนใจให้ชื่นชม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สักการะกันอีกหลายจุด ซึ่งพระครูสังวรฯ ท่านเจ้าอาวาสฝากบอกกับผมว่า สำหรับญาติโยมที่มาเที่ยววัด ต้องสำรวมกายวาจา เคารพกฎของวัด บางจุดห้ามผู้หญิงขึ้นก็อย่าขึ้น และอย่านุ่งน้อยห่มน้อยมาเข้าวัด เพราะมันผิดสถานที่ผิดกาลเทศะ
ที่อยู่และการติดต่อ
วัดวังคำ ตั้งอยู่ที่ บ.นาวี (หมู่ 7) ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ การเดินทาง จากถนนหมายเลข 229 ตลาด อ.เขาวง เข้ามาตามทางหลวงผ่านหมู่บ้านต่างๆ ไป 14 กม. ก็จะถึงบ้านนาวี ต.สงเปลือย อ.เขาวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น