วัดนางสาว เป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ในหมู่ที่ 7 บ้านตลาดท้องคุ้ง ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบข้อมูลมาว่า วัดนางสาว มีโบราณปูชนียสถานที่สำคัญ ได้แก่ โบสถ์มหาอุด (มีประตูเดียวและไม่มีหน้าต่าง) ในประเทศไทยอาจมีอุโบสถมหาอุดเหลืออยู่เพียง 3–4 แห่งเท่านั้น กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบว่าเป็นโบสถ์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลายทรงเรือสำเภาซึ่งปัจจุบันมีการซ่อมแซมปรับปรุงใหม่, อุทยานมัจฉาริมแม่น้ำท่าจีน, มณฑปหลวงพ่อดำ, มณฑปหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์, คุ้มนางพญา ซึ่งเป็นอาคารทรงไทย ภายในจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยอดีต ผู้คนมักมากราบไหว้หลวงพ่อมหาอุตม์
วัดนางสาว
ประวัติ วัดนางสาว จาก กองสลากไท
จากตำนาน ในสมัยอยุธยาตอนปลายได้เกิดสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่า กองทัพพม่าได้รุกรานมาจนถึงบ้านบางท่าไม้ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน ฝ่ายชายต้องออกไปรบ เหลือแต่สตรี เด็ก และคนชรา จึงได้อพยพจนได้ซ่อนตัวที่วัดร้างแห่งหนึ่ง มีพี่น้องสองสาวคู่หนึ่งได้อธิษฐานกับพระประธานว่า หากรอดมาได้จะทำการบูรณะวัดแห่งนี้ จนสงครามสงบ ทั้งสองคนจึงกลับมาบูรณะวัด โดยพี่สาวได้สร้างวัดใหม่ ชื่อว่า วัดกกเตย (ปัจจุบันไม่มีวัดนี้) ส่วนน้องสาวได้กลับมาบูรณะวัดแห่งนี้ ใช้ชื่อว่า วัดพรหมจารีย์ราม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดน้องสาว และได้เพี้ยนมาเป็น วัดนางสาว ในชื่อปัจจุบัน
อาคารเสนาสนะ วัดนางสาว
พระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา มีพาไลด้านหน้ายื่นมา 1 ห้อง เสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นประดับกระจก มีประตูบานเดียว ไม่มีหน้าต่าง มีการสร้างจิตรกรรมฝาผนังภายในเต็มไปทั้งผืน เจดีย์ก่ออิฐถือปูน ย่อมุมไม้สิบสองทรงระฆัง องค์ระฆังมีการตกแต่งด้วยลวดลายดอกไม้และพวงอุบะ ส่วนยอดเป็นบัวคลุ่มเถาและปลียอด
รายนามเจ้าอาวาส
พระนิล
พระแสง
พระแก้ว
พระครูถาวรสมณศักดิ์
พระครูนิเทศน์ธรรมสาคร พ.ศ. 2500
พระครูสถิตธรรมสาคร พ.ศ. 2500 – 2519
พระครูธรรมรัต พ.ศ. 2519 – ปัจจุบัน
รายละเอียดทางการท่องเที่ยว
เป็นพุทธศาสนสถานที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โบราณปูชนียสถานที่สำคัญ ได้แก่ “โบสถ์มหาอุด” ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลายทรงเรือสำเภา ซึ่งปัจจุบันมีการซ่อมแซมปรับปรุงใหม่, อุทยานมัจฉาริมแม่น้ำท่าจีน, มณฑปหลวงพ่อดำ, มณฑปหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์, คุ้มนางพญา ซึ่งเป็นอาคารทรงไทย ภายในจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยอดีต
ลวดลายฝาผนังโบสถ์มหาอุตตม์
ลวดลายฝาผนังโบสถ์มหาอุตตม์ โบสถ์มหาอุตตม์ พระอุโบสถหลังนี้มีชื่อว่า โบสถ์มหาอุตตม์ เรื่องจากเรียกตามลักษณะที่พิเศษกว่าโบสถ์ลักษณะอื่น ที่ว่า มีทางเข้าออกเพียงด้านเดียวและไม่มีหน้าต่าง สาเหตุที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะพิเศษเช่นนี้ อาจจะเนื่องมาจากพระอุโบสถลักษณะนี้นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีการสร้างจิตรกรรมฝาผนังภายในเต็มไปทั้งผืน การเปิดช่องหน้าต่างมากอาจทำให้ความต่อเนื่งของภาพนั้นสะดุดลงก็เป็นได้ หรืออีกความเห็นหนึ่งอธิบายว่า เนื่องเพราะต้องการจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ในการลงอาคมของขลัง การทำเป็นอาคารทึบก็เพื่อให้อาคมคงอยู่และมีพลังความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะอย่างไรก็ดี พระอุโบสถมหาอุตตม์ นี้ คงเหลืออยู่น้อยมากภายในประเทศไทย อาจเหลืออยู่เพียง 3-4 แห่งเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นศาสนโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ยิ่ง
กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาชม 10 ที่เที่ยว ระนอง เที่ยวได้ตลอดทั้งปีสายชิลห้ามพลาด
พาชมความสวยงามของ ป่าไผ่ซากาโนะ Sagano bamboo forest ป่าไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในโตเกียว
Zermatt (เซอร์แมตส์) ชนบทบนเทือกเขาแอลป์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
อุโมงค์แห่งความรัก (Tunnel of Love) ในยูเครน สวยงามดังเทพนิยาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น