ถ้ำเขาเกรียบ เป็นถ้ำที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบมาว่ามีบันไดขึ้นถึงปากถ้ำ 370 ขั้น ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย สวยงามมาก ส่วนบริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ท่องโลกของเถื่อนถ้ำที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของชุมพร โดยบริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ และคุณต้องเดินขึ้นบันไดไป 370 ขั้น จึงจะถึงปากถ้ำเขาเกรียบที่ตั้งอยู่บนเขา ครั้นเข้าไปภายในแล้วจะได้ตื่นตากับหินงอกหินย้อยที่สวยงามสวยงามมาก คุ้มค่ากับความเหนื่อยเลยทีเดียว
ข้อมูลทั่วไป ถ้ำเขาเกรียบ
ถ้ำเขาเกรียบ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงใน ต.บ้านควน อ.หลังสวน บริเวณเชิงเขาเป็นวัดถ้ำเขาเกรียบ ถ้ำนี้มีชื่อเสียงมากในด้านความสวยงามด้วยหินงอกหินย้อยที่ส่องประกายแวววาวล้อแสงไฟ มีบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อสำหรับเดินขึ้นไปชมถ้ำได้อย่างสะดวก
ภายในถ้ำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ กว้างขวาง เต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยงดงามมาก พื้นถ้ำจะต่างระดับกันพอสมควรแต่ก็ไม่มากนัก สามารถเดินชมความสวยงามได้โดยสะดวก เนื่องจากทางวัดได้ต่อหลอดไฟให้ภายในถ้ำ ทำให้สามารถเดินชมความมหัศจรรย์ของธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย เพดานถ้ำบริเวณห้องโถงมีปล่องเปิดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เมตร ให้แสงอาทิตย์ส่องเข้ามาภายใน ทำให้เกิดความสวยงามมาก ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีทางเดินถึงเชิงเขาแล้วขึ้นบันไดปูนไปสู่ถ้ำ เดินได้สบายไม่ชันนัก ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ทางวัดทราบก่อนว่าต้องการเข้าไปเที่ยวถ้ำจะได้เปิดไฟให้
ประวัติ ถ้ำเขาเกรียบ โดย กองสลากไท
ถ้ำแห่งนี้ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2504 ผู้ค้นพบคือ นายเหนย ศรีงาม และ นายช่วน ทั้งสองเป็นพรานพื้นบ้าน ขึ้นไปล่าสัตว์บนเขาและเห็นนกงางหรือนกเงือกตัวใหญ่กำลังกินลูกไทร เมื่อนกเห็นนายพรานทั้งสอง ก็บินออกไป พรานทั้งสองก็ติดตามไปจนพบถ้ำ ที่มีเถาวัลย์ปกคลุม เมื่อเข้าไปพบกับหินงอก หินย้อย ที่สวยงามมีแสงระยิบระยับ ต่อมาผู้ใหญ่บ้าน ชื่อนายฟื้น ครุฑมุสิก ได้แจ้งให้ทางอำเภอทราบ และอำเภอก็ได้ทำการประชาสัมพันธ์ จนกระทั่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ต่อมาในปี พ.ศ.2505 ได้เป็นสำนักสงฆ์ โดยหลวงพ่อแคล้ว ฐานิสสโร ตอนนั้นการขึ้นไปบนถ้ำต้องไต่เถาวัลย์ขึ้นไป ต่อมาปี พ.ศ.2518 ได้สร้างบันไดขึ้นเพื่อให้การขึ้นไปชมถ้ำสะดวกยิ่งขึ้น จำนวนบันไดทั้งหมด 376 ขั้น ต่อมาวันที่ 21 มิถุนายน 2533 ได้เปลี่ยนจากสำนักสงฆ์ เป็น “วัดถ้ำเขาเกรียบ”
วัน/เวลาเปิดทำการ
เปิด : ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ :
08:00 – 16:30 น.
พระพุทธรูปถ้ำเขาเกรียบ
ข้อมูลการติดต่อ
วัดถ้ำเขาเกรียบ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๘ บ้านเขาเกรียบ ซอย – ถนน –
ตำบล บ้านควน อำเภอ หลังสวน จังหวัด ชุมพร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
บุคคลอ้างอิง นางปรีดา ยังสุข
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
เลขที่ – หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 บ้านสามแก้ว ซอย – ถนน ไตรรัตน์
ตำบล นาชะอัง อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000
โทรศัพท์ 0 7750 7753 โทรสาร 0 7750 7776
การเดินทาง
ถ้ำเขาเกรียบอยู่ห่างจากจังหวัดชุมพรประมาณ 80 กิโลเมตร หรือประมาณ 10 กิโลเมตรจากอำเภอหลังสวน สามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 41 จนถึง กม. 77 ให้เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 6 กม.จะถึงวัดถ้ำเขาเกรียบ
สถานที่ตั้ง
จังหวัด ชุมพร อำเภอ อำเภอหลังสวน ตำบล บ้านควน 91140
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ถ้ำ
ภายในถ้ำ
สถานภาพ
แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ภายในเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่เต็มไปด้วยหินงอกหินย้อย เพดานถ้ำสูงเกือบ 10 เมตร มีเสาถ้ำขนาดใหญ่ เพดานบางส่วนเป็นช่องแสงสามารถลอดเข้ามาได้จำนวน 2 ช่อง เมื่อกระทบกับหินก็จะเกิดความแวววาว มีแอ่งหินปูนลดหลั่นกันเป็นระดับหลายชั้น มีสัตว์อาศัยอยู่และยังคงมีน้ำไหลเวียนในถ้ำ บริเวณปากถ้ำมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีขาวประทับนั่งประดิษฐานอยู่ และมีป้าย “เราคือผู้พิชิตถ้ำเขาเกรียบ” นอกจากนั้นทางวัดเขาเกรียบได้นำหลอดไฟและสปอร์ตไลท์มาติดตั้งภายในถ้ำด้วย สภาพทั่วไปมีการปรับสภาพพื้นที่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ประวัติการศึกษาทางโบราณคดี
ถ้ำเขาเกรียบถูกพบในปี พ.ศ. 2504 ผู้พบคือพรานเหนย ศรีงาม และพรานช่วน ต่อมาปี พ.ศ. 2505 ได้มีการตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น และเปลี่ยนเป็นวัดถ้ำเขาเกรียบในปี พ.ศ. 2533 เมื่อปี พ.ศ. 2552 มีกลุ่มโบราณคดีเข้ามาทำการสำรวจทางโบราณคดี
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ
หลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากคำบอกเล่าของพระถาวรจิตโต ในอดีตถ้ำเขาเกรียบพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เศษภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ ลูกปัด ขวานหินมีบ่า เป็นต้น แต่จากการสำรวจถ้ำเขาเกรียบ เมื่อวันที่ 24 - 25 มกราคม 2559 พบว่าปัจจุบันภายในถ้ำไม่พบโบราณวัตถุในสมัยก่อนประวัติศาตร์เลย
หลักฐานทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ เนื่องจากปัจจุบันถ้ำเขาเกรียบเป็นพุทธศาสนสถานจึงพบพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปองค์เล็กหลายองค์วางอยู่ตามมุมถ้ำ องค์ที่สำคัญคือ พระพุทธรูปบริเวณปากทางเข้าถ้ำ พระพุทธรูปประทับนั่งบริเวณโถงทางเข้า และพระพุทธรูปปางนาคปรก
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ
1) สภาพธรณีวิทยานอกถ้ำ
ถ้ำเขาเกรียบอยู่บนเขาเกรียบซึ่งเป็นหินปูนที่มีลักษณะเป็นเขาโดด มีระดับความสูงประมาณ 320 เมตร ทิวเขาวางตัวในทิศทางเกือบเหนือใต้ ลักษณะเป็น “ถ้ำเป็น” ยังคงมีการสะสมตัวของหินงอกหินย้อยอยู่ ปากถ้ำอยู่จากระดับพื้นดินประมาณ 100 เมตร มีบันไดทางขึ้นประมาณ 370 ขั้น ปัจจุบันมีการสำรวจและเปิดให้เข้าชมเฉพาะชั้นห้องโถงชั้นที่ 1 ซึ่งมีขนาดกว้างยาวมากกว่า 100 ตารางเมตร พบตะกอนถ้ำสะสมในลักษณะของหินงอก หินย้อย เสาหิน ทำนบหิน ม่านหินย้อย บนเพดานถ้ำมีปล่องถ้ำทำให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ลักษณะถ้ำยังคงสภาพธรรมชาติ ไว้มากเนื่องจากการเข้าถึงถ้ำค่อนข้างลำบาก ถ้ำเขาเกรียบเป็นหินปูน สีเทาถึงสีเทาดำ พบซากดึกดำบรรพ์จำพวกฟิวซูลินิด แบรคิโอพอด เป็นหินปูนยุคเพอร์เมียนช่วงล่าง (ประมาณ 285-260 ล้านปี)
2) สภาพธรณีวิทยาภายในถ้ำ
ประเภทของเขาเกรียบส่วนใหญ่เป็นถ้ำที่เคยแห้ง (dry cave) แต่ปัจจุบันมีการหล่อเลี้ยงถ้ำด้วยน้ำฝน และเกิดหินงอกใหม่ๆ อยู่ ทั้งไข่มุกถ้ำด้วย ตั้งอยู่วัดถ้ำเขาเกรียบ ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีลักษณะภูมิประเทศแบบหินปูน (Karst topography) มีลักษณะทางธรณีวิทยา ประกอบด้วยหินแข็งกลุ่มหินราชบุรี ยุคเพอร์เมียน (Permian: Pr) (รูปที่ 4-) หินที่พบในพื้นที่ประกอบด้วยหินปูน (Limestone) หินปูนโดโลไมต์เนื้อสีเทาจาง (Dolometic Limestone) และหินปูนเนื้อทราย (Sugary Limestone) หินยุคนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 250-300 ล้านปี แนวโถงถ้ำมีความยาวรวม 137.6 เมตร เป็นโถงมีแนวการวางตัวทิศทาง N60Wที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 129 เมตร (รูปที่ 4-) ถ้ำเขาเกรียบเป็นถ้ำที่มีปล่องแสงบนเพดานถ้ำบริเวณทางเข้าขนาดกว้างประมาณ 5 เมตร จำนวน 3 ปล่อง แร่ทุติยภูมิที่พบเป็นแร่แคลไซต์ (calcite) ได้แก่ หินงอก หินย้อย เสาหิน แพแคลไซต์ ไข่มุกถ้ำ และตะกอนภายในถ้ำ ได้แก่ เศษหินถล่ม ดินเหนียว ทรายละเอียด พบหลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการของถ้ำจำนวนมาก เช่น ระดับพื้นถ้ำเก่า ระดับน้ำภายในถ้ำในอดีต และปัจจุบันจากการสะสมตัวจากน้ำฝน หินถล่ม (ภาคผนวก)
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ
1 การสำรวจพรรณพืช พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ในแปลงสำรวจเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ผลัดใบ ไม้ต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตร หรือเส้นรอบวงตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ขึ้นไป มีจำนวนทั้งสิ้น 49 ต้น โดยต้นไม้ทั้งหมดสามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ 13 ชนิด ไม่สามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ 4 ชนิด โดยชนิดพันธุ์ที่เป็นไม้เด่นในสังคม 5 อันดับแรก คือ นนทรี (Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer. ex K.Heyne.) (กวด) เลือด (Syzygium chaviflorum Roxb) unknown1 คอรั้ง (Nephelium hypoleucum Kurz) และปอหูช้าง (Firmiana colorata (Roxb.)) ซึ่งมีค่าความสำคัญเท่ากับ 66.50, 30.28, 29.58, 23.12 และ 20.36 ตามลำดับ (ตารางที่ 4) พันธุ์ไม้ทั้งหมดมีความสูงตั้งแต่ 4-18 เมตร โดยพันธุ์ไม้ที่สูงที่สุดที่ 2 ชนิด คือ 18 เมตร คือ ต้นนนทรี และต้นลางสาดป่า ในขณะที่ต้นไม้ที่มีเส้นรอบวงมากที่สุด 107และ 77 เซนติเมตร คือ ต้นคอรังและต้นปอหูช้าง ตามลำดับ จากตารางแสดงค่าดัชนีค่าความสำคัญ พบว่า นนทรีซึ่งเป็นพันธุ์ไม้เด่นที่สุดในพื้นที่นี้ เป็นชนิดพันธุ์ที่พบเห็นได้ทั่วไป ประกอบกับมีจำนวนมาก และมีขนาดลำต้นที่ใหญ่กว่าพันธุ์ไม้อื่น ในขณะที่ต้นกวดเลือดและต้น unknown 1 เป็นพันธุ์ไม้ที่พบได้น้อยกว่า และมีขนาดลำต้นที่เล็กลงมา จึงกลายเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ความหลากหลายทางชีภาพโดยใช้ดัชนีความหลากหลายของ Shanon-Weiner (H’) พบว่า สังคมพืชบริเวณถ้ำเขาเกรียบมีค่าความหลากหลายทางชีวภาพเป็น 2.35 ซึ่งมีค่ามากกว่าความหลากหลายทางชีวภาพของถ้ำเขาปินะที่มีค่า 1.85 และถ้ำสุวรรณคูหาที่มีค่า 1.82 ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากความหนาแน่นและจำนวนต้นของพันธุ์ไม้ที่พบในแต่ละชนิดพันธุ์มีมาก ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ศึกษา ในขณะที่พันธุ์ไม้แต่ละชนิดที่พบที่ถ้ำเขาปินะและถ้ำสุวรรณคูหามีจำนวนและความหนาแน่นน้อยกว่าที่พบที่ถ้ำเขาเกรียบและถ้าภูผาเพชร
2 สิ่งมีชีวิตภายในถ้ำ-นอกถ้ำ สิ่งมีชีวิตที่พบภายในถ้ำ ได้แก่ ค้างคาว จิ้งหรีด สัตว์เลื้อยคลาน เป้นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น