วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

พาเที่ยว วัดติโลกอาราม จังหวัดพะเยา

กองสลากไท และ สลากไทพลัส ขอพาทุกท่านไปชม วัดติโลกอาราม หรือสันธาตุบวกสี่แจ่ง พระอารามหลวงในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2019–2029 ปัจจุบันตัววัดจมอยู่ใต้กว๊านพะเยา ยกเว้นส่วนยอดพระธาตุที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา เนื่องจาก พ.ศ. 2482 กรมประมงได้ก่อสร้างประตูกั้นน้ำ ทำให้น้ำแม่อิงและลำน้ำสาขาซึ่งไหลลงมาจากทิวเขาผีปันน้ำ เกิดการเอ่อล้นเข้าท่วมชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณหนองเอี้ยงจนเกิดทะเลสาบน้ำจืดขึ้นมา เรียกว่ากว๊านพะเยา ทำให้วัด โบราณสถาน และชุมชนโบราณจำนวนมาก จมอยู่ใต้น้ำ


วัดติโลกอาราม ตั้งอยู่ในเขตกว๊านพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

วัดติโลกอาราม
ประวัติ วัดติโลกอาราม จาก สลากไทพลัส

วัดติโลกอาราม เดิมมีเพียงยอดเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐดินเผา โผล่พ้นน้ำขึ้นมาในช่วงฤดูแล้ง ชาวบ้านที่ทำการประมงแถบกว๊านพะเยาเรียกว่า สันธาตุกลางน้ำ เนื่องจากเห็นเป็นส่วนของพระธาตุโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมา บริเวณโดยรอบ มีกลุ่มพืชน้ำขึ้นปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ. 2549 ได้มีการล่องเรือสำรวจกว๊านพะเยา คณะสำรวจซึ่งนำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ตัวแทนจากหอจดหมายเหตุ หอการค้าจังหวัด ได้ล่องเรือผ่านบริเวณสันธาตุกลางน้ำและเกิดความสนใจ เนื่องจากเป็นศาสนสถานเก่าแก่ที่มีมาก่อนกว๊านพะเยา ปี พ.ศ. 2550 คณะสำรวจพร้อมด้วยประธานฝ่ายสงฆ์คือพระธรรมวิมลโมลี ได้ลงเรือสำรวจพื้นที่อีกครั้ง เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสันธาตุกลางน้ำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด หนึ่งเดือนหลังการสำรวจพื้นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา นำชาวบ้านลงพัฒนาพื้นที่บริเวณสันธาตุกลางน้ำ มีการกำจัดวัชพืช ปรับปรุงสถานที่ มีการบูรณะสิ่งปลูกสร้างให้มีความแข็งแรง เพื่อรองรับน้ำหนักของคนที่ขึ้นไปนมัสการพระธาตุ ระหว่างการบูรณะ คณะทำงาน ค้นพบแผ่นหินทราย จารึกด้วยอักษรฝักขาม เมื่อส่งแผ่นหินทรายให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ ปรากฏว่า ข้อความที่จารึก ระบุประวัติของวัดไว้อย่างชัดเจน โดยข้อความบนแผ่นหินทรายระบุว่า วัดนี้ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2019 – 2029 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าติโลกราช เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักร



บวกสี่แจ่ง วัดติโลกอาราม

พื้นที่เดิมของวัดติโลกอาราม สร้างขึ้นบริเวณบวกสี่แจ่ง คำว่าบวกสี่แจ่ง เป็นภาษาถิ่น (บวก หมายถึงหนองน้ำ แจ่ง หมายถึงมุม) บวกสี่แจ่ง หมายถึงหนองน้ำบริเวณสี่แยก เนื่องจากพื้นที่วัดติโลกอาราม แต่เดิมเป็นพื้นที่ในบริเวณสี่แจ่งหรือสี่แยกอยู่ใกล้กับหนองเต่า พื้นที่ชุมชนริมหนองเต่านี้ ถือเป็นชุมชนโบราณ จนปี พ.ศ. 2482 กรมประมงได้สร้างประตูคอนกรีตขึ้นมากั้นน้ำแม่อิงและลำน้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลลงมาจากทิวเขาผีปันน้ำ ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นชุมชนโบราณ วัด หนองน้ำ ทั้งหมดจมอยู่ใต้ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาเรียกว่ากว๊านพะเยา

คำว่า บวกหรือแจ่ง สามารถพบได้ในชื่อสถานที่ ซึ่งก่อสร้างขึ้นมาในสมัยอาณาจักรล้านนา เช่น บวกหาด แจ่งศรีภูมิ แจ่งหัวลิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแจ่งเมืองเชียงใหม่

มุมสูงของวัด

จารึกหินทราย

จารึกวัดติโลกอาราม ค้นพบเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เป็นแผ่นหินทราย จารึกด้วยอักษรฝักขาม บอกเล่าประวัติความเป็นมาของวัด ผู้อุปถัมภ์วัด ผู้สร้าง และพิธีกรรมทางศาสนา ข้อความในจารึกให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพระราชทรัพย์สำหรับสร้างวัดนี้ขึ้น อักษรฝักขามที่ใช้บันทึก ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช อักษรชนิดนี้นิยมสลักลงบนแผ่นหิน โดยเฉพาะในเมืองพะเยานั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีจารึกหินทรายสมัยล้านนามากที่สุด เนื่องจากมีแหล่งสกัดหินเป็นของตัวเอง และเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง

เมืองพยาวหรือภูกามยาว เคยมีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงทางทิศใต้ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน กษัตริย์ที่ปกครองเมืองสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เชียงแสน ภูกามยาวดำรงสถานะนครรัฐอิสระหลังพ้นยุคหิรัญนครเงินยางเชียงแสนและเข้าสู่ยุคต้นของอาณาจักรล้านนาในรัชสมัยพญามังราย จวบจนพ้นรัชสมัยของพญางำเมือง กษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์เชียงแสน ภูกามยาวก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา และในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช ได้ทรงแผ่ขยายพระราชอำนาจออกไปทั่วทุกทิศ ดินแดนล้านนาในยุคสมัยของพระองค์ กินอาณาบริเวณไปจนจรดชายแดนจีนตอนใต้ ยุคสมัยนี้ นอกจากการศึกสงครามแล้ว พระพุทธศาสนาก็มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการส่งทูตไปยังลังกา ทำให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาเข้ามามีอิทธิพลอยู่ในล้านนา อีกทั้งยุคสมัยของพระเจ้าติโลกราช ยังมีการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ของโลก ทำให้เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักร ต่างมีการทะนุบำรุงพระศาสนา มีการสร้างวัดและคัดลอกพระไตรปิฎกกันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในวัดที่สร้างขึ้นมาในยุคของพระเจ้าติโลกราช ก็คือวัดติโลกอาราม และวัดนี้ ถือเป็นพระอารามหลวงหรือวัดหลวงในรัชสมัยอีกด้วย เนื่องจากเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทรัพย์ให้สร้างและรับเป็นองค์อุปถัมภ์



จารึกหินทรายวัดติโลกอาราม ปัจจุบัน ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา

วัดติโลกอาราม

วัดติโลกอาราม

วัดติโลกอาราม

พระพุทธรูปศิลา

ปี พ.ศ. 2526 มีการค้นพบพระพุทธรูปใต้กว๊านพะเยา เป็นพระพุทธรูปหินทราย ปางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างพะเยา หน้าตักกว้าง 105 เซนติเมตร ชาวบ้านได้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาจากน้ำ จากนั้นทางจังหวัดพะเยาได้เชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีอุโมงค์คำ จนปี พ.ศ. 2550 ได้มีการบูรณะสันธาตุบวกสี่แจ่งขึ้นมา มีการตั้งฐานบุษบกด้วยอิฐดินเผา และได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปหินทรายจากวัดศรีอุโมงค์คำมาประดิษฐานไว้บนฐานบุษบกบริเวณลานซึ่งสร้างขึ้นมาเหนือน้ำ ที่วัดติโลกอาราม


เวียนเทียนกลางน้ำ

การเวียนเทียนที่วัดติโลกอาราม มีความแตกต่างจากการเวียนเทียนในวัดอื่น ๆ คือผู้ที่เข้ามาเวียนเทียน จะนั่งอยู่บนเรือแจวเพื่อทำการเวียนเทียนรอบลานอิฐดินเผาและพระธาตุที่โผล่พ้นผิวน้ำ เนื่องจากอุโบสถของวัด จมอยู่ใต้กว๊านพะเยา โดยในแต่ละปีจะมีการเวียนเทียนทั้งหมด 3 ครั้ง คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา ซึ่งการเวียนเทียนกลางน้ำนี้ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สนับสนุนโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การเดินทาง

วัดติโลกอาราม สามารถเดินทางจากแยกประตูชัยเข้าสู่ตัวเมืองพะเยา โดยใช้ถนนประตูชัย และถนนพหลโยธิน จากนั้นจึงเลี้ยวซ้ายบริเวณธนาคารกสิกรไทย ตามถนนท่ากว๊าน จนถึงท่าเรือกว๊านพะเยา


สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...