วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

พาไปขอพรใน เทศกาลทานาบาตะ เมืองต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น

สวัสดีทุกคน วันนี้ สลากไทพลัส ร่วมกับ กองสลากไท ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ เทศกาลทานาบาตะ ตำนานความรักของเจ้าหญิงทอผ้า โอริฮิเมะ และชายเลี้ยงวัว ฮิโกโบชิ ก่อกำเนิดเป็นวันทานาบาตะ ที่ผู้คนจะเขียนคำอธิษฐานลงบนกระดาษ และนำไปผูกไว้กับกิ่งไผ่ ลองมาสัมผัสเทศกาลทานาบาตะกันได้ใจกลางเมือง ทั้งโตเกียวและเกียวโต



 ตามความเชื่อของคนญี่ปุ่นที่ได้เล่ากันต่อๆ กันมาว่า ดวงดาวสองดวงนี้ต้องพลัดพรากจากกันโดยมีทางช้างเผือก หรือที่คนญี่ปุ่นสมัยโบราณตั้งชื่อให้ว่า อามาโน่ คาวา ซึ่งแปลตามศัพท์ตรงๆ ว่า แม่น้ำแห่งสวรรค์ และแม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสายที่ขวางกั้นดวงดาวสองดวงให้ต้องพลัดพรากจากกัน แต่ในทุกๆ ปี ของวันที่ 7 เดือน 7 (กรกฏาคม) ซึ่งเป็นวันที่ทางช้างเผือกจะออกมาปรากฏบนท้องฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ทำให้สามารถมองเห็นกันได้ในทุกๆ ปี จะเป็นวันที่ดวงดาวสองดวง จะได้มีโอกาสได้กลับมาพบกันสมดังใจที่คิดถึงและปรารถนาของดวงดาวทั้งสองนั่นเอง

และในวันนั้นก็เป็นวันที่มีการให้กำเนิดพิธีทานาบาตะ ขึ้นโดยคนญี่ปุ่นจะเชื่อถือและเล่ากันต่อๆ มาสู่ลูกๆ หลานๆ ว่า ให้ไปตัดต้นไผ่ นำมาปักไว้ในรั้วบ้าน และให้เขียนคำอธิษฐานใส่กระดาษ นำไปผูกไว้ที่ต้นไผ่ที่ ตัดมา แล้วคำอธิษฐานอันนั้นก็อาจจะได้ผลสมประสงค์สมดังใจปรารถนาเหมือนๆ กับ โอริ ฮิเมะ และ ฮิโกโบชิ ที่ได้สมหวัง และได้พบกันในวันนั้นนั่นเอง



สลากไทพลัส : เทศกาลทานาบาตะ มีอะไรน่าสนใจบ้าง

ใน เทศกาลทานาบาตะ จะมีการจัดการแสดงระบำนกกระจอก ที่มีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี ซึ่งเป็นระบำพื้นเมืองที่ผู้รำจะใช้สองมือถือพัดด้ามจิ๋วร่ายรำหรือเต้นไปมาเลียนแบบท่านกกระจอก ซึ่งปัจจุบันนิยมนำมาแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวและเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเข้าร่วมในการร่ายรำด้วยกัน ซึ่งสร้างความสนุกสนานให้กับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก สลากไทพลัส กองสลากไท

ปัจจุบันถือเอาวันที่ 7 เดือนกรกฎาคม ตามปฏิทินเกรโกเรียนเป็นหลัก แต่หากย้อนกลับไปสมัยก่อนยุคเมจิที่ญี่ปุ่นยังใช้ปฏิทินระบบจันทรคติอยู่ ก็จะเป็นวันที่ 7 เดือนสิงหาคม บางเมืองก็มีการจัดงานเทศกาลทานาบาตะกันอย่างใหญ่โต แต่ละที่อาจมีวันเวลาที่ไม่ตรงกัน แต่ลักษณะของงานส่วนใหญ่จะคล้ายกันคือ การประดับต้นไผ่ด้วยกระดาษหลากสี มักจะจัดงานกันที่ย่านร้านค้า, ห้าง, หน้าที่ทำการเขต, โรงเรียน หรือหน้าสถานี

มีการทำกระดาษหลากสีนั้นไม่ใช่กระดาษเปล่าธรรมดาๆ แต่เป็นกระดาษสำหรับขอพรที่เรียกว่า “ทันซากุ” ให้เขียนคำอธิษฐานลงบนกระดาษเพื่อขอพรจากเทพเจ้าให้คำอธิษฐานเป็นจริง แล้วนำไปผูกไว้ที่กิ่งไผ่ ที่ใช้ต้นไผ่นี้ก็มีที่มาจาก เวลาต้นไผ่เติบโตจะพุ่งตรงสูงขึ้นไปบนฟ้าเรื่อยๆ ประหนึ่งมีพลังพิเศษแฝงอยู่ จึงเชื่อกันว่าในต้นไผ่จะต้องเป็นที่สถิตของเทพเจ้าแน่ๆ



เทศกาลทานาบาตะ ในญี่ปุ่นมีที่ไหนบ้าง

คัปปะบาชิ (Kappabashi) เป็นย่านขายอุปกรณ์เครื่องครัว ตั้งอยู่ระหว่างที่เที่ยวชื่อดังที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างอาซากุสะและอุเอโนะ ทุกปีจะมีการจัดงานเทศกาลทานาบาตะ ตลอดสองข้างทางของถนนจะประดับประดาไปด้วยโคมพู่หลากสี ในช่วงวันงานหลักจะห้ามรถผ่าน เปิดเป็นถนนคนเดิน มีร้านแผงลอยยะไต และการแสดงมากมาย ซึ่งมีกำหนดการ : 5 – 9 กรกฎาคม 2018



ศาลเจ้าคิฟูเนะ (Kifune Shrine) ในจังหวัดเกียวโต มีการจัดงานเทศกาลทานาบาตะทุกปี ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ถึง ปลายเดือนสิงหาคม ในตอนกลางคืนจะมีการประดับไฟไลท์อัพอย่างสวยงาม มีกระดาษขอพรเตรียมไว้ให้พร้อมด้วย มีกำหนดการ : 1 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2018 ในเวลา : ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน ถึง 20:00 (วันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดถึง 21:00)

โตเกียว ดิสนีย์ รีสอร์ท ถ้าอยากร่วม เทศกาลทานาบาตะ ในแบบสมัยใหม่หน่อย แนะนำให้ไปที่ โตเกียว ดิสนีย์ รีสอร์ท (Tokyo Disney Resort) เพราะมีจัดงาน “ดิสนีย์ทานาบาตะเดย์” ทั้งที่ดิสนีย์แลนด์และดิสนีย์ซีเลย แถมยังได้สนุกไปกับขบวนพาเหรด ดอกไม้ไฟ ไปพร้อมๆ กับเหล่าผองเพื่อนดิสนีย์ด้วย มีกำหนดการจัดงานดิสนีย์ทานาบาตะเดย์ : 6 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม 2018

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 




อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




พามาเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด กรุงเทพมหานคร

สวัสดีทุกคน วันนี้ สลากไทพลัส ร่วมกับ กองสลากไท ขอพาทุกคนไป พามาเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่เจ้าของบ้าน คือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือ เสด็จในกรมฯ และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือ “คุณท่าน” ได้เปิดบ้านซึ่งหลายคนรู้จักในนาม “วังสวนผักกาด” ให้บุคคลภายนอกเข้าชมในขณะที่ท่านเจ้าของยังคงใช้เป็นที่พำนักนับแต่ พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา



ด้วยนิสัยและความรักในการสะสม เสด็จในกรมฯ ทรงรวบรวมศิลปะและโบราณวัตถุอันล้ำค่าที่สืบทอดมาจาก จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ) ต้นราชสกุลบริพัตร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี นอกจากนี้ เสด็จในกรมฯ และ “คุณท่าน” ต่างร่วมกันสะสมศิลปะและโบราณวัตถุชิ้นสำคัญอื่นๆ ของทั้งชาติไทย และของโลกไว้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเก็บรวบรวมไว้ ณ วังสวนผักกาด



กองสลากไท : ภายใน พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ประกอบด้วยอะไรบ้าง

สลากไทพลัส และ กองสลากไท ภายในบริเวณ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ประกอบด้วยเรือนไทยโบราณ 8 หลัง บางหลังเป็นของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ซึ่งเป็นต้นสกุลทางพระมารดาของทูลกระหม่อมบริพัตรฯ พระราชบิดาของเสด็จในกรมฯโดยแต่ละหลังจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่างๆ ได้แก่

เรือนไทยหลังที่ 1 ชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พระพุทธรูปสมัยต่างๆ เทวรูปในศิลปะลพบุรี เป็นต้น ชั้นล่างจัดแสดงเครื่องดนตรีไทยของทูลกระหม่อมบริพัตรฯ เช่น กลองโบราณขนาดใหญ่ ซอสามสาย

เรือนไทยหลังที่ 2 จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของเสด็จในกรมฯ และ “คุณท่าน” เช่น ตะลุ่มและเตียบประดับมุก ตลับงาช้าง ขวดน้ำหอมจากต่างประเทศ เป็นต้น

เรือนไทยหลังที่ 3 ชั้นบนจัดแสดงเครื่องเบญจรงค์ เครื่องถมเงิน เครื่องถมทอง ส่วนชั้นล่างเป็น”ห้องอาลีบาบา” จัดแสดงหินสวยงามแปลกทั้งในและต่างประเทศ

เรือนไทยหลังที่ 4 เป็นห้องพระ ภายในจัดแสดงพระพุทธรูปสมัยต่างๆหน้าห้องพระจัดแสดงบานประตูประดับมุกสมัยอยุธยาตอนปลาย

เรือนไทยหลังที่ 5 ชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงและแหล่งโบราณคดีอื่นๆในประเทศไทยส่วนชั้นล่างจัดแสดงหิน เปลือกหอย และซากสัตว์โบราณขนาดเล็กที่อยู่ในหินฟอสซิล

เรือนไทยหลังที่ 6 เป็นพิพิธภัณฑ์โขน นำเสนอเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวการแสดงโขน ภายในจัดแสดงหัวโขนตัวละครสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ หุ่นละครเล็ก และตุ๊กตาดินเผาแสดงเรื่องราวแต่ละตอนของรามเกียรต์

เรือนไทยหลังที่ 7 จัดแสดงเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาต่างๆ เช่น เครื่องสังคโลกจากสุโขทัย เครื่องถ้วยเตาเวียงกาหลงจากเชียงราย เครื่องถ้วยจีน เครื่องเคลือบสีเขียว ศิลปะพม่าเป็นต้น

เรือนไทยหลังที่ 8 จัดแสดงเครื่องแก้วลายทอง เครื่องแก้วคริสตัล เครื่องเงิน และเครื่องลายครามจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงแจกันรูปผักกาดที่เป็นสัญลักษณ์ของวัง



สลากไทพลัส : วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ

ประติมากรรมเทวสตรี ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระอุมา ศิลปะลพบุรี ถือเป็นหลักฐานด้านประติมากรรมขอมที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย

หอเขียนลายรดน้ำ สมัยอยุธยาตอนปลาย สถาปัตยกรรมชิ้นเอกของวังสวนผักกาด

โบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี

ขอบคุณข้อมูล https://www.museumthailand.com/th/museum/Suan-pakkad-palace-museum

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




พาชม พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

สวัสดีทุกคน วันนี้ สลากไทพลัส ร่วมกับ กองสลากไท ขอพาทุกคนไป พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย เกิดจากความหลงใหลในงานศิลปะของคุณบุญชัย เบญจรงคกุล แต่เหตุผลหลักที่ทำให้คุณบุญชัยฯ เปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยอย่างเป็นทางการ คือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเชิดชูเกียรติของบิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี



ตัวอาคารได้แนวความคิดมาจาก การนำหินทั้งก้อนมาแกะสลักอย่างประณีตบรรจงเป็นลายก้านมะลิ อันแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ในขณะเดียวกัน ลายฉลุ จะทำให้แสงธรรมชาติสามารถส่องลงมาในอาคาร รวมทั้งแสงที่ส่องลงมาในช่วงเวลาและฤดูกาลที่แตกต่างกันยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปด้วย ภายในอาคารแบ่งส่วนจัดแสดงเป็น 5 ชั้น



สลากไทพลัส : อาคารจัดแสดง พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
สลากไทพลัส กองสลากไท ภายในอาคาร พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย แบ่งส่วนจัดแสดงเป็น 5 ชั้น คือ


ชั้น G ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงนิทรรศการ 4 ห้อง แบ่งเป็นห้องสำหรับนิทรรศการหมุนเวียน 2 ห้อง และอีก 2 ห้อง เป็นนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติและศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาประติมากรรม ได้แก่


ห้องที่ 1 จัดแสดงผลงานของศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินแห่งชาติสาขาประติมากรรม

ห้องที่ 2 จัดแสดงผลงานประติมากรรมของไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ศิลปินแห่งชาติสาขาประติมากรรม

ชั้น 2 จัดแสดงความหลากหลายในปัจเจกภาพทางความคิด ผลงานศิลปะล้วนสะท้อนวิถีชีวิตของยุคสมัย ทัศนะ ความคิด อุดมคติ และความเป็นไปของเหตุการณ์ในสังคม อาทิ ผลงานสื่อผสมของกมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรมและสื่อผสม) ในส่วนของห้องนิทรรศการผลงานส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความเชื่อของคนไทย ค่านิยมทางสังคม รวมถึงงานจิตรกรรมเชิงพุทธปรัชญา โดยศิลปินแห่งชาติ เป็นต้น


ชั้น 3 เน้นศิลปะเชิงความคิดฝันและจินตนาการภายใต้คติความเชื่อของคนไทยผ่านภาพ อาทิ ภาพ “ตำนานวังหน้า” ภาพ “นางผมหอม” นอกจากนี้ยังมีเรือนไทยไม้สัก “เรือนนางพิม” ซึ่งจัดแสดงงานจิตรกรรมสองยุคสมัย ที่เล่าเรื่องราวของนางพิมพิลาไลย สตรีจากวรรณกรรมไทยที่ถูกกล่าวขานใน 2 บริบท ผ่านเรื่อง “ขุนช้าง-ขุนแผน” ใน 2 รูปแบบที่แตกต่างกันโดยเหม เวชกร และสุขี สมเงิน

ชั้น 4 จัดแสดงผลงานที่ถือเป็นสุดยอดแห่งมหากาพย์ของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ประกอบด้วย ผลงานทุกประเภทของถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) นอกจากนี้ยังรวบรวมผลงานของศิลปินชั้นเยี่ยมซึ่งหาชมได้ยากยิ่ง อาทิ ทวี นันทขว้าง, เฟื้อ หริพิทักษ์, จักรพันธุ์ โปษยกฤต, ประกิต บัวบุศย์, อังคาร กัลยาณพงษ์


อีกฟากของอาคารเมื่อเดินทะลุสะพานข้ามจักรวาล จะได้พบกับผลงานจิตรกรรมขนาดความสูง 7 เมตร จำนวน 3 ภาพในชุด “ไตรภูมิ” บอกเล่าการเวียนว่ายตายเกิด ของสรรพสัตว์ในสังสารวัฏตามคติความเชื่อในทางพุทธศาสนา โดย สมภพ บุตราช, ปัญญา วิจินธนสาร และประทีป คชบัว

ชั้น 5 รวบรวมงานศิลปะร่วมสมัยจากหลายประเทศ เช่น จีน, เวียดนาม, มาเลเซีย, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, ออสเตรเลีย, นอร์เวย์ และห้องที่โดดเด่นที่สุดคือห้อง Richard Green ซึ่งจำลองห้องนิทรรศการจากพิพิธภัณฑ์ในแถบยุโรปที่มีหลังคากระจกโค้งรับแสงธรรมชาติ โดยจัดแสดงผลงานจิตรกรรมจากศิลปินยุโรปฝีมืออันดับต้นๆ ในยุคพระนางเจ้าวิคตอเรียซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 รวมถึงผลงานของ Sir Lawrence Alma Tadema และ John William Godward ผลงานทุกชิ้นถูกดูแลรักษาอย่างดี ผลงานบางชิ้นมีอายุเกือบ 300 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ที่ตั้ง : เลขที่ 499 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10900

Website: http://www.mocabangkok.com/

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




พาชม อุทยานธรณีสตูล อุทยานธรณีโลกแห่งแรกของโลก

สวัสดีทุกคน วันนี้ สลากไทพลัส ร่วมกับ กองสลากไท ขอพาทุกคนไปพาชม อุทยานธรณีสตูล อุทยานธรณีโลกแห่งแรกของโลก อุทยานธรณียังครอบคลุมไปถึงวิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และธรรมชาติอื่น ๆ ในอาณาบริเวณเดียวกันด้วย โดยพื้นที่ซึ่งจะประกาศให้เป็นอุทยานธรณีนั้นอาจจะครอบคลุมแหล่งชุมชน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ผืนป่า หรือท้องทะเลได้ทั้งสิ้น ขอเพียงแต่ให้สิ่งที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกัน เพราะขอบเขตพื้นที่เป็นเพียงการประกาศให้รู้ว่าพื้นที่ตรงไหนที่ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานธรณี




สำหรับอุทยานธรณีสตูลนั้น ได้ประกาศขอบเขตพื้นที่คลุมใน ๔ อำเภอของจังหวัดสตูล คือ อำเภอทุ่งหว้า อำเภอมะนัง อำเภอละงู และบางส่วนของอำเภอเมืองฯ โดยประกาศคลุมพื้นที่ของ ๒ อุทยานแห่งชาติไปด้วย คือ อุทยานแห่งชาติตะรุเตาและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา โดยมีที่ทำการอุทยานธรณีสตูลอยู่ในบริเวณเดียวกันกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าและที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้านั่นเอง




กองสลากไท : ประวัติความเป็นมาของ อุทยานธรณีสตูล

โดยแต่เดิมพื้นที่อำเภอทุ่งหว้าเป็นแค่อำเภอทางผ่านของผู้คนที่เดินทางมาจากอำเภอละงูเพื่อจะไปตัวเมืองสตูล แม้ว่าในอดีตทุ่งหว้าจะเคยเป็นเมืองท่าชื่อเมืองสุไหงอุเป ที่พ่อค้าทางเรือจะนำเรือล่องเข้ามาตามปากแม่น้ำเพื่อขายสินค้าที่บรรทุกมา พร้อมกับรับซื้อสินค้าทางการเกษตรลงเรือไปค้าขายต่อ แล้วก็เช่นเดียวกับเมืองท่าติดทะเลทั้งหลาย ที่นานวันเข้าก็สร้างโกดังเก็บสินค้าจนกระทั่งลงหลักปักฐาน จนอำเภอทุ่งหว้าเป็นอำเภอหนึ่งที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยกันอยู่มาก โดยปลูกสร้างตึกแถวลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “โคโลเนียลสไตล์” อยู่กันเป็นแถวเรียงรายริมถนนสายสำคัญในย่านชุมชนทุ่งหว้า

แต่ทุ่งหว้าก็หลีกไม่พ้นความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยไปได้ เมื่อหมุดหมายปลายทางของคนมาสตูลคือลงไปเที่ยวเกาะตะรุเตา ถนนที่เชื่อมจากอำเภอหาดใหญ่สู่รัตภูมิและอำเภอละงู เพื่อลงเรือไปหลีเป๊ะ ตะรุเตา ได้ตัดอำเภอทุ่งหว้าและตัวจังหวัดสตูลออกจากเส้นทางโดยสิ้นเชิง

ชุมชนอาคารร้านค้าที่เคยคึกคักจากการค้าขายทางเรือกลับเงียบเชียบ อาคารโคโลเนียลหลายแห่งถูกรื้อถอนเพื่อปลูกสร้างอย่างอื่น บ้างก็ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ปัจจุบันคงหลงเหลืออยู่ไม่มากในย่านสี่แยกตลาดทุ่งหว้า เพื่อยืนยันว่าทุ่งหว้าในอดีตไม่ได้เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนแต่อย่างใด หากเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนเช่นกัน จนกระทั่งการค้นพบที่นำมาสู่การจัดตั้งเป็น อุทยานธรณีสตูล ที่ทำให้ชื่อของอำเภอทุ่งหว้าหวนกลับมาเป็นที่รับรู้ของผู้คนอีกครั้งหนึ่ง สลากไทพลัส กองสลากไท



แหล่งท่องเที่ยวใน อุทยานธรณีสตูล

แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในพื้นที่อุทยานธรณีสตูลนั้น มีความโดดเด่น มีความหลากหลายค่อนข้างมาก ทั้งทางธรรมชาติที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรณี แล้วมีการทำกิจกรรมศึกษาธรรมชาติ ทั้งการนั่งเรือยางเข้าเที่ยวชมถ้ำลอดวังกล้วย ซึ่งตั้งชื่อใหม่ว่าถ้ำเลสเตโกดอน ตามชื่อช้างสเตโกดอนที่พบฟันกรามในถ้ำ และเป็นที่มาของการสำรวจและจัดตั้งอุทยานธรณีสตูล จนกระทั่งไปถึงระดับขึ้นทะเบียนกับยูเนสโกให้เป็นอุทยานธรณีโลกทางธรณี

ถ้ำเลสเตโกดอน เป็นถ้ำลอดขนาดใหญ่ที่ยาวนับกิโลเมตร ใช้เวลาล่องนานร่วม ๓ ชั่วโมง นอกจากความสวยงามของหินย้อยและปรากฏการณ์ถ้ำต่าง ๆ ภายในแล้ว ยังมีฟอสซิลสัตว์โบราณ เช่น นอติลอยด์ ปรากฏตามเพดานถ้ำหลายแห่ง ครั้นออกมานอกถ้ำ นั่งเรือมาจนถึงท่าน้ำอ้อย ที่เป็นเหมือนสวนสาธารณะของอำเภอทุ่งหว้า ยังสามารถลงเรือไปดูแนวสันทรายที่เรียกว่า “สันหลังมังกร” ช่วงทะเลเปิดรอยต่อกับจังหวัดตรังได้ด้วย

ถ้ำเจ็ดคต ที่แม้จะสั้นกว่าถ้ำเลสเตโกดอนหลายเท่า แต่ความสวยงามนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันแต่อย่างใด ทั้งยังมีกิจกรรมล่องแก่งวังสายทอง หรือเที่ยวน้ำตกวังสายทองที่อยู่ใกล้ ๆ ได้ด้วย

ภูผาเพชรสามารถเดินทางเข้าไปเยี่ยมชนเผ่ามันนิ หรือซาไก ที่อาศัยสร้างเพิงและกระท่อมในชายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดได้ พวกเขายังมีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีแต่เพียงใส่เสื้อผ้าแล้วเท่านั้น กระท่อมที่อยู่อาศัยไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก

ที่มา : https://thai.tourismthailand.org/Article

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส

พาชม อุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพมหานคร

สวัสดีทุกคน วันนี้ สลากไทพลัส ร่วมกับ กองสลากไท ขอพาทุกคนไปพาชม อุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพมหานคร จัดตั้งให้เป็นห้องเรียนธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนผู้สนใจ ตามแนวคิดของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานในพิธีเปิด



อุทยานผีเสื้อและแมลง จัดเป็นห้องเรียนธรรมชาติสำหรับการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับผีเสื้อและแมลง สอดคล้องกับมาตรา25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่กำหนดว่าการศึกษาเรียนรู้มิได้มีเฉพาะห้องเรียนเท่านั้น อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า วิจัย รวบรวมข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อและแมลง วงจรชีวิต(Life cycle) ความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity) ความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ(Ecosystem)



ความสำคัญของพันธุ์ไม้ที่เป็นพืชอาหารของหนอนผีเสื้อ ผู้เยี่ยมชมได้รับความรู้ เห็นคุณค่า ให้ความร่วมมือรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจโดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมผีเสื้อในต่างจังหวัด

กองสลากไท ร่วมกับ สลากไทพลัส : เรือนเพาะเลี้ยงผีเสื้อและแมลง

อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานครดำเนินการเพาะเลี้ยงผีเสื้อกลางวันเพื่อการศึกษาเรียนรู้ประกอบด้วย

เรือนพ่อและแม่พันธุ์ผีเสื้อ เพื่อสะดวกในการเก็บไข่ผีเสื้อ นำไปอนุบาลเพาะเลี้ยงต่อไป มีลักษณะโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศแบบธรรมชาติ จัดวางพันธุ์ไม้พืชอาหาร พันธุ์ไม้พืชน้ำหวานสำหรับผีเสื้อตัวเต็มวัย



เรือนเพาะเลี้ยง สำหรับเพาะเลี้ยงดูแลอนุบาล ไข่ วัยหนอนและวัยดักแด้ของผีเสื้อ เรือนเพาะเลี้ยงมีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนอบอ้าวเหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของหนอนและดักแด้ที่สมบูรณ์

แปลงปลูกพืชน้ำหวานและพืชอาหารหนอนของผีเสื้อ โดยจัดปลูกพืชอาหาร พืชน้ำหวาน พืชวางไข่ ในพื้นที่รับผิดชอบให้มีปริมาณเพียงพอต่อการเพาะเลี้ยงผีเสื้อ เช่น มะขวิด มะนาวเทศ มะนาวผี ไฟเดือนห้า เข็มชนิดต่างๆ ผกากรอง

กรงแสดงผีเสื้อ เพื่อการเยี่ยมชมผีเสื้อมีชีวิตโบยบินในกรงจัดแสดง จัดภูมิทัศน์เลียนแบบธรรมชาติ ด้วยพันธุ์ไม้พืชอาหารหนอน พืชวางไข่ พืชให้น้ำหวาน พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น



ข้อมูลเพิ่มเติม

อุทยานผีเสื้อและแมลง จัดตั้งให้เป็นห้องเรียนธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนผู้สนใจ ตามแนวคิดของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานในพิธีเปิด การเปิดให้บริการแก่ประชาชนเข้าเยี่ยมชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์เวลา 08.30 – 16.30น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สลากไทพลัส กองสลากไท

​ที่ตั้ง : สวนวชิรเบญทัศ (สวนรถไฟ) เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

วันเวลาทำการ : วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 08:30-16:30 น.

ขอบคุณข้อมูล : https://webportal.bangkok.go.th/chatuchakmetropark/page/sub/

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 

www.สลากไทพลัส.com




อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส



กองสลากไท สลากไทพลัส วัดหมื่นสาร


วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

กองสลากไท สลากไทพลัส ด่านเจดีย์สามองค์

 

สลากไทพลัส พาเที่ยว ด่านเจดีย์สามองค์

กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาไปเที่ยว ด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองลู เป็นเขตสิ้นสุดชายแดนฝั่งตะวันตกของไทย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 215 กิโลเมตร กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบมาว่า ด่านเจดีย์สามองค์ บริเวณด่านมีเจดีย์ 3 องค์ ตั้งเรียงกันในแนวยาว ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม ด้านบนเป็นทรงกลม ยอดแหลม มีสีขาวขนาดไม่ใหญ่นัก ในอดีตเป็นเพียงกองหินที่ชาวบ้านนำมาวางไว้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางผ่านไปยังพม่า

ด่านเจดีย์สามองค์

ลักษณะเด่น ด่านเจดีย์สามองค์

  • ด่านชายแดนไทย
  • พม่า
  • พระเจดีย์สามองค์ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
  • พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณ
  • เป็นเส้นทางเชื่อมโยงไทย
  • พม่าที่สำคัญ

ประวัติ ด่านเจดีย์สามองค์ จาก กองสลากไท

ช่องเขาดังกล่าวเชื่อมอำเภอสังขละบุรี ทางตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี กับเมืองพะย่าโต้นซู ทางตอนใต้ของรัฐกะเหรี่ยง ช่องเขานี้ได้เคยเป็นเส้นทางสัญจรทางบกเข้าสู่ทางตะวันตกของประเทศไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล และเชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตประเทศไทยช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3

ช่องเขาดังกล่าวเป็นเส้นทางหลักของการเดินทัพของพม่า โดยมีบางครั้งที่กองทัพอยุธยาได้ใช้เป็นเส้นทางรุกรานพม่าเช่นกัน ช่องเขาดังกล่าวได้ชื่อตามกองเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ ซึ่งอาจถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายสมัยอยุธยาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ปัจจุบัน ด่านเจดีย์สามองค์ตั้งอยู่บนพรมแดนไทย บางส่วนของพรมแดนไทย-พม่ายังมีกรณีพิพาทมาจนถึงปัจจุบัน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายมรณะผ่านช่องเขาแห่งนี้ จึงมีอนุสรณ์รำลึกถึงเชลยศึกชาวออสเตรเลียหลายพันคน (โดยมีชาติสัมพันธมิตรและพลเรือนเอเชียจำนวนหนึ่ง) เสียชีวิตเนื่องจากใช้งานหนักในการก่อสร้างทางรถไฟ

พื้นที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของชาวเขาหลายเผ่า รวมไปถึงกะเหรี่ยงและมอญ ผู้ซึ่งไม่ได้รับหรือไม่ต้องการได้รับสัญชาติพลเมืองจากทั้งไทยและพม่า กองทัพแบ่งแยกดินแดนพยายามที่จะยึดครองช่องเขานี้จากพม่า โดยชาวมอญได้ควบคุมช่องเขามาจนกระทั่ง ค.ศ. 1990 แต่ในปัจจุบันกองทัพพม่าได้เข้าควบคุมช่องเขานี้อีกครั้งหนึ่ง

ทางเข้าด่าน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อแนะนำ

  • นักท่องเที่ยวที่ผ่านแดน ไม่สามารถพักค้างคืนในพม่าได้ ต้องกลับเข้ามายังฝั่งไทยก่อนเวลาด่านปิด คือเวลา 18.00 น.
  • หากขับรถยนต์เข้าไปในพม่าต้องเปลี่ยนจากขับเลนซ้ายเป็นเลนขวา
  • สามารถเช่ามอเตอร์ไซค์จากตัวเมืองสังขละ เพื่อขี่ไปเที่ยวแถวบริเวณด่านเจดีย์สามองค์ได้ แต่ไม่สามารถนำมอเตอร์ไซค์ผ่านข้ามแดนไปพม่า
  • ฝั่งพม่ามีมอเตอร์ไซค์รับจ้างพาทัวร์วัดและตลาด ราคาประมาณ 100 – 120 บาท เช่นไปวัดเสาร้อยต้น ตลาดพญาตองซู และวัดเจดีย์ทอง

สำหรับใครที่กลัวหลง เดินทางไม่ถูก ไม่ต้องห่วงนะคะ ที่ด่านมีแผนที่ในการเดินทางให้ สามารถขอเจ้าหน้าที่ได้เลย

ราคาเข้าชม

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย

ที่เที่ยว ใกล้เคียง ด่านเจดีย์สามองค์

     แน่นอนว่านักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ก็สามารถเดินข้ามไปเที่ยวในฝั่งเมียนมาได้ด้วยเหมือนกันค่ะ โดยจะต้องเตรียมบัตรประชาชนตัวจริงไว้แลกบัตรผ่านแดนกับเจ้าหน้าที่ค่ะ แต่ทั้งนี้จะสามารถไปเที่ยวได้แค่วันเดียวเท่านั้นนะคะ ไม่สามารถนอนพักค้างคืนในเมียนมาได้ ต้องกลับเข้ามาก่อนด่านปิด ในเวลา 18.00 น

. สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 

www.สลากไทพลัส.com



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส






กองสลากไท สลากไทพลัส ปราสาทเมืองสิงห์

 

กองสลากไท พาเที่ยว ปราสาทเมืองสิงห์

ปราสาทเมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบว่า ปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ 800 เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ 850 เมตร และกำแพงสูง 7 เมตร มีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สระ

ปราสาทเมืองสิงห์

ประวัติ ปราสาทเมืองสิงห์ จาก กองสลากไท

ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. 2478 แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2530 จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1720 – 1780) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้

จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7[ต้องการอ้างอิง] จารึกชื่อเมือง 23 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง[ต้องการอ้างอิง] และยังมีชื่อของเมือง ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย

แต่ในเรื่องดังกล่าวรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เห็นว่าการที่นำเอาชื่อเมืองที่คล้ายคลึงกันในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปเปรียบเทียบกับบรรดาเมืองในเส้นทางคมนาคมในจารึกปราสาทพระขรรค์อย่างง่ายๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ เท่ากับเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างมักง่าย[1] เพราะบรรดาปราสาทขอมที่เรียกว่าอโรคยาศาลนั้นมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีพบบ้างในบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งปัจจุบันได้แยกเป็นจังหวัดสระแก้ว) และมีรูปแบบแตกต่างจากปราสาทขอมที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสิ้นเชิง ตรงข้ามกับบรรดาปราสาทของที่พบบนเส้นทางคมนาคมจากละโว้ถึงเพชรบุรีและปราสาทเมืองสิงห์ แต่ละแห่งก็มีรูปแบบที่แตกต่างออกไป จะมีความคล้ายคลึงกันแต่รูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตาที่บ่งชี้ว่าน่าจะแพร่หลายมาจากเมืองละโว้ และพระโพธิสัตว์บางองค์นำมาจากเมืองพระนครก็มี แต่หลักฐานทั้งหมดก็มิได้ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา

ในสมัย รัชกาลที่ 1 เมืองสิงห์ได้มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ดังนั้นจึงยุบเมืองสิงห์ให้เหลือเป็นฐานะเพียงตำบลหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี

ภายในปราสาท

โบราณสถาน ปราสาทเมืองสิงห์

ปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขาขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม รอบนอกกำแพงจะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น กำแพงและคูดินนี้จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 – 4 กำแพงและประตู คูคันดิน สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ

โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สามารถแบ่งได้เป็นเช่นนี้

  • โบราณสถานหมายเลข 2
  • โบราณสถานหมายเลข 1
  • โบราณสถานหมายเลข 1 โบราณสถานหมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน องค์โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและประกอบด้วยสิงห์สำคัญคือ ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลาหรือบรรณาลัย และกำแพงแก้ว

ปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลางของโบราณสถานมีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวทรงหอสูงคล้ายฝักข้าวโพด องค์ประธานตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้ 20 ขนาดกว้างและยาวด้านละ 13.20 เมตร มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้งสี่ทิศ โดยมุขด้านตะวันออกยาวกว่าด้านอื่นๆ และระหว่างปรางค์ประธานกับโคปุระด้านตะวันออกมีลานศิลาแลงเชื่อมเป็นลานกว้าง ระเบียนคดเป็นอาคารที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ประธาน ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 42.50 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาวด้านละ 36.40เมตร ตามมุมของระเบียนคดจะมีซุ้มทิศอยู่สี่มุม

โคปุระหรือซุ้มประตูเข้าเป็นอาคารอยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับซุ้มขององค์ปรางค์ และมีทางเข้าเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกเท่านั้น

บรรณศาลาหรือบรรณาลัยเป็นอาคารเล็กๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4.50เมตร ยาว 5.50 เมตร ตั้งอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ประธาน ประตูบรรณศาลามีประตูเดียวอยู่ทางตะวันตก สันนิษฐานว่าบรรณลัยนี้เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา กำแพงแก้วเป็นส่วนที่ล้อมรอบตัวปราสาทมีประตูเข้าทางตะวันออก กำแพงแก้วประกอบด้วยฐานกว้าง 2.40 เมตร มีด้านกว้าง 81.20 เมตร และยาว 97.60เมตร

ปราสาทเมืองสิงห์
  • โบราณสถานหมายเลข 2
  • โบราณสถานหมายเลข 2 ยังมีปรางค์ประธาน โคปุระ 4 ด้าน แต่พังลงมามาก บูรณะได้น้อย
  • โบราณสถานหมายเลข 2 โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข1 และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

เมตร ยาว 54.20 เมตร และสูง 80 เมตร โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และประกอบด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานกลุ่มนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย

โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและเป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้ ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น

การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตามปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่งเป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลงและเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา

โบราณสถานหมายเลข 3
โบราณสถานหมายเลข 3 ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง
โบราณสถานหมายเลข3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข 1 องค์โบราณสถานมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานของเจดี ดังที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่าเป็นเจดี 2 องค์ ฐานแรกมีขนาด 5.20 คูณ 5.20 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 1.43 เมตร ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(บัวคว่ำหงาย) ทั้งหมดนี้ก่อสร้างด้วยอิฐโดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond คือใช้ด้านสันของอิฐโผล่ออกมาด้านนอก ชั้นบนของฐานปัทม์ขึ้นไปใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเขียงอีกชั้นหนึ่ง…ฐานเจดีอีกองค์หนึ่งทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือใช้แลงก่อเป็นฐาน…ฐานเจดีอีกองค์นี้สภาพชำรุดมากจึงไม่สามารถบอกขนนาดและลักษณะที่แน่นอนได้

โบราณสถานหมายเลข 4
โบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโบราณสถานหมายเลข4โบราณสถานแห่งนี้เป็นอาคารรูปสี่เหลียมผืนผ้าแบ่งเป็นส่วนเรียงเป็นแถวแนวเหนือใต้ แต่ละส่วนมีขนาดกว้าง 3.90 เมตร และยาว 6.65 เมตร โดยเว้นระยะห่าง กัน 0.50 เมตรในแต่ล่ะส่วนทำเป็นขอบสูงขึ้นมาประมาณ 40 เซนติเมตร บนฐานส่วนที่สองจากทิศของประติมากรรมตั้งอยู่ การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ

การเดินทางไป ปราสาทเมืองสิงห์

– รถยนต์ (Car) จากตัวเมืองกาญจนบุรี ไปปราสาทเมืองสิงห์ มีระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 50 นาที สามารถเหมารถหรือเช่ารถรับจ้างไปยังสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดกาญจนบุรีได้ตามความสะดวก

เวลาทำการเปิด-ปิด

เปิดทุกวัน 08:00 น. – 18:00 น.

อัตราค่าเข้าชม

ชาวไทย 20 บาท

ชาวต่างชาติ 100 บาท

ค่านำยานพาหนะเข้าชม

– รถยนต์ คันละ 50 บาท

– รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท

– รถจักรยาน คันละ 10 บาท

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว

ตลอดทั้งปี

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 

www.สลากไทพลัส.com



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




กองสลากไท สลากไทพลัส ลำคลองงู

 

กองสลากไท พาเที่ยว ลำคลองงู

กองสลากไท ร่วมกับ สลากไทพลัส พาทุกท่านไปเที่ยว อุทยานแห่งชาติ ลำคลองงู เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอทองผาภูมิของจังหวัดกาญจนบุรีในประเทศไทย มีพื้นที่ 672.77 ตารางกิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติใน พ.ศ. 2552 ในเขตอุทยานมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทั้งหมด 9 หน่วย

ลำคลองงู

ประวัติ ลำคลองงู โดย สลากไทพลัส

กรมป่าไม้ได้รับข้อเสนอจากสโมสรโรตารีทองผาภูมิให้จัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระฤๅษีบ่อแร่แปลง 2 เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อกรมป่าไม้พิจารณาแล้ว จึงจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อมาใน พ.ศ. 2543 ได้มีข้อเสนอให้ดึงพื้นที่ที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ออกจากพื้นที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำคลองงู และในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552 อุทยานแห่งชาติลำคลองงูได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 123 ของประเทศไทย

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ภูมิอากาศมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อน และเป็นเขตเงาฝน

ป่าไม้ในเขตอุทยานเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง และเป็นผืนป่าเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร สัตว์ป่าในเขตอุทยานมีจำนวนลดลงเพราะชาวบ้านได้บุกรุกพื้นที่และถางป่าเพื่อเป็นแหล่งอาศัยและเพาะปลูก

จุดท่องเที่ยว

  • น้ำตก
  • น้ำตกนางครวญ เป็นน้ำตก 4 ชั้น ความสูง 50-60 เมตร มีต้นกำเนิดจากลำห้วย 2 สาย คือ ห้วยทองผาภูมิและห้วยชะอี้
  • น้ำตกองธิ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก 1 ชั้น
  • น้ำตกคลิตี้ เป็นน้ำตกหินปูนซึ่งในบางช่วงมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่
  • น้ำตกผาม่าน เป็นน้ำตกขนาดเล็ก 2 ชั้น ชั้นล่างสูง 15 เมตร ชั้นบนสูง 70 เมตร
  • น้ำตกผาเขียว เป็นน้ำตกสูงประมาณ 20 เมตร มีแอ่งน้ำที่สามารถลงเล่นได้ ต้นน้ำมาจากป่าเขาพระฤๅษีบ่อแร่ และสายน้ำที่ไหลลงจากน้ำตกแห่งนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยต่อไป
  • ถ้ำ
  • ถ้ำนกนางแอ่น มีม่านหินย้อยขนาดใหญ่ และยังเป็นที่อยู่อาศัยของนกนางแอ่น
  • ถ้ำเวิลด์คัพ มีสถาปัตยกรรมหินปูนสวยงามคล้ายกับถ้วยฟุตบอลโลก
  • ถ้ำน้ำตก มีแสงระยิบระยับอันเกิดจากผลึกแคลไซต์
  • ถ้ำทิพุเชะ เป็นถ้ำน้ำลอดขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถือเป็น “ถ้ำเป็น” เพราะยังเกิดหินงอกหินย้อย และสถาปัตยกรรมหินปูนอื่น ๆ
  • ถ้ำเสาหิน มีเสาหินงอกขนาดใหญ่สูง 62.5 เมตร
ภายในลำคลองงู

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติลำคลองงู

  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.1 (เขาพระอินทร์)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.2 (คลิตี้)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.3 (ห้วยเสือ)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.4 (เกริงกระเวีย)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.5 (ลำเขางู)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.6 (คลิตี้ล่าง)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.7 (องธิ)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.8 (ดินโส)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.9 (ทุ่งนางครวญ)

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนแนวเขาวางตัวในทิศเหนือ–ใต้เป็นส่วนใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 1,000 เมตร ยอดเขาที่สำคัญได้แก่ ยอดเขาบ่องาม เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูร้อนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว สภาพพื้นที่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อนจึงทำให้มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว แบ่งได้เป็น 3 ฤดูได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะท้องฟ้าจะมีเมฆมากในราวเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน และมีเมฆน้อยในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน สภาพป่าโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติลำคลองงูยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

ข้อห้าม ลำคลองงู

ป่าเบญจพรรณแล้งสูงผสมไผ่ พบมากในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและตอนปลายของห้วยลำคลองงู ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ส่วนระดับความสูงกว่า 500 เมตร มีไม้ไผ่ขึ้นปะปนค่อนข้างเบาบาง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง จำปีป่า จำปาป่า ก่อ กระพี้เขาควาย ตะแบก มะเกลือ กาสามปีก ไผ่หก และไผ่รวก เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณแล้งต่ำผสมไผ่ พบขึ้นปกคลุมพื้นที่บริเวณที่มีความสูงน้อยกว่า 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลลงมา มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนค่อนข้างหนาแน่น
ป่าดิบแล้ง พบบริเวณลำห้วยต่างๆ และตามหุบเขาที่มีความชันมาก ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง กระบก กระบาก สมพง มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ฯลฯ พืชชั้นล่างได้แก่ เต่าร้าง หวาย และพืชในวงศ์ขิงข่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำคลองงู เป็นป่าผืนเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม ปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำนวนลดลงเนื่องจากถูกราษฎรในพื้นที่แผ้วถางป่าอันเป็นแหล่งอาศัยและทำลายอย่างหนัก สัตว์ป่าบางส่วนจึงอพยพหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ก็ยังมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่และเข้ามาหากินในพื้นที่อยู่เสมอ เท่าที่สำรวจพบและสอบถามจากราษฎรในพื้นที่ได้แก่ เลียงผา ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า หมีควาย เสือลายเมฆ เสือโคร่ง กระจง ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น กระรอก กระแต ชะมด หนู นกเงือก พบบริเวณเทือกเขาต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม และยังพบนกนางแอ่นลมอาศัยกันอยู่เป็นจำนวนมากบริเวณถ้ำคลองงูตอนกลาง นอกจากนี้ยังมีนกเขาเหยี่ยว นกฮูก นกเค้าแมว นกกระปูด นกปรอด นกกางเขน นกขุนทอง นกแซงแซว นกตะขาบ นกหัวขวาน นกขมิ้น นกกวัก ไก่ป่า ไก่ฟ้า งู ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่าแก้ว จิ้งเหลน ตะขาบ ตะพาบ น้ำ กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง จงโคร่ง ปลาเวียน ปลากระทิง และปลาก้าง เป็นต้น

รถยนต์ จากจังหวัดกาญจนบุรีเดินทางสู่อำเภอทองผาภูมิตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 แล้วเดินทางต่อจากอำเภอทองผาภูมิตามเส้นทางดังกล่าวไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงบริเวณสามแยกพุทโธเลี้ยวขวาไปประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลำคลองงู

ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ⇔ ทางเดินป่า ⇔ เที่ยวน้ำตก ⇔ เที่ยวถ้ำ/ศึกษาสภาพธรณี ⇔ ดูนก/ดูผีเสื้อ/ส่องสัตว์ ⇔ ดูดาว ⇔ จักรยานเสือภูเขา ⇔ ถ่ายภาพ/วิดีโอ

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 

www.สลากไทพลัส.com



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...