วัดพระรามอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดสวยโบราณของ จังหวัดอยุธยา โดยงดงามด้วยศิลปะแบบอยุธยาในสมัยตอนต้นที่หาชมได้ยากมากค่ะ โดย พระปรางค์ประธานนั้น จะเป็นทรงฝักข้าวโพดที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบละโว้ และปรางค์บริวาร ก็จะมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทั้ง 7 วิหารเลยค่ะ เป็นจิตรกรรมแบบที่ไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อนค่ะ ตาม สลากไทพลัส กองสลากไท ไปชมกันเลย
ภาพถ่ายด้านหน้าเจดีย์ใหญ่ วัดพระรามอยุธยา
กองสลากไท : ประวัติ วัดพระรามอยุธยา
สลากไทพลัส กองสลากไท วัดพระรามอยุธยา เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเขต พระราชวัง ทางด้านทิศตะวันออก ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา (กรุงเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร วัดพระราม คาดว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1912 ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ซึ่งเป็นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา แต่พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียงแค่ปีเดียว จึงเข้าใจกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ทรงได้ช่วยสร้างจนสำเร็จหรืออาจสร้างเสร็จเมื่อสมเด็จพระราเมศวรเสวยราชย์ครั้งที่ 2 ก็เป็นไปได้
บริเวณหน้าวัดพระรามคือ บึงพระราม ปัจจุบันซากปรักหักพังภายในวัดเหลือเพียงแต่ เสาในพระอุโบสถ วิหาร 7 หลัง กำแพงด้านหนึ่ง และที่สำคัญคือพระปรางค์ ซึ่งเป็นพระปรางค์ทรงขอมโบราณขนาดใหญ่ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทั้งสองด้าน เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยบนบัลลังก์ สีที่ใช้เป็นสีแดง คราม เหลืองและดำ เป็นภาพจิตรกรรมยุคอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันลบเลือนไปมาก
ภาพถ่ายมุมต่ำ วัดพระรามอยุธยา
สิ่งสำคัญที่ วัดพระราม
พระปรางค์องค์ใหญ่ ใน วัดพระรามอยุธยา ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม สูงแหลมขึ้นไปด้านบน ทางด้านทิศตะวันออก มีพระปรางค์องค์ขนาดกลาง ส่วนทางตะวันตกทำเป็นซุ้มประตู มีบันไดสูงจากฐานขึ้นไปทั้งสองข้าง ที่มุมปรางค์ประกอบด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ มีปรางค์ขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศเหนือและใต้ รอบ ๆ ปรางค์เล็กมีเจดีย์ล้อมรอบอีก 4 ด้าน
นอกจากนี้ยังมีเจดีย์เล็กบ้าง ใหญ่บ้างอยู่รอบ ๆ องค์พระปรางค์ประมาณ 28 องค์ วัดพระรามนี้เป็นที่น่าสังเกต คือ กำแพงวัดพระรามด้านเหนือ มีแนวเหลื่อมกันอยู่ กำแพงด้านตะวันออก ตะวันตก และด้านใต้ มีซุ้มประตูค่อนไปทางทิศตะวันตกได้ระดับกับมุมระเบียงด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปรางค์ ส่วนแนวเหลื่อมนั้นได้ระดับกับมุมระเบียงตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์ ไม่มีซุ้มประตู คล้ายเจตนาสร้างไว้เพื่อประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง
ภาพถ่ายพระพุทธรูปโบราณ วัดพระรามอยุธยา
ความโดดเด่นของ วัดพระราม คือ 7 วิหาร
1 วิหารใหญ่อยู่ทางด้านหน้าวัด ทางทิศตะวันออกของพระปรางค์ วิหารองค์นี้ ยังเหลือซากให้เห็นลักษณะและขนาดอยู่โดยรอบและเสากลมใหญ่แต่งเหลี่ยมสูงเกือบถึงบัว หัวเสา เป็นวิหารที่เชื่อมต่อกับพระปรางค์องค์ใหญ่ เดินถึงกันตรงระเบียง
2 วิหารน้อย อยู่ทางด้านทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารที่มีด้านหลังเชื่อมต่อกับเจดีย์ใหญ่ ซึ่งปรักหักพังไปแล้ว คงเหลือแต่มูลดินทิ้งไว้ให้ศึกษา
3 วิหารอยู่ทางมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิหารขนาดกลาง มีเจดีย์ใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมอยู่หลังวิหาร วิหารนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
4 วิหารน้อย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหลือแต่ด้านข้างสองด้านมุมวิหารน้อย ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีเจดีย์เล็กองค์หนึ่ง
5 วิหารเล็ก อยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถ มีประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกข้างละ 1 ประตู
6 วิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในมีเสาเหลี่ยมปรักหักพังด้านหลังวิหาร มีเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์หนึ่ง ปรักหักพังเช่นกัน
7 วิหาร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ มีวิหารขนาดย่อมกว่าวิหารด้านตะวันออกเล็กน้อยเชื่อมระเบียงองค์ปรางค์ที่ระเบียง มีบันไดหน้าวิหารตรงกับซุ้มประตู ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน
สลากไทพลัส กองสลากไท
สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE : @ S L T P 7 8 9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น