สลากไทพลัส และ กองสลากไท ขอพาไหว้พระ ปฏิบัติธรรม กันที่เมืองลิง จ.ลพบุรี กันที่ วัดเวฬุวัน วัดที่อยู่ในหุบเขาจีนแล ใกล้อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก โดยวัดเวฬุวันเป็นสถานที่สงบ และปลีกวิเวก เหมาะสมกับการนั่งปฏิบัติธรรมภาวนาอย่างมากเลยค่ะ มีป่าไม้ปกคลุมร่มเย็นสดชื่น ร่มรื่น เหมาะกับท่านที่รักและใฝ่ในธรรมที่จะไปแสวงหาความสงบผ่อนคลาย จะทำให้จิตที่เคร่งเครียดเกิดความสุขได้ วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) เป็นวัดชั้นสามัญ “ วัดราษฎร์ ” เพราะเป็นวัดที่ราษฎรจัดสร้างขึ้นมานั่นเองค่ะ
วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) แห่งนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการไปเที่ยวพักผ่อนชมธรรมชาติหรือไปแสวงบุญ มีโบสถ์รูปร่างแปลกสวยงามสำหรับให้บำเพ็ญธรรม มีสำนักชีคอยบริการให้ความสะดวกแก่ผู้ไปเที่ยวและไปทำบุญและยังมีหอสมุดของวัดซึ่งมีหนังสือธรรมะต่าง ๆ มากมายไว้
เป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ สถานที่มีความร่มรื่น มีภูเขาล้อมรอบสี่ด้าน และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปใหญ่ที่หลวงพ่อลีสร้าง และพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสร้างประดิษฐานอยู่บนยอดเขา มีโบสถ์รูปทรงแปลก จั่วเป็นซุ้มกุทุแบบอินเดีย
วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) จ.ลพบุรี
ประวัติ วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) สลากไทพลัส
วัดเวฬุวัน ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 หมู่ 7 ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่ในหุบเขาจีนแล มีเนื้อที่โดยพฤตนัยประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร เนื้อที่โดยนิตินัย 64 ไร่ 38 ตารางวา มีอาณาเขต ทางทิศเหนือ จรดเขาสะอางค์ ทิศตะวันออก จรดเขาจีนแล ทิศตะวันตก จรดเขาหนอกวัว และทิศใต้ จรดที่ราชพัสดุของศูนย์สงครามพิเศษ
โดยวัดเวฬุวันนั้น แต่เดิมเมื่อเป็นสำนักสงฆ์ ชาวเมืองลพบุรีเรียกว่า “วัดเขาจีนแล” เพราะตั้งอยู่บนหุบเขาจีนแล เมื่อสร้างวัดเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมา พร้อมทั้งขอตั้งนามวัดว่า “วัดเวฬุวัน” นามวัดนี้สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฐายีมหาเถระ) วัดมกุฎกษัตริยารามได้ทรงแนะนำไว้เมื่อครั้งเสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ในการสร้างพระพุทธธรรมรังสีมุนีนาถศาสดา ทางราชการจึงได้สถาปนานามวัดว่า วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) ตามที่คณะกรรมการเสนอขอตั้งไป สลากไทพลัส กองสลากไท
บรรยากาศภายนอกและภายใน
ผู้ค้นพบสถานที่และบุกเบิก วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล)
เมื่อปีพ.ศ. 2496 แม่อินทร์อายุ ประมาณ 45 ปี มีอาชีพขายผ้าและขายทอง วันหนึ่งเกิดอาการเจ็บป่วยไม่หายสักที จึงไปวัดที่เคยไปมาตลอด และหลวงพ่อแนะนำให้ไปหา พ่อลี ไปนั่งสมาธิกับท่านน่าจะหาย แม่อินทร์จึงไปพบพ่อลี เมื่อเจอกันพ่อลีก็สามารถบอกได้เลยว่าแม่อินทร์ทำอาชีพอะไร และบอกอีกว่าทำอาชีพสุจริตแบบนี้ดีแล้ว ไม่ต้องไปหาทำอะไรอีก
ตั้งแต่นั้น แม่อินทร์ก็ได้ติดตามพ่อลีไปทุกหนแห่ง จนไปลิ้มรสพระธรรมคำสอนของพ่อลีมา ซึ่งทำให้แม่อินทร์เองสามารถขจัดโรคร้ายของตัวเองจนเกือบหาย แม่อินทร์จึงขอให้พ่อลีช่วยรักษาโรคร้ายนี้ที่เหลือแค่เพียงนิด แต่พ่อลีก็ได้คายเสลดออกมาให้ แม่อินทร์เองก็กลืนลงท้องไป และในที่สุดแม่อินทร์ก็หายจากโรค ทำให้แม่อินทร์เลื่อมใสพ่อลีเป็นอย่างมาก
ต่อมาท่านพ่อลี ได้ไปสร้างวัดอโศการามที่จังหวัดสมุทรปราการ แม่อินทร์ก็ได้ติดตามไปช่วยท่านสร้าง แต่แม่อินทร์ก็ยังไม่ได้บวชเป็นชี คืนวันหนึ่งแม่อินทร์ได้นิมิตไปเห็นสถานที่แห่งหนึ่ง บริเวณนั้นล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นสถานที่วิเวกรู้สึกอิ่มเอมต่อสถานที่ในนิมิต ยิ่งกว่านั้นยังเห็นพระธุดงค์ปักกลดสีขาวดารดาษเต็มไปหมดในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว จึงได้นำเอานิมิตดังกล่าวไปเล่าให้ท่านพ่อลีฟัง ท่านพ่อลีก็เลยพาแม่อินทร์ไปร่วมในการทอดผ้าป่าที่วัดนิคมสามัคคีชัย บ่อ 6 ณ ที่นั้น ท่านพ่อลีได้พบกับมหาวิทูรย์ บุญเฉลียว จึงออกปากถามว่าบริเวณแถวนี้มีสถานที่ใดบ้างที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา มหาวิทูรย์ก็ได้พาท่านพ่อลีและแม่อินทร์มาที่บริเวณ วัดเวฬุวัน
แม่อินทร์มีจิตปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสร้างวัด จึงไม่กลับไปกับท่านพ่อลีและงานสร้างวัดของแม่อินทร์ก็เริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้น โดยตัวของแม่อินทร์แต่เพียงผู้เดียวแท้ ๆ โดยกลับไปนอนพักข้างล่างเขาบริเวณทางขึ้นมาสู่วัดนี้ในเวลากลางคืนและกลับมาทำการถากถางพื้นที่เพื่อให้เป็นไปตามที่ได้ตั้งใจไว้ในเวลากลางวัน ซึ่งขณะนั้นบริเวณนี้เป็นป่าดงดิบ มีเสือด้วย แต่แม่อินทร์สามารถที่จะมาปฏิบัติธรรมได้โดยไม่มีภัยอันตรายใด ๆ มารังควานเลยแต่นั้นต่อมา แม่อินทร์ก็ได้พยายามสร้างวัดด้วยตัวคนเดียว แม่หลานสาวแม่อินทร์ได้นิมิตเห็นแม่อินทร์กำลังสร้างวัด จึงตัดสินใจมาช่วย สามีของแม่อินทร์ก็คอยส่งอาหารมาให้ จนสุดท้ายก็บวชเป็นพระเป็นชีกันหมด และเรื่องราวการสร้างวัดเวฬุวันก็ยังมีอีก คือการช่วยเหลือของบุคคลต่าง ๆ จนทำให้วัดสร้างเสร็จสมบูรณ์
+
ชมนกยูงสีน้ำเงิน วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล)
นกยูงสีน้ำเงิน
วัดแห่งนี้ได้เลี้ยงนกยูง สีน้ำเงิน หรือ นกยูงอินเดีย มานานแล้วจนขยายพันธุ์เป็นร้อยตัว จากการบอกเล่าของคนเฒ่า ประมาณสัก 20 กว่าปีที่ผ่านมา เล่าว่า ที่วัดเขาจีนแล มีผู้ใหญ่ใจบุญซื้อนกยูง อินเดียมาถวายวัดเวฬุวัน 3-4 คู่ และทางวัดก็ทำเล้าให้นกยูงไว้ฟักไข่
การขยายพันธุ์ของนกยูงอินเดียสีน้ำเงินและสีขาว ทำให้มีนกยูงในปัจจุบัน 200-300 เป็นตัว อยู่ทั้งในป่าบนเขา และตามลานวัด โดยทางวัดให้อาหารเม็ดเลี้ยงนกยูงเป็นเวลา เช้า กลางวัน เย็น ในช่วงที่ไม่มีโรคระบาด ไม่มีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นักท่องเที่ยวมักขึ้นไปเที่ยวเพราะบริเวณวัดกว้างใหญ่ล้อมรอบไปด้วยป่าไม้ และเทือกเขา พอมืดค่ำ นกยูงก็จะแยกย้าย บินขึ้นไปนอนบนต้นไม้บ้าง ตามหลังคากุฏิบ้าง หรือบินขึ้นไปนอนบนต้นไม้บนเขาก็มี
ใครอยากมาชมนกยูงสีสวยๆ ก็มากันที่วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) ได้เลยนะคะ เชื่อว่าคนไม่เยอะมาก ใครอยากมาเดินเล่นสงบๆ ดูอะไรไปเพลินๆ ก็มาเลยค่ะ นกยูงเหล่านี้มีความสวยงาม น่าถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกันส้กหน่อยนะคะรูปโปรโมทสมาชิก สลากไทพลัส กองสลากไท
สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE : @ S L T P 7 8 9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น