กองสลากไท ร่วมกับ สลากไทพลัส ทราบมาว่า นอกจาก เชียงใหม่ จะมีที่เที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากๆ แล้ว ที่นี่ยังมีวัดวาอารามสวยงาม และมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนที่ไหนอีกด้วยค่ะ เราก็เลยอยากจะมานำเสนอที่เที่ยวเอาใจสายบุญ ให้ตามกันไปแอ่ว นั่นก็คือ วัดอุโมงค์ ซึ่งเป็นโบราสถานเก่าแก่ที่มีความสำคัญ และอยู่คู่เมืองเชียงใหม่มากว่า 700 ปีเลยทีเดียวค่ะ
การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่
วัดอุโมงค์
กองสลากไท ทราบมาว่า วัดอุโมงค์ มีที่ตั้งดังนี้
วัดอุโมงค์ หรือ สวนพุทธธรรม ตั้งอยู่ที่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ค่ะ ที่นี่สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายราวๆ ปี พ.ศ.1839 ซึ่งถ้านับถึงวันนี้ก็ราวๆ 700 กว่าปีแล้ว ต่อมาพญากือนา ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นที่นี่เพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐานค่ะ กำแพงภายในจึงเป็นหลายช่องทางเดินทะลุกันได้ รวมถึงยังมีภาพวาดจิตรกรรมผาผนังที่มีความเก่าแก่อยู่ภายในอุโมงค์อีกด้วยค่ะ นักท่องเที่ยวจึงมักมาเดินชมความสวยงามภายในอุโมงค์ และถ่ายรูปสวยๆ กลับไปจากมุมนี้ของวัดค่ะ
ที่ด้านบนของอุโมงค์นั้นจะเป็นที่ประดิษฐานของ เจดีย์ 700 ปีศิลปกรรมล้านนา ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ค่ะ บริเวณโดยรอบมีความสวยงามด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ บรรยากาศสดชื่น ร่มรื่นสุดๆ ค่ะ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่มอสสีเขียวชอุ่มจะขึ้นปกคลุมบริเวณรอบๆ ตัววัด เจดีย์ และด้านหน้าของอุโมงค์ ทำให้ที่นี่สวยงามแปลกตา นักท่องเที่ยวจะนิยมมาถ่ายรูปสวยๆ เก็บไปเป็นที่ระลึกตรงด้านหน้าของอุโมงค์นี้ค่ะ
วัดเก่าแก่วัดหนึ่งของเชียงใหม่
การสร้างอุโมงค์ของคนโบราณ
ทางเดินภายในช่องอุโมงค์ ชาวล้านนาสร้างอุโมงค์โดยการก่ออิฐถือปูน แล้วฉาบปูนปิดทับโครงสร้างอิฐอีกชั้นหนึ่ง แต่ปัจจุบันชั้นปูนฉาบนี้ได้หลุดกะเทาะเกือบหมดสิ้นแล้ว คงเหลือก็เพียงส่วนของเพดานโค้งภายในอุโมงค์ที่ปรากฏจิตรกรรมฝาผนังเท่านั้น ส่วนบริเวณด้านนอกเกือบทั้งหมดนั้นไม่ปรากฏชั้นของปูนฉาบแล้ว เหลือเพียงอิฐก่อผนัง และอิฐก่อโครงสร้างอุโมงค์เท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2546 ในระหว่างราวปลายเดือนเมษายน-กันยายน ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อุโมงค์ครั้งใหญ่ที่ดำเนินงานโดยการรับเหมาผ่านเอกชน ภายใต้การกำกับของกรมศิลปากร มีการซ่อมแซมโครงสร้างของอุโมงค์ให้แข็งแรงขึ้น โดยขุดเปิดหน้าดินที่อยู่เหนืออุโมงค์ทั้งหมดจนลึกถึงระดับเดียวกับพื้นอุโมงค์ จึงพบหลักฐานเพิ่มเติม คือโครงสร้างแต่ละอุโมงค์ก่อด้วยอิฐถือปูน แยกไปแต่ละช่อง โดยเริ่มก่ออิฐเรียงสลับกันจากผนังอุโมงค์ขึ้นมาทั้งสองด้านจนได้ความสูงระดับที่เป็นเพดานก่ออิฐให้โค้งเข้าหากัน โดยใช้ด้านสันของอิฐที่มีทรงสี่เหลี่ยมคางหมูหันด้านสันเข้าหากัน จึงเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลม จำเป็นต้องก่ออิฐผนังหนามากเพื่อรองรับโครงสร้างของอุโมงค์ ส่วนเหนือสุดก็มีการก่ออิฐเหลื่อมเรียงสลับกันปิดอยู่ด้านบนอีกชั้นหนึ่ง และพบว่าพื้นที่ระหว่างอุโมงค์แต่ละช่องนั้นล้วนเป็นดินลูกรังสีน้ำตาลอมส้มจนถึงระดับพื้นดินทั้งสิ้น ไม่ปนเศษอิฐ ปูน หรือเศษเครื่องเคลือบดินเผาเลย และชั้นดินลูกรังนี้ปิดมิดคลุมเพดานทุกอุโมงค์ด้วย และชั้นบนสุดจะมีอิฐปูทับอีกหลายชั้น ดังนั้น ภายในอุโมงค์ล้วนเป็นดินลูกรังและปิดทับด้วยอิฐภายนอกทั้งสิ้น และไม่มีห้องลับใดๆซ่อนอยู่ในระหว่างอุโมงค์ตามที่สงสัยกันแต่แรกแต่อย่างใด และบ่งชี้ได้ว่าเป็นอุโมงค์ที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เกิดจากการก่อสร้างของมนุษย์ขึ้นมาอย่างจงใจ
มีเจดีย์เก่าแก่
นอกจากนี้วัดอุโมงค์ ยังมีสถานที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งแบ่งเป็นหลายส่วนด้วยกัน คือ เสาหินอโศกจำลอง, หลักศิลาจารึก, บันไดขึ้นไปเจดีย์, เศียรพญานาค, รูปพระโพธิสัตว์, พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง, โรงภาพปริศนาธรรม, หอสมุดธรรมโฆษณ์, พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯ และสำนักงานสวนพุทธธรรม อีกด้วยค่ะ
ใครที่ไปเที่ยวเชียงใหม่ ต้องห้ามพลาดแวะสักการะ ทำสมาธิ และเที่ยวชมความสวยงาม ภายในบรรยากาศร่มรื่น ที่วัดอุโมงค์ กันนะคะ รับรองว่าเราจะได้รับพลังดีๆ มีจิตใจที่สงบกลับมาอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ในส่วนที่เหลือหลักฐานให้ชมในปัจจุบันอยู่บริเวณเพดานโค้งภายในอุโมงค์ ตัวอุโมงค์ตั้งอยู่บริเวณต่อเนื่องกับเจดีย์ทางทิศเหนือ โดยหันทางเข้าหลักไปยังทิศตะวันออกจำนวน 3 อุโมงค์ในด้านหน้า ซึ่งอุโมงค์กลาง (อุโมงค์ที่ 4) มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งสามารถเห็นได้ เพียง 3 อุโมงค์เท่านั้น คือ อุโมงค์ที่ 1, 2, และ 3 นอกเหนือจากนี้ไม่สามารถเห็นได้ อีกทั้งภาพหลักฐานจิตรกรรมฝาผนังในอุโมงค์มีสภาพลบเลือนไปมาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคคัดลอกจิตรกรรมด้วยมือและคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน โดยการคัดลอกลายเส้น และการคัดลอกเป็นภาพสี จึงทำให้ยังสามารถเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ของศิลปะล้านนาซึ่งมีอายุกว่า 500 ปีได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม[3]
จิตรกรรมผาผนังภายในอุโมงค์ของวัดอุโมงค์ตามสภาพปัจจุบันนั้น อยู่ในสภาพที่ชำรุดลบเลือนมาก จนหลายคนเข้าใจว่าคงไม่มีภาพจิตรกรรมหลงเหลือแล้ว แต่จากการสำรวจของโครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ กลับพบหลักฐานของจิตรกรรมฝาผนังมากกว่าที่คาดคิด เป็นเหตุให้กรมศิลปากรช่วยเหลือโดยจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน เพื่อมาทำการสำรวจ และอนุรักษ์จิตรกรรมแห่งนี้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2542-กลางปี พ.ศ. 2543
นอกจากนี้คุณภัทรุตม์ สายะเสวี ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมวัดอุโมงค์ของกรมศิลปากรในขณะนั้นได้เข้าร่วมทำงานอนุรักษ์จิตรกรรมอีกด้วย โดยการให้คำแนะนำและดูแลการปฏิบัติงานของทีมงานโครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ เป็นอย่างดี
ส่วนการอนุรักษ์งานจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์นั้นได้นำกระบวนการทางเคมีและศิลปะ ซึ่งมีขั้นตอนตั้งแตทำการสำรวจ, ทำความสะอาดภาพจิตรกรรม, เสริมความแข็งแรงของผนังปูนฉาบ, ชั้นสีของงานจิตรกรรมให้มั่นคงแข็งแรงพร้อมทั้งบันทึกหลักฐานตลอดงานการอนุรักษ์ทั้งภาพถ่าย แผนผัง และภาพลายเส้น ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวทีมงานได้ค้นพบภาพจิตรกรรมฝาผนังเพิ่มเติมด้วยความบังเอิญ คือ เหตุที่ทำให้อุโมงค์ชำรุดเนื่องจากมีรอยร้าวที่อุโมงค์ เมื่อฝนตกทำให้น้ำไหลซึมเข้ารอยร้าว จึงเกิดการสะสมของหินปูนที่เคลือบลายจิตรกรรมจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ทีมงานจึงเอาคราบหินปูนออกโดยใช้น้ำยาเคมีที่ทำให้คราบหินปูนอ่อนตัวลง จากนั้นใช่มีดฝานหินปูนออกทีละนิดจนหมด จึงปรากฏภาพจิตรกรรมที่สวยงาม
ภาพจิตรกรรมนกสลับดอกโบตั๋น
ภาพจิตรกรรมดอกบัวสลับลายเมฆ
ภาพจิตรกรรมดอกบัวสลับลายประจำยาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น