วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สลากไทพลัส พาไปขอนแก่นชมพระมหาธาตุแก่นนครที่วัดหนองแวง

สลากไทพลัส กองสลากไท พาไป พระมหาธาตุแก่นนคร วัดพระธาตุ 9 ชั้น หรือ วัดหนองแวง ที่ตั้งอยู่ภายในวัดหนองแวง ริมบึงแก่นนคร โดยเป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิมของขอนแก่น มีอายุมากว่า 200 ปี ก่อนที่จะมีการบูรณะขึ้นใหม่ในชื่อพระมหาธาตุแก่นนครในปี พ.ศ. 2539 โดยสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยภายในวัดและภายนอกของวัดนนั้น มีความสวยงามที่ไม่ว่าใครที่เข้ามา ต่างก็ประทับใจในความสวยของวัดแห่งนี้ จนกลายเป็นจุดเด่นของเมืองขอนแก่น ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศให้แวะเวียนเข้ามาเที่ยวชมวัดหนองแวงทุกวันเป็นจำนวนมาก




ภาพถ่ายด้านหน้า วัดหนองแวง

กองสลากไท : ที่มา วัดหนองแวง

สลากไทพลัส กองสลากไท วัดหนองแวง หรือ วัดพระธาตุแก่นนคร เดิมชื่อว่า ‘วัดเหนือ’ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 ที่สร้างขึ้นโดย ท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) ต่อมาปีพ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตร เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่า วัดจึงมีอีกนามว่า วัดหนองแวงเมืองเก่า วัดหนองแวง (วัดเหนือ) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2442 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ปีพ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 41 เมตร ยาว 81 เมตร และต่อมาในปีพ.ศ. 2527 วัดหนองแวงได้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในชื่อว่า ‘พระมหาธาตุแก่นนคร’ มาจนปัจจุบัน



รูปทรงของวัดพระธาตุแก่นนครที่ถูกสร้างขึ้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐถือปูน เรือนยอดทรงเจดีย์ จำลองแบบจากพระธาตุพนม จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปีเมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุม และมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห

ภาพถ่ายด้านในโบสถ์ วัดหนองแวง


ภายในองค์พระธาตุแต่ละชั้น

– ชั้นที่1 เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ 100 องค์ ประดิษฐานอยู่ บานประตู หน้าต่าง แกะสลักภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น แบบ 3 มิติ และมีจิตรกรรมฝาผนัง ประวัติศาสตร์เมือง ขอนแก่น

– ชั้นที่2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสานโดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีต ที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งที การวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้อห้ามของคนอีสาน ที่เรียกว่า “คะลำ” ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ บานประตู หน้าต่าง เขียนลวดลายเบญจรงค์ และภาพแกะสลัก นิทานเรื่องสังศิลป์ชัย



ภาพถ่ายมุมสูงพระธาตุ วัดหนองแวง

– ชั้นที่3 เป็นหอปริยัติบานประตู หน้าต่าง เขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบ ต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร พัดยศ และเครื่องอัฐบริขาร ของพระภิกษุสงฆ์ที่มี ชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น

– ชั้นที่4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า ภาพวาดที่บานประตู หน้าต่าง เป็นภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ และตัวพึ่ง-ตัวเสวย

– ชั้นที่5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 6 บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพ พุทธชาดก

– ชั้นที่6 เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร

– ชั้นที่7 เป็นหอพระอรหันต์สาวกบานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตย์มีใบ้

– ชั้นที่8 เป็นหอพระธรรมเป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น

สลากไทพลัส กองสลากไท

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง  LINE : @ S L T P 7 8 9 

www.สลากไทพลัส.com



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...