วัดเก่าแก่ที่งดงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่มีพระอุโบสถหินอ่อน ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทยอีกด้วย นั่นคือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เรียกสั้นๆ วัดเบญจมบพิตรฯ สลากไทพลัส กองสลากไท
ภาพถ่ายตอนกลางคืน วัดเบญจมบพิตรฯ สลากไทพลัส
ประวัติ วัดเบญจมบพิตรฯ กองสลากไท
สลากไทพลัส กองสลากไท เปิดประวัติ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร หรือ วัดเบญจมบพิตรฯ เดิมเป็นวัดราษฎรวัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระองค์เจ้าพนมวัน พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ (ต้นราชสกุลกุญชร)
2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลทินกร)
3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล
4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์
มีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์
พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อแรกสร้าง ในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์ โดยพระราชทานนามว่า “สวนดุสิต” (พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ 2 แห่ง คือ วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูกใช้เป็นที่สร้างพลับพลา และวัดร้างอีกแห่งซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัดสำหรับตัดเป็นถนน พระองค์จึงทรงกระทำผาติกรรม สร้างวัดแห่งใหม่เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัด ในการนี้มีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคามสีมาของวัด พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในราชวงศ์จักรี ต่อมา พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดฯ ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ดังนั้น ชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วย “ราชวรวิหาร” ดังเช่นในปัจจุบัน
ภาพถ่ายพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรฯ สลากไทพลัส
ข้อมูล วัดเบญจมบพิตรฯ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม หรือ วัดเบญจมบพิตรฯ ตั้งอยู่ที่ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ค่ะ แต่เดิมนั้นมีชื่อว่า วัดแหลม หรือ วัดไทร ทอง และไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ต่อมาในภายหลังได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้นั่นเอง
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสร้าง สวนดุสิต ขึ้น และพระองค์ทรงสถาปนาวัดด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ มีการวางแปลนแยกสัดส่วนเป็นเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และที่ธรณีสงฆ์ ทำให้ที่นี่เป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง และพระราชทานนามว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” ซึ่งหมายถึง “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5” และเราก็ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบันค่ะ
ภายในวัดมีสถานที่สำคัญ และน่าสนใจมากมายทั้ง ศาลาสี่สมเด็จ พระที่นั่งทรงธรรม หอระฆังบวรวงศ์ พระอุโบสถ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณในสมัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ อีกทั้งยังมีสถานที่อื่นๆ ให้เยี่ยมชมอีกมากมายค่ะ สลากไทพลัส กองสลากไท
ภาพถ่ายพระพุทธรูป วัดเบญจมบพิตรฯ กองสลากไท
อาณาเขตวัดเบญจมบพิตร
ตั้งอยู่บริเวณถนนนครปฐมติดคลองเปรมประชากร ระหว่างสถานที่สำคัญๆ คือ พระราชวังดุสิต พระที่นั่งอนันตสมาคม พระตำหนักจิตลดารโหฐาน เขาดินวนา และทำเนียบรัฐบาล มีกำแพงล้อมรอบและซุ้มประตูเข้า-ออก เป็นเหล็กหล่อลวดลายโปร่งเหมือนกันหมดทั้ง 4 ด้าน
ทิศเหนือ : มี 3 ประตู
ทิศใต้ : มี 2 ประตู ทิศตะวันออก : มี 3 ประตู
ทิศตะวันตก : มี 2 ประตู
ที่ตั้ง วัดเบญจมบพิตร
ที่ตั้ง : 69 ถนนนครปฐม แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 เนื้อที่ 26ไร่ 1งาน 66ตารางวา
สลากไทพลัส กองสลากไท
สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE : @ S L T P 7 8 9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น