วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของพันท้ายนรสิงห์ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของพันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือในรัชสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตอนปลายอาณาจักรอยุธยา โดยพันท้ายนรสิงห์เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์




ประวัติ

เรื่องของพันท้ายนรสิงห์ ปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม โดยกล่าวว่า พ.ศ. 2247 พระเจ้าเสือเสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลเพียงตา นำศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งบนศาลไว้บูชาพร้อมกัน แล้วเสด็จออกไปทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อกลับกรุงศรีอยุธยา โปรดให้นำศพของพันท้ายนรสิงห์มาพระราชทานเพลิงศพ พระราชทานเงินทองสิ่งของจำนวนมากแก่ภรรยาลูกเมียพันท้ายนรสิงห์ ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้สมุหนายกเกณฑ์ไพร่พลจำนวน 30,000 คน ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กอง ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก ขุดเสร็จในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่า"คลองสนามไชย" ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่า"คลองถ่าน" ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า "คลองด่าน"




ลุศักราชได้ ๑๐๖๖ ปีวอก ฉ่อศก ขะณะนั้นสมเดจ์พระเจ้าแผ่นดีน เสดจ์ด้วยเรือพระธินั่งเอกไชย จไปประภาษทรงเบจ์ณะปากน้ำเมืองษาครบูรี ครั้นเรือพระธินั่งไปถึ่งตำบลโขกฃาม แลคลองที่นั้นคตเคียวนัก แลพันท้ายนรสิงฆซึ่งถือท้ายเรือพระธินั่ง คัดแก้ไขมิทันที แลศิศะเรือพระธินั่งนั้นโดนกระทบกิ้งไม้อันใหญ่เข้าก็หักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงฆ์เหนดังนั้นก็ตกใจ จึ่งโดษขึ้นเสียจากเรือพระธินั่ง แลขึ้นอยู่บนฝั่งแล้วร้องกราบทูลพระกรรุณาว่า ฃอเดชฝาลอองทุลีพระบาทปกเกล้าพระราชอาชญาเปนล้นเกล้า ฃองจงทรงพระกรรุณาโปรฎให้ทำสารขึ้นที่นี้สูงประมารเพียงตา แล้วจงตัษเอาศิศข้าพระพุทธเจ้ากับศิศเรือพระธินั่งซึ่งหักตกน้ำลงไปนั้น ขึ้นบ่วงส่วงไว้ด้วยกันที่นี้ ตามพระราชกำหนฎในบถพระไอยการเถีษ

จึ่งมีพระราชโองการตรัษว่า ไอ้พันท้ายซึ่งโทษเองนั้นถึ่งตายก็ชอบอยู่แล้ว แต่ทว่าบัดนี้กูจยกโทษเสีย ไม่เอาโทษเองแล้ว เองจงคืนมาลงเรือไปด้วยกูเถีด ซึ่งศิศเรือที่หักนั้นกูจทำต่อเอาใหม่แล้ว เองอย่าวิตกเลย พันท้ายนรสิงฆจึ่งกราบทูลว่า ซึ่งทรงพระกรรุณาโปรฎมิได้เอาโทษข้าพระพุทธิเจ้านั้นพระเดชะพระคุณหาที่สุดมิได้ แต่ทว่าจเสียทำนบทำเนียมในพระราชกำหนฎกฎหมายไป แลซึ่งสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว จมาละพระราชกำหนฎสำหรับแผ่นดินเสิยดังนี้ดูมิควรยิงนัก นารไปภายหน้าเหนว่าคนทังปวง จล่วงคะระหาติเตียนดูหมินได้ แลพระเจ้าอยู่หัวอย่าทรงพระอาไลยแก่ข้าพระพุทธิเจ้า ผู้ถึ่งแก่มรณโทษนี้เลยจงทรงพระอาไลยถึงพระราชประเพณีย์ อย่าให้เสิยขนบทำเนียมไปนั้นดีกว่า อันพระราชกำหนฎมีมาแต่บูรานนั้นว่า ถ้าแลพันท้ายผู้ใดถือท้ายเรือพระธินั่งให้ศิศเรือพระธินั่งนั้นหัก ท่านว่าพันท้ายผู้นั้น ถึ่งมรณโทษให้ตัดศิศเสีย แลพระเจ้าอยู่หัวจงทรงพระกรรุณาโปรฎให้ตัดศิศข้าพระพุทธิเจ้าเสีย ตามโปราณราชกำหนฎนั้นเถีด

จึ่งมีพระราชดำหรัสสั่งให้ฝีภายทังปวงปั้นมูลดินเปนรูบพันท้ายนรสิงฆ์ขึ้นแล้ว ก็ให้ตัดศิศรูบดินนั้นเสีย แล้วดำหรัสว่าไอ้พันท้าย ซึ่งโทษเองถึ่งตายนั้น กูจประหารชีวิตร์เองเสีย ภ่อเปนเหตุแทนตัวแล้วเองอย่าตายเลย จงกลับมาลงเรือไปด้วยกูเถีด พันท้ายนระสิงฆ์เหนดังนั้น ก็มีความละอายนัก ด้วยกลัวว่าจเสียพระราชกำหนฎ โดยขนบทำเนียมโบราณไป เกรงคนทังปวงจะครหาติเตียนดูหมินในสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวแห่งตนได้ สู้เสียสะละชีวิตรของตัวมิได้อาไลย จึ่งกราบทูลไปว่าฃ่อพระราชทานซึ่งทรงพระกรรุณาโปรดฎข้าพระพุทธิเจ้าทังนี้ พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ แต่ทว่าซึ่งตัดศิศรูบดินแทนตัว ข้าพระพุทธิเจ้าดังนี้ดูเปนทำเล่นไป คนทังหลายจล่วงคระหาติเตียนได้ ฃ่อพระองค์จงทรงพระกรรุณาโปรฎตัดศิศข้าพระพุทธิเจ้าเสิยโดยฉันจริงเถีด อย่าให้เสิยขนบทำเนียมในพระราชกำหนฎไปเลย ข้าพระพุทธิเจ้าจฃอกราบทูลฝากบุตรภรรยา แล้วก็จกราบถวายบังคมลาตายไปโดยลักษณยะถาโทษอันกราบทูลไว้นั้น

สมเดจ์พระเจ้าแผ่นดีนตรัษได้ทรงฟังดังนั้น ก็ดำหรัสวิงวรไปเปนหลายครั้ง พันท้ายนระสิงฆก็มิยอมอยู่ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหาการุญภาพแก่พันท้ายนรสิงฆ์เปนอันมาก จนกลั่นน้ำพระเนตรนั้นไว้มิได้จำเปนจำทำตามพระราชกำหนฎ จึ่งดำหรัสสั่งนายเพชฆาฎ ให้ประหารชีวิตรพันท้ายนระสิงฆ์เสีย แล้วให้ทำสารขึ้นสูงเพียงตา แลให้เอาศิศพันท้ายนรสิงกับศิศเรือพระธินั่งซึ่งหักนั้น ขึ้นพลิกรรมไว้ด้วยกันบนสานนั้น แล้วให้ออกเรือพระธินั่งไปประภาษทรงเบจ์ณปากน้ำเมืองษาครบูรีย แล้วเสดจ์กลับยังพระมหานคร และสารเทภารักษที่ตำบลโฃกฃามนั้น ก็มีปรากฏมาตราบท้าวทุกวันนี้


จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชตำหริว่า ณะคลองโฃกฃามนั้นคตเคียวนัก คนทังปวงจเดีรเรือเข้าออกก็ยาก ต้องอ้อมวงไปไกลกันดานหนัก ควรเราจให้ฃุดลัดตัดเสียให้ตรงจึ่งจชอบ อหนึ่งพันท้ายนรสิงฆ์ซึ่งตายเสิยนั้น เปนคนสัจซือมั่นคงนัก สู้เสียสะละชีวิตรหมิได้อาไลยกลัวว่าเราจเสียพระราชประเพณียไป เรามีความเสิยดายนัก ด้วยเปนข้าหลวงเดีมมาแต่ก่อน อันจหาผู้ซึ่งรักใคร่ซื่อตรงต่อจ้าว เหมือนพันท้ายนระสิงฆ์นี้ยากนัก แล้วดำหรัสให้เอากะเฬวระพันท้ายนระสิงฆ์นั้น มาแต่งการถาปณะกิจพระราชทานเพลีง แลบุตรภรรยานั้นก็พระราชทานเงีนทองสิงฃองเปนอันมาก

แล้วมีพระราชโองการตรัษสั่งสมุหนายก ให้กะเกนเลกหัวเมืองให้ได้ ๓๐๐๐๐ ไปขุดคลองโขกฃาม แลให้ขุดลัดตัดให้ตรงตลอดไป โดยฦกหกศอกบ์ากคลองกว้างแปดวา พืนคลองกว้างห้าวาแลให้พระราชสงครามเปนแม่กอง คุมพลหัวเมืองทังปวงขุดคลองจงแล้วสำเรจ์ดุจพระราชกำหนฎ




พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม

พระราชพงศาวดารที่ชำระในรุ่นหลัง เช่น พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา และ พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล ก็ยังคงยึดถือเนื้อหาในพระราชพงศาวดาร กรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมเป็นต้นแบบ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น ๆ แล้ว ไม่ปรากฏพบเรื่องราวของนายขนมต้มแต่อย่างใด

ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเก่ากว่าฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. 2264 โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าเสือหรือเหตุการณ์พันท้ายนรสิงห์แต่อย่างใด ในกฎมณเฑียรบาลก็ไม่มีการระบุโทษของพันท้ายเรือพระที่นั่งดังที่พงศาวดารบันทึกไว้ โทษส่วนใหญ่เป็นการรับผิดชอบของคนทั้งเรือพระที่นั่ง และพันท้ายเรือพระที่นั่งมี 2 คน แต่พระราชพงศาวดารกลับระบุถึงการประหารพันท้ายนรสิงห์เพียงผู้เดียว

สุเนตร ชุตินธรานนท์ วิเคราะห์ว่าพันท้ายนรสิงห์เป็นเรื่องที่ถูกแต่งเสริมขึ้นมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เพื่ออธิบายสาเหตุของการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาว่ามาจากผู้ปกครองไม่ดี โดยใช้พันท้ายนรสิงห์เป็นคนวิจารณ์พระเจ้าเสือว่าไม่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมกฎหมาย และเล่าที่มาของคลองมหาชัย

ส่วนเรื่องที่ว่าพันท้ายนรสิงห์ มีชื่อเดิมว่า "สิน" เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบัน คือ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง) มีภรรยาชื่อ "นวล" หรือ "ศรีนวล" ได้รู้จักกับพระเจ้าเสือด้วยการแข่งขันชกมวยไทยกัน เมื่อพระองค์แปลงองค์มาเป็นชาวบ้านธรรมดาและทรงโปรดในอุปนิสัยใจคอ ต่อมาได้กลายมาเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือ ในบรรดาศักดิ์พันนั้น เป็นเรื่องราวจากบทละครเวทีที่ประพันธ์โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล


มรดกสืบทอด

ศาลพันท้ายนรสิงห์ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ปัจจุบันมีสถานที่รำลึกหรือเกี่ยวเนื่องกับพันท้ายนรสิงห์หลายแห่ง ได้แก่

ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์ แห่งแรกตั้งอยู่บริเวณปากคลองโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พิกัดภูมิศาสตร์13°34′24.6″N 100°20′44.8″E) เชื่อว่าเป็นศาลพันท้ายนรสิงห์ที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นจุดที่เชื่อว่าพันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต ตัวศาลเดิมนั้นได้ผุพังไปตามกาลเวลาและถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง จึงได้มีการสร้างใหม่ และมีศาลในลักษณะศาลเพียงตาที่มีขา 6 ขา ที่ตั้งอยู่หน้าตัวศาลใหญ่ สร้างโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เมื่อปี พ.ศ. 2493 จากการที่ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องพันท้ายนรสิงห์ในปีเดียวกัน รูปเคารพพันท้ายนรสิงห์ในศาลแห่งนี้ สร้างขึ้นจากไม้จันทร์หอม[8]

วัดโคกขาม

วัดโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พิกัดภูมิศาสตร์13°34′10.2″N 100°20′36.9″E) ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นจุดที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิตด้วยเช่นกัน[8]


อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์

เป็นอีกหนึ่งสถาณที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลพันท้ายนรสิงห์ ตั้งอยู่ที่บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พิกัดภูมิศาสตร์13°31′58.34″N 100°22′43.43″E) เป็นอีกจุดหนึ่งที่เชื่อว่าพันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต เนื่องจากกรมศิลปากรร่วมด้วยคณาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้งมพบท่อนไม้ท่อนหนึ่ง พร้อมกับไม้ที่ยาวราว 80 เซนติเมตร ที่เชื่อว่าเป็นโขนเรือเอกไชย ซึ่งมีร่องรอยความเสียหาย และเมื่อได้ผ่านการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า ตรงกับสมัยที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต จึงเชื่อว่าท่อนไม้นั้นเป็นหลักประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ และยังมีศาลเจ้าแม่ศรีนวล ผู้ที่เชื่อว่าเป็นภรรยาของพันท้ายนรสิงห์ และมีรูปเหมือนของพระเจ้าเสือและพันท้ายนรสิงห์ที่ทูลขอพระราชทานอาญาโทษประหารชีวิต

ศาลพันท้ายนรสิงห์แห่งนี้ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้นอยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบ ๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น "อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์" ภายในศาลมีรูปเคารพของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ ที่สร้างขึ้นและนำมาประดิษฐานไว้เมื่อปี พ.ศ. 2519

ผู้ที่ศรัทธากราบไหว้พันท้ายนรสิงห์จะเรียกพันท้ายนรสิงห์ด้วยความเคารพว่า "พ่อพันท้าย" และเชื่อว่าสามารถบนบานสักการะขอได้ในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเกณฑ์ทหาร ที่บนบานขอแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ


สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...