วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของวัดบุพพาราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

 สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดบุพพาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่




ประวัติ

วัดบุพพาราม วัดอุปปา วัดอุปปาใน หรือ วัดเม็ง สร้างในสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. 2039–2069) มีบันทึกใน ชินกาลมาลีปกรณ์ ถึงการสร้างวัดนี้ว่า หลังจากที่พญาแก้วได้อภิเษกแล้วในปีที่สอง ได้โปรดให้สร้างอารามขึ้นอารามหนึ่ง ในหมู่บ้านที่พระราชปัยกา (พระเจ้าติโลกราช) ครั้งเป็นยุพราช และพระบิดาของพระองค์ (พญายอดเชียงราย) เคยประทับมาก่อน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง จุลศักราช 858 (พ.ศ. 2040) พระองค์ตั้งชื่ออารามว่า "บุพพาราม" มีความหมายว่า "อารามตะวันออก" ซึ่งหมายถึงอารามนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของราชธานีนครเชียงใหม่ ต่อมาในปีที่ 3 ของการครองราชย์ พญาเมืองแก้วทรงโปรดให้สร้างปราสาทขึ้นองค์หนึ่งท่ามกลางมหาวิหาร ในอารามนั้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และย่างเข้าปีที่ 4 พญาเมืองแก้วทรงฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทองและหอพระมณเฑียรธรรม ที่พระองค์โปรดให้สร้างไว้ในวัดบุพพาราม ตามที่ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์ว่า

พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชองค์นี้ หลังจากได้อภิเษกแล้ว ในปีที่ ๒ ได้โปรดให้สร้างอารามขึ้นอารามหนึ่งในหมู่บ้านที่พระราชปัยกาครั้งเป็นยุพราช และพระบิดาของพระองค์เคยประทับมาก่อน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง จุลศักราช ๘๕๘ (พ.ศ. ๒๐๔๐) และพระองค์ตั้งชื่ออารามนั้นว่า ปุพพาราม แปลว่าอารามก่อน โดยหมายถึงอารามนั้นมีอยู่ด้านทิศบูรพา (ทิศที่ตะวันขึ้นที่นั่นก่อน) แห่งราชธานีนครเชียงใหม่ ต่อแต่นั้นมา ย่างเข้าปีที่ 3 เป็นปีมะเมีย พระองค์ทรงสร้างปราสาทขึ้นองค์หนึ่งท่ามกลางมหาวิหารในอารามนั้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ต่อแต่นั้น ย่างเข้าปีที่ 4 เป็นปีระกา พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชทรงฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทองและหอพระมณเทียรธรรมที่พระองค์โปรดให้สร้างไว้ในวัดปุพพาราม

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ทรงนิมนต์พระมหาสังฆราชาปุสสเทวะให้มาจำพรรษา ณ วัดบุพพาราม และทรงสร้างพระพุทธรูปเงิน 1 องค์



เจ้าพระญาแก้วภูตาธิปติราชะเจ้าได้เปนพระญาแล้ว เจ้าค็กะทำบุญเปนต้นว่า ส้างปุพพาราม แล้วไพราทธนามหาสังฆราชาปุสสเทวะมาเปนสังฆนายกะรักษาพระเจ้าในอารามนั้นแล ในขณะอันเวนอารามหื้อเปนทานนั้น แผ่นดินไหวเปนอัจฉริยะนัก ลวดส้างพระพุทธรูปเงินองค์ ๑ ฐปนาไว้ปุพพารามหั้นแล

ภายหลังการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2362 พระยาธรรมลังกา เจ้าเมืองเชียงใหม่ โปรดให้สร้างวิหารหลังเล็ก ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า

สกราช ๑๑๘๑ ตัว ปลีกัดเหม้า เดือน ๘ เพง เมงวัน ๕ เจ้ามหาเทพตนเปนราชนัตตาเปนปฐมมหามูลสัทธา ค็ได้ส้างยกปกยังวิหารวัดพานอ้น พระเปนเจ้าเปนมหาสัทธาค็ได้ปกวิหารวัดป้านพิง วัดดอกฅำ วัดเชียงยืน สาลาเทส วิหารวัดปุพพาหลังวันออก วันเดียวกัน

รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์โบราณซึ่งสำรวจเมื่อพ.ศ. 2400 โดยหนานอุ่นเมือง กองธรรมการสงฆ์เชียงใหม่ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ระบุว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดนิกายเม็ง (มอญ) อยู่ในหมวดอุโบสถวัดพันตาเกิน (วัดชัยศรีภูมิ์) ขึ้นกับวัดมหาวัน จึงมีอีกชื่อว่าวัดเม็ง และวัดอุปปาใน คู่กันกับวัดชัยมงคลที่เรียกว่าวัดอุปปานอก


วัดบุพพารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2070 ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนและขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 145 วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522 หน้า 2953 พื้นที่โบราณสถาน ประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 87 ตารางวา




เจดีย์

เจดีย์แบบพม่าตั้งอยู่บนฐานย่อเก็จ 2 ชั้น ลักษณะลวดลายและการย่อเป็นแบบพม่า รวมทั้งตัวองค์ระฆัง และส่วนปล้องไฉนด้วย และมีเจดีย์บริวารอยู่มุมฐาน 2 ชั้น ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์สร้างเมื่อ จ.ศ. 872 (พ.ศ. 2053) ได้มีการบูรณะองค์เจดีย์โดยหลวงโยนะการพิจิตร (หม่องปันโหย่ อุปะโยคิน) ในปี จ.ศ. 1260 (พ.ศ. 2441) โดยเปลี่ยนรูปทรงเจดีย์ใหม่ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ขยายฐานให้กว้าง 38 ศอก ความสูง 45 ศอก มีฉัตรขนาดเล็กจำนวน 4 ฉัตร รวมทั้งมีต้นดอกไม้เงินดอกไม้ทอง อย่างละ 4 ต้น และมีฉัตรขนาดใหญ่ตรงยอดสูดขององค์เจดีย์ 1 ฉัตร และได้มีการบูรณะเจดีย์อีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2499 โดยพระพุทธิญาณ


วิหารใหญ่ ศิลปกรรมล้านนา สร้างโดยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ประดับตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบพม่า ภายในประดิษฐานพระพุทธมหาปฏิมากร ศิลปกรรมล้านนาซึ่งหล่อด้วยทองแดงล้วนมีน้ำหนัก 1 โกฏิ และมีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนขนาบซ้ายขวาอีก 2 องค์ โดยหล่อด้วยทองสำริดทั้งคู่ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติและพระเวสสันดรชาดกซี่งเขียนด้วยสีฝุ่น โดยจิตรกร ปั๋น ช่างบ้านฮ่อ


วิหารหลังเล็ก ศิลปกรรมล้านนา เจ้าหลวงช้างเผือกธรรมลังกาโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2362 ภายในประดิษฐานพระพุทธไชยลาภประสิทธิโชค (พระประธาน) ซึ่งก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าตักกว้าง 7 ศอก สูง 9 ศอก ภายหลังเมื่อวิหารหลังเล็กได้รับการดัดแปลงแก้ไขในสมัยครูบาหลาน (อินต๊ะ) ต่อมาเจ้าแม่ทิพสม ณ เชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะวิหารหลังเล็ก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445 ภายหลังเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดองค์ปัจจุบันได้ทำการบูรณะซ่อมแซมในรูปเดิมและเสริมในบางส่วน คือ ปั้นมอม (สัตว์หิมพานต์) 2 ตัว ไว้ที่บันได รวมทั้งบานประตูใหญ่ของวิหารซึ่งปั้นปูนเป็นเทพนม


หอมณเฑียรธรรมเป็นมณฑปปราสาทจัตุรมุขทรงล้านนา 2 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระราชทานว่า พระพุทธบุพพาภิมงคล ภปร. และพระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ แกะด้วยไม้สัก ขนาดหน้าตักกว้าง 1 วาเศษ มีอายุประมาณ 400 ปี ชั้นล่างของหอมณเฑียรธรรมจัดเป็นห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE:@STPLUS



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...