วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของวัดศิลาอาสน์ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดศิลาอาสน์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ



วัดศิลาอาสน์ตั้งอยู่บริเวณภูพระ กรมศิลปากรได้ประกาศทะเบียนโบราณวัตถุสถาน ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา ภายหลังได้กำหนดขอบเขตที่ดินเป็นเขตโบราณสถาน ภูพระเป็นเนินเขาหินทรายเป็นศาสนสถาน และใช้เพิงผาสลักพระพุทธรูปแบบนูนสูง 9 องค์ ประทับนั่งปางมารวิชัย 3 องค์ และปางสมาธิ 6 องค์ องค์ที่มีขนาดใหญ่สุด คือ พระเจ้าองค์ตื้อ สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างในสมัยรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์กู่ พระพุทธรูปเหล่านี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 ถึง 19 (ราว พ.ศ. 1701–1900) ทุกปีมีงานนมัสการพระพุทธรูปที่ 3 ปีละ 2 ครัั้ง ครั้งละ 3 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 และวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5



พ.ศ. 2483 พระวิบูลนิโรธกิจ อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ได้ขอตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ ศิลาอาสน์ และแผ้วถางบริเวณให้เตียน ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2483 ในปีถัดไปได้สร้างเป็นกุฏิ



พระพุทธรูปที่ภูพระ เป็นศิลปะที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะท้องถิ่น คือ ศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยม พระขนงรูปปีกกา และศิลปะเขมรที่แพร่หลายเข้ามามาก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ได้แก่ แนวเส้นพระเกศา และเกตุมาลารูปกรวยคว่ำ สำหรับมงกุฎหรือกระบังหน้าที่ปรากฏบนพระพุทธรูปทรงเครื่องคล้ายกับที่พบจากพระพุทธรูปในศิลปะเขมรนครวัดหรือบายน ในพุทธศตวรรษที่ 17-18 พระเจ้าองค์ตื้อมีขนาดหน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยม พระรัศมีเป็นรูปบัวตูมขนาดเล็ก พระเกศาเป็นเส้นยาว เรียงคล้ายเส้นผม พระขนงมีขนาดเล็กต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรเล็กมองตรง พระนาสิกทรงสามเหลี่ยม พระโอษฐเล็ก พระกรรณยาว ครองจีวรห่มคลุม พระอังสายาว มีผ้าสังฆาฏิปลายตัดเป็นเส้นตรงยาวมาจรดพระนาภี ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย ที่มีลักษณะพิเศษ คือ วางพระหัตถ์ซ้ายไว้บนพระเพลาแทนที่จะเป็นพระหัตถ์ขวาตามแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั่วไป

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com


อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส





ประวัติความเป็นมาของวัดห้วยใหญ่ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดเขาบังเหยชุมพลสีมาราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดเขาบังเหยชุมพลสีมาราม ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งนก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ 





พระอาจารย์นก วัดเขาบังเหย ที่มากด้วย 'พุทธคุณและประสบการณ์'

พระอาจารย์เฉลิมชัย ฐิตธัมโม หรือ พระอาจารย์นก ฐิตธมโม แห่งวัดเขาบังเหยชุมพลสีมาราม หมู่บ้านซับมงคล ต.โป่งนก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เป็นพระสายปฏิบัติศิษย์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ท่านบวชเณรมาจาก จ.ชัยภูมิ ไปอยู่ปรนนิบัติหลวงปู่แหวน สุจิณโน ที่เชียงใหม่ ก่อนที่หลวงปู่จะละสังขาร วิชาและความรู้หลวงปู่แหวนได้เมตตาถ่ายทอดให้พระอาจารย์นก เป็นอย่างมาก

หลังจากหลวงปู่แหวนละสังขาร มีการพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระอาจารย์นกได้ธุดงค์เดินทางด้วยเท้ารอนแรมอยู่ในป่าทางภาคเหนือเพื่อทบทวนวิชาและความรู้ที่เล่าเรียนมา เมื่อเดินทางมาถึงเขาพังเหยบริเวณตำบลโปร่งนก ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน ท่านเห็นว่าอาณาบริเวณนี้เป็นป่าที่สามารถฟื้นฟูเป็นป่าธรรมชาติได้ เป็นสถานที่สงบเหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรมเพื่อเจริญสติ ตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ที่ท่านศึกษาเล่าเรียนมา

สิ่งหนึ่งที่พระอาจารย์นกได้ตั้งสัจจะและยึดปฏิบัติโดยถือว่าเป็นกฎประจำตัวตั้งแต่บวชจนถึงทุกวันนี้ คือ พระเครื่องและวัตถุมงคลตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบันที่สร้างมากว่า ๓๐ ปี คือ สร้างเพื่อแจกฟรีเพื่อเป็นทานเท่านั้น เพื่อให้คนจน คนไม่มีได้มีของดีไว้ใช้ มีของยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เพียงเพื่อให้เป็นบุญเท่านั้น ผู้ที่รับไปล้วนมีประสบการณ์เล่าขานกันมากมาย

พระอาจารย์นกบอกว่า “วัตถุมงคลแม้ว่าจะขึ้นชื่อว่ามีพุทธคุณสูง แต่ไม่มีวัตถุมงคลชนิดใดในโลกกันตายได้แต่ช่วยเหลือไม่ให้ได้ตาย และไม่ได้หมายความว่าวัตถุมงคลชนิดเดียวกันจะช่วยเหลือคนได้ทุกคนเหมือนกัน หากต้องขึ้นอยู่กับความศรัทธาด้วย เมื่อมีศรัทธาปฏิหาริย์ย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อไร้ศรัทธาก็ไร้ปาฏิหาริย์ ไม่ว่าโจรหรือตำรวจหากมีศรัทธาปาฏิหาริย์ย่อมเกิดขึ้นได้ไม่ต่างกัน”

เมื่อถามว่า “การสร้างวัตถุมงคลเป็นเปลือกของพุทธศาสนาทำให้คนติดและหลงใหลในวัตถุมงคล” ทั้งนี้พระอาจารย์นกได้ตอบคำถามไว้อย่างน่าคิดว่า “ทุกอย่างมีเปลือก ต้นไม้อยู่ได้เพราะเปลือกที่คอยปกป้องเลี้ยงกระพี้และแก่นให้เจริญเติบโต ศาสนาก็มีเปลือกที่คอยปกป้องอุ้มชูเลี่ยงกระพี้และแก่น ถ้าศาสนามีแต่แก่นทุกคนมุ่งแต่หลุดพ้นอย่างเดียววันนี้คงไม่มีพุทธศาสนาแล้ว เพราะถ้าคนไม่ทำทานไม่ทำบุญซึ่งถือว่าเป็นเปลือกของศาสนา แล้วจะมีการสร้างศาสนสถานอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ถ้าพุทธศาสนาไม่มีเปลือกพระเณรก็จะอยู่ไม่ได้”

อย่างไรก็ตามแม้ว่าพระอาจารย์นกจะเป็นหัวแรงสำคัญในการนำศรัทธาญาติโยมและลูกศิษย์ในการสร้างวัดเขาบังเหย แต่ท่านไม่ได้เป็นและรับตำแหน่งเจ้าอาวาส พระที่เป็นเจ้าอาวาสชื่อ “พระครูไพบูลย์ธรรมกิจ” ซึ่งมีชื่อเสียงมาก ญาติโยมในพื้นที่แถบนี้ไม่น้อยกว่า ๓ อำเภอ พากันหลั่งไหลไปกราบ กอปรกับวัดนี้มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระหมอยา มีความสามารถ “ผสมยา” ในป่า ต้มให้ญาติโยมอาบ อบ รักษาโรคฟรี ไม่ต้องใช้เงินบูชาเอายาใดๆ คนป่วยส่วนใหญ่หายจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างน่าอัศจรรย์ใจ

ความพิเศษของพระอาจารย์นกนอกจากสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลแจกฟรีแล้ว สิ่งหนึ่งที่พิเศษและแตกต่างจากวัดอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง คือ ในวัดก็ไม่ได้ตั้งตู้รับบริจาค เงินที่ได้มาเปิดโรงทาน (อาหารฟรีตลอดปี) ได้มาจากญาติโยมฐานะดีบริจาคเป็นกองทุน “ลอยเอาไว้” ทั้งปี รวมทั้งมีเศรษฐีบริจาคเงินสร้างศาลา สร้างกุฏิ และกำลังสร้างพระอุโบสถหลังใหญ่ ด้วยพลังศรัทธาในวัตรปฏิบัติและคำสอนในวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์นก



 พุทธคุณแห่งเหรียญ “โหด เหี้ยม หด”

วัตถุมงคลของพระอาจารย์นกขึ้นชื่อว่าสุดยอดประสบการณ์มากมาย ท่าน แจกฟรีครับ ห้ามขาย ท่านสาปแช่งไว้ว่าคนซื้อรวยคนขายจน วัตถุมงคลของท่านมีผู้ประสบพบเจอประสบการณ์มากมาย เหรียญรุ่นแรกของท่านคือเหรียญโหด รุ่นสองเหี้ยม รุ่นสามหด

ทั้งนี้มีคำร่ำลือในหมู่ลูกศิษย์ว่าเหรียญโหด เหี้ยม หด คือ รุก รับ ทำลาย สลาย กันอันตรายทั้งปวง กันและแก้คุณไสยมนต์ดำ เป็นคงกระพันมหาอุด เป็นอีกหนึ่งของดีที่ลูกศิษย์ลูกหาอยากได้กัน

อย่างไรก็ตามเคยมีลูกศิษย์ถามพระอาจารย์ว่าทำไมในเว็บถึงไม่มีประวัติพระอาจารย์เลย พระอาจารย์ท่านเมตตาตอบมาว่า ท่านไม่อยากดังและยังไม่ถึงเวลา ท่านอาจารย์เคยพูดว่าโหด เหี้ยม หด นั้นพุทธคุณไม่แพ้พระสมเด็จราคาเป็นล้านนะครับ เก็บไว้ให้ดีๆ นะครับอีกหน่อยจะหายาก

รุก รับ ทําลายสลาย เป็นฉายาที่ใช้เรียกเหรียญโหด เหี้ยม หด เห็นมีคนบอกว่า พอสร้างโหดออกมาก็จะออกไปทางบู๊หน่อยก็เลยสร้าง เหี้ยมออกมากดโหดไว้ เเล้วก็สร้าง หดออกมากดเหี้ยม

อักขระยันต์ที่อยู่บนวัตถุมงคลทั้งหมดวัดเขาบังเหยจะเป็นอักขระ ขอมพิสดาร ครับ ตัวยันต์ที่เห็นเรียกว่าขอมพิสดารต่างกับตัวยันต์วัดอื่นที่ใช้กันโดยทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันว่า ขอมกลาง ส่วนขอมพิสดารนี้มีที่วัดเขาบังเหยแห่งเดียวบนพื้นโลกนี้ เอาเป็นว่าตัวอักขระทั้งหลายเหล่านี้เป็นของสูง ฟังมาว่าแม้ตัวอักขระตัวเดียวโดดๆ แม้ไม่ต้องอธิษฐานจิตก็มีพุทธคุณในตัว กันตาย กันอุบัติเหตุได้

ส่วนที่มาของชื่อรุ่นและอักขระเลขยันต์นั้น พระอาจารย์บอกว่า ได้มาจากการนั่งสมาธิ แล้วเกิดนิมิตขึ้นเป็นตัวหนังสือว่าโหด เหี้ยม หด พอตัวหนังสือเกิดขึ้นครบแล้ว ก่อนที่ตัวหนังสือจะหายไป ดินก็ผ่าขึ้นไปบนฟ้า เสียงดังสนั่นแม้แต่พระเณรในวัดตอนนั้นก็ได้ยินทั้งกัน คล้ายๆ จะบอกว่าเหรียญ ๓ รุ่นนี้จะต้องดังสนั่นในวันข้างหน้า ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์นกท่านเลยตั้งใจว่าจะทำวัตถุมงคลชื่อสามชื่อนี้



สร้างวัดให้คนเข้าวัด

“วัดเขาบังเหยชุมพลสีมาราม” สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว จากเริ่มแรกเป็นโรงเรือนศาลาไม้ ได้พัฒนาและสร้างศาสนสถานเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน มีศาลาปฏิบัติธรรม พระอุโบสถ หอสมาธิ ตลอดจนโรงยาสมุนไพรและที่พักรับรองญาติโยมที่มาทำบุญและปฏิบัติธรรม

จากป่าไม้ที่ถูกทำลายกลายเป็นภูเขาหัวโล้น พระอาจารย์นกได้นำศรัทธาญาติโยมปลูกต้นไม้ รักษาป่า ทำให้บริเวณวัดร่มรื่น เต็มไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ บริเวณวัดจึงมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีบรรดาสัตว์ป่ามาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า ลิง ไก่ป่า เต่าภูเขา ๖ ขา นกนานาชนิด ต้นไม้พืชพรรณที่เป็นยาสมุนไพรมีมากมายหลายร้อยชนิด บรรยากาศร่มเย็นมากเมื่อได้เข้ามาภายในบริเวณวัด ครูบาอาจารย์ที่บวชอยู่ในวัดนี้เป็นที่นับถือของประชาชนใน จ.ชัยภูมิ และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก

วัดเขาบังเหยจึงเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเที่ยวชมธรรมชาติและปฏิบัติธรรม การเดินทางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ (สาย จ.ชัยภูมิ- อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์) ผ่านหน้าวัด ห่างจากตัว จ.ชัยภูมิ ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร ถ้ามาจากมวกเหล็กวิ่งมาทางเขาน้อยผ่าน อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี เข้า อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เข้าทางลัดมาทาง ต.นายางกลัด ออกบ้านซับมงคล เลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าไป อ.ภักดีชุมพล ประมาณ ๓ กิโลเมตร

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com


อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส





ประวัติความเป็นมาของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส  จะมาเสนอความเป็นมาของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1






วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา


วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระพระไตรปิฎก​


ประวัติ

เดิมเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และขึ้นยกเป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชในสมัยรัตนโกสินทร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดนี้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด

ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก

พระประธานยิ้มรับฟ้า

พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหนไม่เหมือนมา วัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา



อุโบสถ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

เป็นทรงแบบรัชกาลที่ 1 หลังคาลด 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม บริเวณมุขด้านหน้าและหลังทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว ตอนใต้จั่วหรือหน้าบัน ที่จำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับลายกนกปิดทองอย่างประณีต เจาะเป็นช่องหน้าต่าง 2 ช่อง แทนแผงแรคอสองเหนือประตูหน้าต่างรอบพระอุโบสถติดกระจังปูนปั้นปิดทองทำเป็นรูปซุ้มบนบานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำปิดทองมีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนแท่นระบายสีงดงาม บริเวณฝาผนังภายในพระอุโบสถโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก โดยผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อนเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างเขียนภาพสัตว์นรกในอาการต่างๆ ภาพฝาผนังส่วนที่เหลือ เบื้องบนเขียนเป็นเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติ ซึ่งเขียนได้อย่างมีชีวิตชีวาอ่อนช้อยและแสงสีเหมาะสมกับเรื่องราว ภาพเหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อราว พ.ศ. 2465 ครั้งมีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถในรัชกาลนั้น

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เป็นทรงแบบรัชกาลที่ 1 หลังคาลด 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม บริเวณมุขด้านหน้าและหลังทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว ตอนใต้จั่วหรือหน้าบัน ที่จำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับลายกนกปิดทองอย่างประณีต เจาะเป็นช่องหน้าต่าง 2 ช่อง แทนแผงแรคอสองเหนือประตูหน้าต่างรอบพระอุโบสถติดกระจังปูนปั้นปิดทองทำเป็นรูปซุ้มบนบานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำปิดทองมีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนแท่นระบายสีงดงาม บริเวณฝาผนังภายในพระอุโบสถโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก โดยผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อนเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างเขียนภาพสัตว์นรกในอาการต่างๆ ภาพฝาผนังส่วนที่เหลือ เบื้องบนเขียนเป็นเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติ ซึ่งเขียนได้อย่างมีชีวิตชีวาอ่อนช้อยและแสงสีเหมาะสมกับเรื่องราว ภาพเหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อราว พ.ศ. 2465 ครั้งมีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถในรัชกาลนั้น



พระปรางค์

รัชกาลที่ 1 มีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา) ตั้งอยู่หน้าพระวิหาร ได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า เป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย พระปรางค์องค์นี้จัดเป็นพระปรางค์แบบ สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา

หอระฆัง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สืบถามเรื่องระฆังของวัดบางหว้าใหญ่ซึ่งเป็นระฆังที่มีเสียงไพเราะยิ่งนัก ที่ขุดได้ในวัดนั้นว่าขุดได้ ณ ที่ใด ทรงขอระฆังเสียงดีลูกนั้นไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงสร้างหอระฆังจตุรมุขพร้อมทั้งระฆังอีก 5 ลูก พระราชทานไว้แทน เพราะเหตุแห่งการขุดระฆังได้ จึงได้ชื่อตามที่ประชาชนเรียกว่า วัดระฆัง ตั้งแต่นั้นมา0



หอพระไตรปิฎก

เป็นรูปเรือน 3 หลังแฝด หอด้านใต้ลักษณะเป็นหอนอน หอ กลางเป็นห้องโถง หอด้านเหนือเข้าใจว่าเป็นห้องรับแขก ของเดิมเป็นหลังคามุงจาก ได้เปลี่ยนเป็นมุงกระเบื้อง ชายคาเป็นรูปเทพพนมเรียงรายเป็นระยะๆ เปลี่ยนฝาสำหรวดไม้ขัดแตะเสียบกระแชงเป็นขัดด้วยหน้ากระดานไม้สักระหว่างลูกสกล ใช้แผ่นกระดานไม้สักเลียบฝาภายในแล้วเขียนรูปภาพต่าง ๆ บานประตูด้านใต้เขียนลายรดน้ำ บานประตูหอกลางด้านตะวันออกแกะเป็นลายกนกวายุภักษ์ ประกอบด้วยกนกเครือเถา บานซุ้มประตูนอกชานแกะเป็นมังกรลายกนกดอกไม้ภายนอกติดคันทวยสวยงาม ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่เขียนลายรดน้ำ 2 ตู้ ประดิษฐานไว้ในหอด้านเหนือ 1 ตู้ หอด้านใต้ 1 ตู้ หอพระไตรปิฎกนี้ตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาส ทิศใต้ของพระอุโบสถ


ศาลาการเปรียญ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

หอพระไตรปิฎก (คณะ 2)

อยู่หน้าตำหนักแดง ในคณะ 2 เป็นเรือนไม้ฝาปะกน ปิดทอง ทาสีเขียวสด ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำสวยงามมาก

พระเจดีย์สามองค์

สร้างโดยเจ้านายวังหลัง 3 องค์ คือ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระองค์เจ้าชายปาล ต้นสกุล ปาลกะวงศ์) กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระองค์เจ้าชายบัว) และกรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าชายแดง ต้นสกุล เสนีวงศ์) สร้างโดยเสด็จพระราชกุศลในรัชกาลที่ 3 เมื่อคราวสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ ทรงจอมแห ทรวดทรงงดงามมาก แต่เป็นเจดีย์ขนาดย่อม ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถหลังปัจจุบัน

พระวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

เป็นพระวิหารทรงเดียวกับ พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี) ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน มีเครื่องหมายสำคัญที่หน้าบันทั้งสองข้าง เป็นรูปพัดยศจารึกอักษรไว้ว่า “พระวิหารสมเด็จ ๒๕๐๓” เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระราชาคณะของวัดนี้ 3 องค์ ได้แก่

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “สมเด็จโต” หรือ “หลวงพ่อโต” พระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัด เสรีวงศ์) เป็นพระเถระที่มีพระเกียรติคุณปรากฏอีกองค์หนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงได้รับการถวายเจ้านายโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้พระเครื่องที่ทรงทำร่วมกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้เป็นอาจารย์ ได้รับขนานนามว่า “สมเด็จปิลันทน์” และมีชื่อเสียงควบคู่กันมา

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ผู้มีชื่อเสียงในทางเทศนาวิธีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชี่ยวชาญการเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยคตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หรือมีอายุได้ 14 ปี เท่านั้น และสำเร็จเป็นเปรียญ 8 ประโยค ในเวลาต่อมา เมื่อครั้งเป็นที่พระพิมลธรรม ท่านได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏเป็นพิเศษกว่าสมเด็จพระราชาคณะองค์อื่น ๆ และเมื่อมรณภาพ ในรัชกาลที่ 6 ก็ได้รับการพระราชทานเพลิงที่พระเมรุสนามหลวงเป็นเกียรติด้วย

พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (ศรี)

ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ หลังคามุงกระเบื้องเคลือบติดคันทวยตามเสาสวยงาม หน้าบันทั้งสองด้าน จำหลักรูปฉัตร 3 ชั้นอันเป็นเครื่องหมายพระยศสมเด็จพระสังฆราช วิหารหลังนี้เดิมหลังคาเป้นทรงปั้นหยา เรียกว่าศาลาเปลื้องเครื่อง พระราชธรรมภาณี (ละมูล) ได้เปลี่ยนเป็นหลังคาทรงไทยมีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ เมื่อ พ.ศ. 2504 เพื่อประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระสังฆราช (สี) ซึ่งเดิมบรรจุอยู่ในรูปพระศรีอาริยเมตไตรย ประดิษฐานในซุ้มพระปรางค์ของวัดระฆัง ต่อมาได้ย้ายมาประดิษฐานที่พระวิหารที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เพื่อยกย่องพระเกียรติของพระองค์

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com


อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส







ประวัติความเป็นมาของวัดป่าเทพอินทรประดิษฐ์ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดป่าเทพอินทรประดิษฐ์  ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ  วัดที่สร้างจากความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมีพระอุโบสถสีทองอร่ามทั้งหลัง มีทั้งเจดีย์ทองและองค์พญานาคราชสีทองประดิษฐานล้อมรอบพระอุโบสถ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันสงบ เหมาะกับมาทำบุญและปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง แถมตั้งอยู่ในเส้นทางก่อนถึงทุ่งดอกกระเจียวป่าหินงาม สามารถเที่ยวหลังจากไปเที่ยวทุ่งดอกกระเจียวได้




วัดป่าเทพอินทรประดิษฐ์

วัดตั้งอยู่ก่อนถึงอุทยานแห่งชาติป่าหินงามประมาณ 5 กม หากตั้งการเดินทางจาก google maps ได้เลย จะพาเข้าไปทางป่าสักหน่อย อย่างไรเมื่อใกล้ถึงทางเลี้ยวสอบถามเส้นทางจากชาวบ้านได้ จากถนนใหญ่ไปยังทางเข้าวัดค่อนข้างแคบและยังเป็นทางดินแดงลูกรังเล็กน้อย เมื่อมาถึงก็จะพบกับอุโบสถสีทอง ด้านหน้ามีสิงห์สองตัวตั้งเด่นเป็นสง่าเปรียบเสมือนผู้เฝ้าประตูวัด เดินตรงไปเป็นสนามหญ้าไปจนถึงทางเข้าอุโบสถ ด้านหน้ามีพระพุทธรูปหินทรายประดิษฐานอยู่ด้านหน้าและรอบอุโบสถ ถึงแม้ตัวอุโบสถจะไม่ใหญ่มาก แต่อเมซิ่งมากด้วยความงดงามของตัวอุโบสถสีทองและลวดลายหน้าบันแกะสลัก รวมทั้งบันไดพญานาคสีทอง ที่ล้อมรอบเปรียบเสมือนกำแพง



ด้านหลังอุโบสถ มีเจดีย์ทองขนาดใหญ่ มีความอลังการงดงามเช่นกัน




ภายในวัดประดิษฐานพระพุทธรูปปรางค์ปางนาคปรกที่งดงามมาก  เป็นอีกหนึ่งวัดในชัยภูมิ ที่สวยงามและสงบ และไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ไม่มีทุ่งดอกกระเจียวก็แวะมาเที่ยวได้

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE:@STPLUS



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดห้วยใหญ่ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

 ประวัติความเป็นมาของวัดไตรมิตรวิทยาราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของพระราชวังพญาไท หรือ วังพญาไท โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส





วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของวัดห้วยใหญ่ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดห้วยใหญ่ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ 30 ไร่ 1 งาน 68 ตารางวา วัดมีพิธีกรรมต่อชะตาตามความเชื่อแบบโบราณ ปัจจุบันมีพระครูปลัดสราวุธ ฐิตปญฺโญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส




วัดห้วยใหญ่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2186 โดยมีนายโพธิ์และนางเผือก ชาวบ้านตำบลห้วยใหญ่ เป็นผู้มอบที่ดินถวายสร้างวัด จำนวน 5 ไร่ 2 งาน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2544



ภายในอุโบสถมีร่างที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อก้านซึ่งบรรจุอยู่ในโลงแก้ว เป็นอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 9 ของวัด

รายนามเจ้าอาวาส

พระแก้ว

พระนิล

พระพิณ

พระทาบ

พระพรหม

พระผิน

พระเติม

พระอุปัชฌาย์ลอย ธมมฺโชโต


พระครูภัทรกิจวิบูล (ก้าน ภทฺทโก)

พระครูปลัดสราวุธ ฐิตปญฺโญ


สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




ประวัติความเป็นมาของวัดไตรมิตรวิทยาราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

 สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนตรีมิตร แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณอยู่ในที่ลุ่มพระอารามเป็นเรือนไม้ มีชื่อเดิมว่า "วัดสามจีน" เข้าใจกันว่า ชาวจีน 3 คนร่วมกันสร้างพระอารามเพื่อเป็นวิหารทานการบุญ







ในปี พ.ศ. 2477 พระมหากิ๊ม สุวรรณชาต ผู้รักษาการในหน้าที่เจ้าอาวาสเป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้ปรับปรุงสภาพวัดให้ดีขึ้น ปี พ.ศ. 2482 พ่อค้าประชาชน คณะครูและนักเรียน ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์และเปลี่ยนนามใหม่ เป็นชื่อ "วัดไตรมิตรวิทยาราม" ซึ่งมีความหมายว่า เพื่อน 3 คนร่วมกันสร้างวัดนี้ ประกอบกับวัดเป็นที่ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมและโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยของรัฐบาลอยู่ภายในบริเวณวัด



เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ)​

พระพุทธทศพลญาณ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้น ลงรักปิดทอง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” บ้าง “หลวงพ่อวัดสามจีน” มีประชาชนมาบนบานกันเสมอ ๆ ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยทรงเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ และได้ตรัสยกย่องว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก “หลวงพ่อโม” อดีตเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เคยได้ทำพระเครื่องแจกครั้งหนึ่ง ได้ทำเป็นรูปพระพุทธทศพลญาณสร้างด้วยเนื้อชิน เรียกชื่อว่า หลวงพ่อโตวัดสามจีน ปรากฏว่าเป็นที่นิยมนับถือของคนทั่งไปว่าศักดิ์สิทธินัก ปัจจุบันนี้หายากแล้ว



พระสุโขทัยไตรมิตร

สิ่งสำคัญของวัด คือ พระสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการบันทึกในหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ พระพุทธรูปทองคำองค์นี้มีหน้าตั้งกว้าง 3.01 เมตร สูง 3.91 เมตร องค์พระสามารถถอดได้ 9 องค์ จากฐานองค์พระขึ้นไปเนื้อทองบริสุทธิ์ 40% พระพักตร์มีเนื้อทอง 80% ส่วนพระเกศมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม เป็นเนื้อทองบริสุทธิ์ 99.99%

สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย เข้าใจว่า เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ไปอัญเชิญพระพุทธรูปมาจากเมืองเหนือเพื่อนำมาประดิษฐานยังวัดสำคัญ พระพุทธรูปที่เชิญมามีจำนวนมาก ทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ขุนนางผู้หนึ่งจึงแอบเอาปูนไล้พระพุทธรูปทองคำแล้วนำมาไว้ยังวัดที่ตนสร้าง จนได้อัญเชิญมาไว้ที่วัดพระยาไกร (วัดโชติการาม) ต่อมาบริษัท อี๊สต์เอเชียติ๊ก ได้ขอเช่าที่วัด (ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้างแล้ว) เป็นโรงเลื่อยจักร จึงได้อัญเชิญไว้ที่ข้างพระเจดีย์และปลูกเพิงสังกะสีมุงเป็นหลังคากั้นไว้อย่างหยาบ ๆ หลังจากนั้นเป็นเวลาเกือบ 20 ปี เมื่อพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่สร้างเสร็จจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน แต่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายปูนที่หุ้มองค์พระกระเทาะออก จึงทำให้เห็นองค์พระข้างในเป็นทองคำ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com


อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




ประวัติความเป็นมาของวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

 สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 13 ไร่ ริมคลองบางชัน ในแขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระครูประจักษ์ศุภกิจดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส




วัดราษฎร์ศรัทธาธรรมหรือ วัดบางชัน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2435 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2516 พร้อมทั้งเป็นอุทยานการศึกษาจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ด้านการศึกษา ในพื้นที่วัดยังมีโรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3



อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัด ได้แก่ อุโบสถ ภายในที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนและพระพุทธชินราชจำลอง วิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยปลายอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจำนวนกว่า 30 องค์ และหลวงพ่อสุริโยทัย พระพุทธรูปหล่อศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ปางอุ้มบาตร และองค์พระพุทธมหาเมตตาไตรรัตน์ ปางลีลา บริเวณวัดโดยรอบมีพระพุทธโสธรจำลอง พระพุทธรูปหินอ่อนศิลปะพม่า เจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์มหายาน ซึ่งสลักจากหินอ่อนอิตาลี

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com


อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




ประวัติความเป็นมาของพระราชวังพญาไท หรือ วังพญาไท โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของพระราชวังพญาไท หรือ วังพญาไท ตั้งอยู่ที่ริมคลองสามเสน ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พระราชทานนามให้ว่า "พระตำหนักพญาไท" หรือ "วังพญาไท" ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระราชวังพญาไทในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว





ประวัติ

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระราชวังพญาไทเมื่อครั้งยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

วังพญาไท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับ รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ทำนา รวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญหลายครั้ง ณ วังพญาไท

วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็สวรรคต และในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็น พระราชวังพญาไท[1] รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้โดยตลอดจนปีสุดท้ายแห่งรัชกาลทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อสร้างพลับพลา ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นคล้ายซากศพ โดยทรงได้กลิ่นพระองค์เดียว ประกอบกับมีพระราชประสงค์ให้พระหน่อประสูติในพระมหามณเฑียร จึงเสด็จฯ จากพระราชวังพญาไทไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน และ โปรดให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต

พระราชวังพญาไท ยังเคยเป็นที่ประทับของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในช่วงมีพระครรภ์พระหน่อ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และเป็นที่พำนักของ พระสุจริตสุดา พระสนมเอก อีกด้วย

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระราชวังพญาไทในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้แก่ ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตยแบบอังกฤษ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นเมืองจำลองขึ้น เพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งปัจจุบันไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว

ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2468 ตามพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 6 ที่จะพระราชทานพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งของประเทศ ตั้งแต่มีพระราชดำริจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ เพื่อพัฒนาการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ระหว่างนั้น ได้มีการใช้ พระราชวังพญาไทได้เป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2473 กรมรถไฟดำเนินการโรงแรมวังพญาไทได้ 6-7 ปีก็เลิกกิจการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2475 เนื่องจากคณะราษฎรต้องการนำวังพญาไทสร้างโรงพยาบาลทหาร จึงพระราชทานวังนี้ให้เป็นสถานพยาบาล ของกองทัพบก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มาจนปัจจุบัน

นอกจากนี้ พระราชวังพญาไทยังเคยเป็นสถานที่จัดงานสำคัญหลายวาระ เช่น งานฉลองพระชนมายุ 6 รอบ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540, การจัดแสดงดนตรีของวง อ.ส.วันศุกร์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นการแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[2], การแข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 35 รวมทั้งการจัดการแสดงดนตรีต่าง ๆ เช่น ดนตรีคลาสสิก และดนตรีไทย เป็นต้น

ปัจจุบันพระราชวังพญาไทอยู่ในสภาพทรุดโทรมและกำลังอยู่ในระหว่างระดมทุนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ถาวร ภายใต้การดำเนินงานของ ชมรมคนรักวัง และ มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี




พระที่นั่งเทวราชสภารมย์

ในปัจจุบัน คงเหลือพระที่นั่งที่สร้างในรัชกาลที่ 5 เพียงองค์เดียว คือ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธาวาส พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ พระตำหนักเมขลารูจี สวนโรมัน และ ศาลท้าวหิรัญพนาสูร โดยชื่อของพระที่นั่งจะตั้งให้มีความคล้องจองกัน ได้แก่ ไวกูณฐเทพยสถาน พิมานจักรี ศรีสุทธนิวาส เทวราชสภารมย์ อุดมวนาภรณ์ ลักษณะของสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของพระราชวังพญาไทคือหอคอยสูงและหลังคายอดแหลมของพระที่นั่งพิมานจักรี ส่วนภายในมีภาพเขียนแบบปูนเปียกเป็นลวดลายงดงามแบบตะวันตก[3]

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เบื้องหลังคืออาคารเทียบรถพระที่นั่ง และพระที่นั่งพิมานจักรี

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นในภายหลัง เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์หล่อสำริดทรงยืนตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารเทียบรถพระที่นั่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่หล่อขึ้นขนาดเท่าองค์จริงทรงเครื่องยศจอมพลทหารบกประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี


อาคารเทียบรถพระที่นั่ง

อาคารเทียบรถพระที่นั่ง ตั้งอยู่ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเป็นอาคารแบบนีโอคลาสสิคอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพิมานจักรีโดยดาดฟ้าของอาคารเชื่อมกับพระที่นั่งพิมานจักรี ใช้เป็นลานเทียบรถพระที่นั่งและห้องพักของผู้ที่รอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวปัจจุบันทางพระราชวังได้เปิดให้เอกชนเช่าเป็นร้านกาแฟ นรสิงห์ ณ พญาไท


พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน

พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน เป็นพระที่นั่งที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของพระที่นั่งพิมานจักรีซึ่งพระที่นั่งทั้งสององค์นี้เชื่อมต่อกันคล้าย ๆ กับเป็นองค์เดียวกันซึ่งเชื่อมต่อด้วยระเบียงลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น ต่อมาได้ต่อเติมเป็น 3 ชั้นสำหรับเป็นห้องพระบรรทมชั้นล่างด้านหน้าเป็นห้องหกเหลี่ยมซึ่งใช้เป็นห้องรับแขก ด้านหลังเป็นห้องประชุมที่ประกอบไปด้วยห้องนอนมหาดเล็ก โถงบันไดกลางและห้องพักคอย ชั้น 2 และชั้น 3 เป็นห้องส่วนพระองค์


พระที่นั่งพิมานจักรี

พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังพญาไท สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น โดยมีสถาปัตยกรรมทรงโรมันเนสก์ผสมกับทรงกอธิค[4] โดยจุดเด่นของพระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งในอดีตใช้สำหรับชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ[5][6] รวมทั้ง บริเวณฝาผนังใกล้กับเพดานและเพดานของพระที่นั่งมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูนเปียกซึ่งมีความงดงามมากและบานประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า "ร.ร.๖"[7] ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ ๖ พระที่นั่งพิมานจักรีใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมเหสี ภายในชั้น 1 ประกอบด้วย ห้องเสวย และห้องธารกำนัลซึ่งเป็นห้องสำหรับให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้า ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเป็นโฮเต็ลวังพญาไทห้องนี้จึงกลางเป็นห้องอาหาร ชั้นสองเป็นที่ตั้งของท้องพระโรงกลางซึ่งเป็นห้องเสด็จให้เข้าเฝ้าส่วนพระองค์ภายในตกแต่งแบบยุโรป ภายในมีเตาผิงซึ่งด้านบนประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎซึ่งล้อมรอบด้วยรัศมี ภายในห้องพระบรรทมตกแต่งลายเพดานด้วยจิตรกรรมสีปูนแห้ง เป็นภาพคัมภีร์ในศาสนาพุทธซึ่งจารึกบนใบลาน ภาพรอยพระพุทธบาทและภาพพระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีภาพพญามังกรหมายถึงสัญลักษณ์แห่งความเป็นพระราชาและปีพระราชสมภพภายในห้องพระบรรทมมีห้องสรงด้วย ภายในห้องทรงพระอักษรมีตู้หนังสือซึ่งเป็นตู้แบบติดผนังเป็นตู้สีขาวลายทองมีอักษรย่อพระปรมาภิไธยอยู่ ภายในห้องพระบรรทมของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรชายา บนเพดานเขียนลายดอกไม้ส่วนบนผนังเป็นลายนกยูงซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดง เรือนมหิธร ซึ่งเป็นหนึ่งในอาคารของดุสิตธานี จากห้องที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี มีทางเชื่อมต่อไปยังพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส




พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูน 2 ชั้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยมียอดโดมขนาดเล็กอยู่ด้านบน แต่เดิมใช้เป็นท้องพระโรงประจำพระราชวังแต่ต่อมาใช้เป็นสถานที่รับรองเจ้านายฝ่ายในเนื่องจากมีห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางเรียงกันเป็นกลุ่มโดยเชื่อมต่อกันที่บริเวณโถงกลาง รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบคฤหาสน์ของยุโรปตามแบบโรแมนติกนิยม แต่เดิมพระที่นั่งองค์นี้ชื่อว่าพระที่นั่งลักษมีพิลาส ตั้งตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นพระที่นั่งศรีสุทธนิวาสในปัจจุบัน โดยชั้นล่างประกอบด้วยห้องชุดขนาดใหญ่ ทางตะวันออกเป็นห้องเสวยและห้องรับแขก ถัดไปเป็นโถงบันไดทิศตะวันตกเป็นห้องนอนข้าหลวง ห้องแต่งตัว หัองน้ำและห้องมโหรี ชั้นบนเป็นห้องบรรทม 3 ชุด ด้านตะวันออกและตะวันตกเป็นของเจ้านาย ด้านใต้เป็นของข้าหลวง


พระที่นั่งเทวราชสภารมย์

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จมาประทับ ณ พระราชวังพญาไท ออกแบบโดยวิศวกรชาวอิตาลี พระที่นั่งองค์นี้มีสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างคลาสสิคและอาร์ตนูโวที่สร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีตหน้าตัดหน้าบันทางทิศใต้มีพระปรมาภิไธยย่อ ส.ผ. (เสาวภาผ่องศรี) ทำให้พระที่นั่งองค์นี้มีชื่อเรียกว่าท้องพระโรง ส.ผ. โครงสร้างเป็นไม้ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 12.24 เมตรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยช่วงเสาตรงกลางกว้าง 6 เมตร ด้านข้างกว้างข้างละ 3 เมตร ผนังอังคารเป็นประตูที่สามารถเปิดออกได้ทั้งหมด ทำให้มีลักษณะคล้ายกับอาคารโถง ผนังส่วนบนเป็นช่องแสงขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของประตูส่วนล่าง ด้านบนมีระเบียงทางเดินที่ล้อไปตามลักษณะของหลังคาที่มีผังเป็นรูปกากบาทแบบแขนไม่เท่ากัน โดยแกนทางเหนือ ใต้ ยาวกว่า ตะวันออก ตะวันตก ส่วนบนของหลังคาเป็นทรงโดมสถาปัตยกรรมแบบโรมัน ชายคาประดับลวดลายฉลุ พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ ต่าง ๆ และใช้เป็นสถานที่รับแขกส่วนพระองค์ รวมทั้งใข้เป็นสถานที่แสดงละคร


พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์

พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถาน เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น เน้นการออกแบบที่เรียบง่าย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและมีเหล็กโครงสร้างดัดเป็นแบบอาร์ต นูโว (Art Nouvea) ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาวเน้นประตูทางเข้าและบันไดขนาดใหญ่ตรงกลาง สันนิษฐานว่าการสร้างพระที่นั่งองค์นี้ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรี แต่เมื่อใช้เป็นที่ประทับของพระสุจริตสุดาและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระสนมเอกและพระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ตามลำดับจึงมีการสร้างทางเชื่อมกับพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถานในชั้นที่ 2 ทำให้สามารถเดินถึงกันกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรีได้ ปัจจุบันไม่เปิดให้เข้าชมเนื่องจากทางโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าใช้พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ตั้งของศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฏเกล้า


พระตำหนักเมขลารูจี

พระตำหนักเมขลารูจี อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นหนึ่งองค์ที่ริมคลองพญาไทตอนกลางพระราชทานนามว่า พระตำหนักอุดมวนาภรณ์ เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบกระท่อมของยุโรป สร้างด้วยไม้ทั้งหมดตั้งแต่โครงสร้างพื้นและผนัง ผังอาคารมีลักษณะคล้ายกับเรือนไทยโดยมีโถงใหญ่อยู่ตรงกลางและมีเรือนพักอาศัยชั้นเดียวขนาบข้างซ้ายและขวา โดยทิศเหนือเป็นห้องเครื่องและห้องเสวย ทิศใต้เป็นเรือนวางในแนวทแยง ประกอบด้วยห้องทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) และห้องสรง ติดคลองทิศตะวันตกของห้องโถงเป็นเรือน 2 ชั้น หลังคาจุกตรงกลาง เป็นห้องพระบรรทมมีเฉลียงด้านหน้าลักษณะเด่นของพระตำหนักนี้คือหลังคาที่มีหลายรูปแบบทั้งทรงจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงจุกปิรามิด และทรงเพิง หน้าต่างเป็นวงโค้งครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ของห้องสรงที่ติดกับคลองพญาไทและกระจกลายเขียนสีรูปนก นกยูง ลายพรรณพฤกษาและเรขาคณิตแบบอาร์ต นูโวและได้เสด็จมาประทับอยู่ชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2463 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งแรกในพระราชวังแห่งนี้โดยได้ใช้เป็นที่ทรงงานวางโครงการสร้างพระราชมณเฑียรสถานสำหรับประทับถาวรอีกด้วยต่อมา เมื่อการก่อสร้างพระราชมณเฑียรสถานอื่น ๆ ในพระราชวังแห่งนี้แล้วเสร็จและมีพระราชประสงค์ให้พระที่นั่งด้านตะวันออกซึ่งเชื่อมต่อกับพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานใช้นามว่าพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระตำหนักแห่งนี้ใหม่เป็น พระตำหนักเมขลารูจี


ท้าวหิรัญพนาสูร

ศาลท้าวหิรัญพนาสูร เชื่อกันว่าท้าวหิรัญพนาสูร เป็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โต คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวงให้กับพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2465 เมื่อการสร้างพระราชวังพญาไทสำหรับประทับเป็นการถาวรเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อรูปท้าวหิรัญพนาสูรขนาดใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์มีชฎา เทริดอย่างไทยโบราณ และไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ มีพระราชพิธีบวงสรวงขอเชิญท้าวหิรัญพนาสูรเข้าสิงสถิต ณ รูปสัมฤทธิ์เพื่อเป็นศาลเทพารักษ์ประจำพระราชวังพญาไท


พระมหานาคชินะวรวรานุสรณ์มงกุฎราช

วิหารพระมหานาคชินะวรวรานุสรณ์มงกุฎราช เป็นที่ประดิษฐานพระมหานาคชินะวรวรานุสรณ์มงกุฎราชพระพุทธรูปประจำพระราชวังพญาไท สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธรูปองค์นี้จำลองแบบมาจากพระมหานาคชินะ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างไว้เมื่อครั้งทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก จัดเป็นพระประจำวันเสาร์ ลักษณะเด่นชัด คือ นั่งขัดสมาธิราบ (โยคะสนะ) พระชงฆ์ขวาทับซ้าย เป็นท่านั่งที่สำรวมอิริยาบถ หงายพระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางทับบนพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพาน 7 เศียร ตามพุทธประวัติว่าด้วยเหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ ๆ พระภูมีพระภาคเจ้าประทับเสวยวิมุติสุข ณ โคนต้นจิก 7 วัน ได้เกิดเมฆใหญู่ผิดฤดูกาล มีฝนตกพรำ เจือด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน พญานาคชื่อมุจลินท์ มาวงด้วยขนดรอบพระผู้มีพระภาค 7 รอบ เพื่อป้องกันความหนาวร้อน เหลือบ ยุง

สวนโรมัน

สวนโรมัน สันนิษฐานว่าเป็น 1 ใน 3 พระราชอุทยานของพระราชวังพญาไท จัดแต่งสวนแบบเรขาคณิตประกอบด้วยศาลาในสวนซึ่งเป็นศาลาแบบโรมันศาลาทรงกลมต่าง ๆ มีหลังคาโดมรับด้วยเสาแบบคอรินเทียนขนาบด้วยศาลาแบบโปร่งโล่งไม่มีหลังคาซึ่งกำหนดขอบเขตด้วยเสาแบบเดียวกันกับโดม รองรับคานที่พาดด้านบน ประดับด้วยตุ๊กตาหินอ่อนแบบโรมันบริเวณบันไดทางขึ้นซึ่งต่อเนื่องกับด้านหน้าที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในแนวเดียวกับโดม

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com



อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า "วัดใหญ่" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย




ประวัติ

พระพุทธชินราชในปัจจุบัน

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ...

ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า " ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาที่ 1) เป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง"

ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร



พระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช

พระวิหารพระพุทธชินราช เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งนับถือกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในโลก ตัวพระวิหารสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้รับการบูรณะให้มีสภาพดีมาตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน พระวิหารหลังนี้จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างามสมส่วน และยังคงสภาพสมบูรณ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย

ในพระวิหารหลวงมีบานประตูประดับมุก 2 บานคู่ กว้าง 1 เมตร สูง 4.50 เมตร เป็นบานประตูประดับมุกโบราณที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ตัวบานประตูมุกสร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2299 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และได้ทรงนำบานประตูไม้แกะสลักเดิมไปถวายเป็นบานประตูพระวิหารพระแท่นศิลาอาสน์

พระเหลือ

หลังจากสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาแล้ว พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือนำมารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดเล็ก หน้าตัก กว้าง 1 ศอกเศษ เรียกชื่อพระพุทธรูปนี้ว่า “พระเหลือ”เศษทองยังเหลืออยู่อีกจึงได้หล่อพระสาวกยืนอยู่ 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองในการหล่อพระพุทธรูป นำมารวมกันบนชุกชี (ฐานชุกชี) พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นลงบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นมา 1 หลัง อัญเชิญพระเหลือกับสาวกเข้าไปประดิษฐานอยู่ เรียกว่า พระเหลือ 



พระวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน

วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน เป็นวิหารขนาดกลางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธชินราชนอกเขตระเบียงคต ภายในประดิษฐานหีบปิดทอง(สมมุติ)บรรจุพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตรากาธานประดับด้วยลวดลายลงรักปิดทองร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ ซึ่งนับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร โดยผู้สร้างถือคติว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

พระวิหารพระอัฏฐารส

บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฎฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก (ประมาณ 10 เมตร) สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ในราว พ.ศ. 1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3 – 4 ต้น และเนินพระวิหารบางส่วน เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะขุดแต่งทางโบราณคดีในบริเวณที่เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” ซึ่งขุดพบฐานพระวิหารเดิมและพระพุทธรูปวัตถุโบราณจำนวนหนึ่ง


สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com


อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




ประวัติความเป็นมาของวัดอมราวราราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

 สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดอมราวราราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร มีที่ดินสร้างวัด 10 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา




วัดอมราวรารามได้รับอนุญาตจัดตั้งให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ผู้ขออนุญาตสร้างวัดคือ ศรีสมร อินทรสิงห์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2537 วัดแห่งนี้ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ให้ทุนการศึกษาและสาธารณสงเคราะห์ทั่วไป



อาคารเสนาสนะที่สำคัญคือ สถูปจำลองทรงพุทธคยา 3 สถูป ภายในประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลองและพระพุทธรูปที่งดงามอีกหลายองค์ สร้างด้วยงบประมาณ 17 ล้านบาทเศษ ประชาชนโดยทั่วไปนิยมมานั่งสมาธิและประกอบพิธีทางศาสนา



สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม
ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

อ่านบทความเพิ่มเติมของสลากไทพลัส




ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...