วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566

ประวัติความเป็นมาของวัดยานนาวา โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะมาเสนอความเป็นมาของวัดยานนาวา ในปี พ.ศ. 2530 วัดก่อสร้างอาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ในวาระมหามงคลครบรอบ 200 ปี พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารอเนกประสงค์ทรงไทย สูง 3 ชั้น ประดับด้วยยอดปราสาท 5 ยอด ใช้เป็นศาลาการเปรียญ บำเพ็ญกุศล ปฏิบัติธรรม และเป็นหอประชุม นอกจากนั้นสร้างหอพระไตรปิฎกเป็นอาคารทรงไทย 3 ชั้น ประดับยอดปราสาท 3 ยอด ใช้เป็นห้องสมุด มีทั้งหนังสือทั่วไป




 วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดคอกควาย" เนื่องจากมีชาวทวายมาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวทวายจะนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน หมู่บ้านบริเวณนั้นจึงได้ชื่อเรียกกันต่อมาว่า "บ้านคอกควาย" ปัจจุบันมี พระธรรมวชิรโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการยกฐานะวัดคอกควายขึ้นเป็นพระอารามหลวง เรียกชื่อใหม่ว่า "วัดคอกกระบือ" ต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างเรือสำเภาพระเจดีย์แทนพระสถูปเจดีย์ทั่วไป เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นรูปแบบเรือสำเภาซึ่งกำลังจะหมดไปจากเมืองไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดคอกกระบือเป็น "วัดยานนาวา"



อาคารเสนาสนะ

สำเภายานนาวา มีความยาววัดจากหงอนข้างบนถึงท้ายบาหลี มีห้องขนาดเล็ก 21 วา 2 ศอก ความยาวส่วนล่างวัดที่พื้นดิน 18 วา 1 ศอกเศษ ความกว้างตอนกลางลำเรือ 4 วา 3 ศอก ความสูงตอนกลางลำเรือ 2 วา 3 ศอก

นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่และเล็กอยู่ในลำสำเภารวม 2 องค์ ที่ห้องบาหลีมีรูปหล่อของพระเวสสันดรกับพระกัญหาบริเวณท้ายเรือชาลีประดิษฐานอยู่ อันเนื่องมาจากเนื้อความในมหาชาติคำหลวง ที่พระเวสสันดรโน้มน้าวใจพระโอรสธิดาให้อุทิศตนร่วมกับพระบิดาสร้างมหากุศล เสมือนเรือสำเภาใหญ่พามนุษยชาติข้ามโอฆสงสารไปสู่พระนิพพาน





ด้านหลังบานประตูในพระอุโบสถ (ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1) มีภาพจิตรกรรมสำคัญที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้วาดขึ้น คือรูปกระทงใหญ่ ตามแบบที่ทำในพระราชพิธีลอยพระประทีป และโถยาคูตามแบบอย่างที่ทำเลี้ยงพระในพระราชพิธีสารทในรัชสมัยของพระองค์

ในปี พ.ศ. 2530 วัดก่อสร้างอาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ในวาระมหามงคลครบรอบ 200 ปี พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารอเนกประสงค์ทรงไทย สูง 3 ชั้น ประดับด้วยยอดปราสาท 5 ยอด ใช้เป็นศาลาการเปรียญ บำเพ็ญกุศล ปฏิบัติธรรม และเป็นหอประชุม นอกจากนั้นสร้างหอพระไตรปิฎกเป็นอาคารทรงไทย 3 ชั้น ประดับยอดปราสาท 3 ยอด ใช้เป็นห้องสมุด มีทั้งหนังสือทั่วไปและหนังสือธรรมะ และยังเก็บรักษาตู้พระไตรปิฎกเขียนลวดลายลงรักปิดทองของโบราณ

สลากไทพลัส 80 บาททุกใบไม่มีบวกเพิ่ม ถูกรางวัลรับเต็ม

ติดต่อทาง LINE:@STPLUS

www.สลากไทพลัส.com



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดราชนัดดารามวรวิหาร โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

ประวัติความเป็นมาของวัดบวรนิเวศวิหาร โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย

 ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย ไทยพลัสนิวส์ 10 อาหารที่กินแล้วทำให้ แก่วัย เรื่องของอาหารการกิน ยังไงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อร...